ดูแบบคำตอบเดียว
  #9  
เก่า 13-05-2009, 11:17
เด็กเมื่อวานซืน เด็กเมื่อวานซืน is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 92
ได้ให้อนุโมทนา: 7,974
ได้รับอนุโมทนา 32,426 ครั้ง ใน 1,052 โพสต์
เด็กเมื่อวานซืน is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ญ.ผู้หญิง อ่านข้อความ
สงครามในครั้งนี้กรุงธนบุรีจวนเจียนจะพ่ายแพ้อีกครั้ง ด้วยกองทัพของอะแซหวุ่นกี้สามารถตีเมืองพิษณุโลกได้ เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์จำต้องนำไพร่พล ครัวเมือง ตีฝ่าหนีไปตั้งหลักทางเมืองเพชรบูรณ์ด้วยเหตุเสบียงกรังร่อยหรอ กองทัพพม่ารุกคืบต่อลงมาเกือบถึงค่ายของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ยกขึ้นไปตั้งรับที่นครสวรรค์ ซึ่งผลของสงครามก็ยังไม่ชัดว่าธนบุรีจะต้านทัพพม่าไหวไหม เพราะกำลังพลก็พอ ๆ กัน
ข้อมูลตรงนี้น่าสนใจครับ เพราะนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ของไทยส่วนมากเชื่อเหมือนกันว่า ทางกรุงธนบุรีโชคดีมาก เพราะพม่าต้องถอยทัพกลับไป เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัชสมัยจากพระเจ้ามังระ ไปเป็นพระเจ้าจิงกูจา

แต่ข้อมูลที่ปรากฏในพงศาวดารของพม่าสมัยราชวงศ์คองบอง(มหายาสะวิน) ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดฯ ให้แปลมาเป็นภาษาไทยนั้น กลับพบว่ามีการบันทึกผลของศึกเมืองพิษณุโลกไว้น้อยมาก(จนน่าแปลกใจ) ในมหายาสะวิน บอกว่าทัพพม่าที่ตามตีกองทัพของเจ้าพระยาจักรีไปทางเมืองหล่มเก่านั้น ถูกกองทัพของทางสยาม(เจ้าพระยาจักรี)ล้อมไว้ในป่า ทัพพม่าต้องตีฝ่าออกมา และต้องถอยข้ามแม่น้ำโขงไปทางเวียงจันทน์ ก่อนที่จะข้ามแม่น้ำโขงเข้าไปทางเชียงของอีกที

ในขณะที่กองทัพของ อะแซหวุ่นกี้ ยังคงตั้งยันทัพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไว้อยู่ จนได้รับพระบรมราชโองการของพระเจ้าจิงกูจาจึงได้ถอนทัพกลับไป

จากบันทึกในมหายาสะวินนี้ เป็นที่น่าสงสัยว่า ทัพพม่าในเวลานั้นมีศักยภาพเพียงพอที่จะเอาชนะทัพของทางกรุงธนบุรีได้หรือไม่ ?

เพราะทหารพม่าที่ถูกแบ่งไปช่วยตามตีทัพสยามด้านเมืองหล่มเก่านั้น ไม่สามารถกลับมาช่วยทัพของอะแซหวุ่นกี้ได้อีกแล้ว และยังถึงกับต้องล่าถอยไปทางเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งผิดวิสัยกองทัพที่หากเป็นฝ่ายได้เปรียบก็ไม่น่าจะถอยไปไกลเช่นนั้น

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เด็กเมื่อวานซืน : 14-05-2009 เมื่อ 16:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 80 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เด็กเมื่อวานซืน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา