ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 25-10-2016, 13:38
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,765 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในส่วนของสมาธินั้น ก็คือเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก ได้แก่ อานาปานสติเป็นหลัก พยายามที่จะกำหนดรู้ลม จนกระทั่งทรงฌานอย่างน้อยปฐมฌานได้ จึงจะเรียกว่าเป็นสัมมาสมาธิ ในขณะเดียวกัน ก็ให้สมาธิจิตของเราเป็นไปใน พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ คือ ทำความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแน่นแฟ้นจริงใจ ไม่ล่วงเกินด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

ในส่วนของปัญญานั้น เมื่อเราพินิจพิจารณาหรือว่าภาวนาจนสมาธิทรงตัวเต็มที่แล้ว เมื่อสมาธิจะคลายตัวออกมา ให้เรารีบหาวิปัสสนาญาณให้คิด ไม่เช่นนั้นแล้วสภาพจิตของเราจะเอากำลังสมาธิที่ได้ ไปฟุ้งซ่านไปในด้านของ รัก โลภ โกรธ หลง ซึ่งจะทำให้การฟุ้งซ่านเป็นไปอย่างหนักแน่น เป็นหลักเป็นฐานเป็นการเป็นงาน จนเราเอาคืนไม่ได้ เพราะว่าสมาธิที่เราได้ กลายเป็นมิจฉาสมาธิ คือ นำไปใช้ในทางที่ผิดเสียแล้ว

ดังนั้น...พอภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวเต็มที่ สมาธิเริ่มเคลื่อนเริ่มคลายออกมา เราก็หาวิปัสสนาญาณให้จิตของเราคิด ถ้าเอาง่าย ๆ ก็คือ ให้ดูทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์ มีลักษณะปกติธรรมดา ๓ อย่างด้วยกัน ได้แก่ ความไม่เที่ยง เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด ความเป็นทุกข์ ก็คือต้องทนอยู่สภาพอย่างนั้น มีทั้งทุกข์ของการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย การพลัดพรากจากของรักของชอบใจ การปรารถนาไม่สมหวัง การกระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ เป็นต้น

และดูให้เห็นชัดเจนว่า สภาพร่างกายของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี ของสัตว์อื่นก็ดี ของวัตถุธาตุทั้งหลายก็ดี ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายเป็นตัวเป็นตนได้ เพราะประกอบขึ้นมาจากธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ให้อาศัยอยู่ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-10-2016 เมื่อ 16:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 43 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา