ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 03-04-2017, 10:02
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,658 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจะเห็นว่า ในเรื่องของฤทธิ์ของอภิญญานั้น แทบจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการบรรลุมรรคผลเลยก็ว่าได้ เนื่องเพราะไม่ได้กล่าวว่าเราจะต้องได้ทิพจักขุญาณ ไม่ได้กล่าวว่าเราต้องระลึกชาติได้ ไม่ได้กล่าวเราต้องรู้อดีต รู้ปัจจุบัน รู้อนาคต รู้ใจคนอื่น ไม่ได้กล่าวว่าเราต้องรู้ว่าคนและสัตว์ก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น สิ่งที่เราพยายามดิ้นรนทำกันไป จึงกลายเป็นเอาความอยากขึ้นหน้า ความอยากนั้นคือตัณหา คือกิเลสใหญ่ แม้ว่าความอยากที่เราต้องการนั้นเป็นความอยากที่เราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็ตาม ถ้าหากว่าเราอยากมากจนเกินไป ก็ทำให้จิตใจของเราฟุ้งซ่าน ไม่รวมตัว โอกาสที่เราจะปฏิบัติแล้วได้ผลแม้แต่ในเรื่องของฌานสมาบัติก็ยังยาก

แต่ถ้าหากว่าเราทำดี ทำถูก สามารถอยู่กับลมหายใจเข้าออก จนสภาพจิตสงบลงถึงระดับได้ สภาพจิตที่สงบลงก็เหมือนกับน้ำที่นิ่ง น้ำนิ่งสามารถที่จะสะท้อนเงาทุกสิ่งทุกอย่างรอบข้างลงไปได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าน้ำกระเพื่อมอยู่เราก็ไม่สามารถที่จะเห็นเงาอะไรได้

ถ้าสภาพจิตนิ่งพอ การรู้เห็นต่าง ๆ จะปรากฏขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีแต่จะสร้างความเสียหายให้กับการปฏิบัติมากกว่า เพราะว่าพอเราเห็นแล้วก็มักจะไปให้ความสนใจ มักจะเชื่อตามที่เราเห็นโดยไม่ฟังคำของคนอื่น เพราะมีความยึดมั่นถือมั่นว่า "กูเห็น กูจึงเชื่อ" สิ่งทั้งหลายเหล่านี้สร้างความเสียหายให้กับการปฏิบัติมากต่อมากด้วยกัน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-04-2017 เมื่อ 10:37
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา