ดูแบบคำตอบเดียว
  #126  
เก่า 23-08-2012, 08:50
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,173 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

"การทำเบี้ยแก้จะเอาเบี้ยขนาดไม่ใหญ่มาก พอที่จะบรรจุปรอทได้หนัก ๑ บาท โดยเบี้ยแก้จะต้องมีฟัน ๓๒ ซี่ ต้องไปนั่งเล็งแล้วนับเอา ปรอทส่วนใหญ่ก็ดักเอาจากธรรมชาติ ชั่งน้ำหนักให้ได้ ๑ บาท กรอกใส่เบี้ยไปแล้วอุดด้วยชันโรงใต้ดิน ชันโรงเป็นแมลงตระกูลผึ้ง แต่ว่าเป็นผึ้งที่ตัวเล็กมาก

เมื่อตอนที่ซ่อมกุฏิเรือนไทย รื้อผนังกุฏิลงมามีชันโรงเพียบเลย รังของชันโรงจะทำเรียงไว้กับพื้นลักษณะหมือนเป็นถ้วย แต่ละถ้วยใส่น้ำหวานไว้เต็ม คราวนี้ชันโรงชอบทำรังบนต้นไม้ หรือไม่ก็ตามรอยซอกแตกของบ้าน แต่ท่านให้ใช้ชันโรงใต้ดิน เขาถือว่าของอะไรที่ผิดธรรมชาติจะขลัง เอามาอุดไว้


หลังจากนั้นก็หุ้มด้วยผ้าแดงที่จารอักขระ แล้วตีหุ้มด้วย
ตะกั่วถ้ำชา คำว่าตะกั่วถ้ำชา ก็คือตะกั่วที่เอามาทำเป็นที่บรรจุกาน้ำชา ส่วนใหญ่เขาจะใส่นวมหุ้มเอาไว้ เพื่อที่จะให้ชาร้อนอยู่ได้นาน ๆ สมัยนี้เด็กไม่ค่อยจะรู้แล้วว่าถ้ำชาหน้าตาเป็นอย่างไร คำว่าถ้ำในภาษาโบราณ เขาหมายถึง สิ่งที่เอาไว้เก็บของเล็กของน้อยได้

อย่างในขุนช้างขุนแผน ที่นางทองประศรีบอกว่า
“ฯลฯ..ขมิ้นดินสอพองเอาไว้ไหน เมื่อวานกูใส่ไว้ในถ้ำ..ฯลฯ” ถ้ำชาถ้าสมัยนี้ก็ต้องบอกเป็นว่าภาชนะที่บรรจุกาน้ำชา ระยะหลังทำจากโลหะอย่างอื่น สมัยก่อนเขาใช้ตะกั่วเพราะว่าตีขึ้นรูปได้ง่าย

เมื่อหุ้มด้วยตะกั่วถ้ำชาเสร็จแล้ว ก็มีการจารอักขระซ้ำอีกทีหนึ่ง หรือจะไม่จารก็ได้ หลังจากนั้นก็มักจะเอาไปถักเชือกหรือชุบรักปิดทองก็แล้วแต่ นำติดตัวเอาไว้ ท่านบอกว่าสามารถพลิกดวงชะตากลับร้ายกลายเป็นดีได้ กันไสยเวทย์อาคมวัตถุอาถรรพ์ได้ ผีเจ้าเข้าสิงเอาทำน้ำมนต์อธิษฐานรดให้ออกได้"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-08-2012 เมื่อ 12:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 202 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา