ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 28-06-2019, 06:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,831 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๒

ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราเอาไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไหล ตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๒ เมื่อครู่นี้จากคำถามทำให้เห็นว่า หลายคนยังไม่เข้าใจว่าในส่วนของกรรมฐานนั้นเป็นอย่างไร กรรมฐาน เป็นคำรวม แปลว่า ที่ตั้งแห่งการกระทำ แต่ส่วนใหญ่แล้วหมายถึงการปฏิบัติสมาธิภาวนา เรียกว่าเป็นที่เข้าใจกันเช่นนั้น แต่จริง ๆ แล้วการกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจของเรา จัดเป็นกรรมฐานทั้งหมด

กรรมฐานแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ก็คือ สมถกรรมฐาน ปฏิบัติแล้วใจสงบสงัดจากกิเลสได้ชั่วคราว ยกเว้นว่าสามารถทรงได้ตลอดยาวนาน ก็จะสามารถตัดกิเลสได้ เรียกว่า เจโตวิมุตติ คือหลุดพ้นได้ด้วยการใช้กำลังใจกดกิเลสไว้จนดับไปเอง

อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน ปฏิบัติแล้วมีความรู้แจ้งเห็นจริงว่า ปกติธรรมดาของโลกนี้ ของร่างกายนี้มีสภาพอย่างไร แล้วยอมรับความจริงตามนั้น ถ้าหากว่าในส่วนนี้ปฏิบัติไปแล้วปัญญายอมรับ ก็จะเข้าถึงความดีตามลำดับไป จนกระทั่งกลายเป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพาน เรียกว่า ปัญญาวิมุตติ คือหลุดพ้นโดยการใช้ปัญญาพิจารณาธรรม
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-06-2019 เมื่อ 01:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา