ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 12-02-2013, 19:51
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,826 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อเป็นดังนั้น..เราจะพิจารณาอย่างไรว่า ทางสายกลางที่พอเหมาะพอควรกับเราคืออะไร สิ่งนี้เราจะรู้ได้จากการปฏิบัติภาวนาของเรา สมมติว่าเราตั้งเวลาการภาวนาของเราไว้ ๓๐ นาที เมื่อครบเวลาแล้ว ถ้ารู้สึกว่ายังสามารถปฏิบัติต่อไปได้ ก็ลองเพิ่มเวลาขึ้นไปอีกสัก ๒ - ๓ นาที หรือ ๕ นาที ถ้าทำดังนี้เราก็จะรู้ได้ว่า กำลังของเราเต็มที่ได้แค่ไหน

แต่ขณะเดียวกันก็ให้ระมัดระวังด้วยว่า เรื่องของกิเลสจะมาหลอกลวงเรา บอกว่าไม่ไหวแล้ว..พอแล้ว ถ้าไม่ไหวแล้ว..พอแล้ว ให้ทุกคนลองฝืนดู ถ้าสามารถฝืนแล้วไปต่อได้ แสดงว่าเมื่อครู่นี้กิเลสหลอกเรา แต่ถ้าฝืนแล้วไปต่อไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งทิ้งการภาวนา แต่ให้เปลี่ยนอิริยาบถไปทำอย่างอื่นแทน

อย่างสมัยก่อนที่อาตมาปฏิบัติภาวนาใหม่ ๆ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุงท่านจะค่อย ๆ มอบคาถาให้ทีละบท พอไปทำจนเกิดผล มารายงานผลต่อท่าน เมื่อท่านรับรองแล้วก็ให้คาถาบทใหม่ไปภาวนา เมื่อจะภาวนาของใหม่ ท่านให้ทวนของเก่าให้กำลังใจทรงตัวก่อน แล้วจึงภาวนาของใหม่ เมื่อนานไปคาถาก็มีมากบทขึ้น เป็นสิบ ๆ บท เมื่อเราต้องทวนของเก่าก่อนค่อยมาภาวนาของใหม่ ก็ทำให้ระยะเวลาในการปฏิบัตินั้นยืดยาวขึ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อระยะเวลายืดยาวขึ้นไปเรื่อย ๆ จากที่เราคิดว่านั่งกรรมฐาน ๓๐ นาทีก็แย่แล้ว กลายเป็นว่าบางที ๒ - ๓ ชั่วโมง สมาธิจิตก็ยังไม่คลายออกมา เนื่องจากสภาพจิตรู้ว่ายังมีงานทำอยู่ ยังภาวนาไม่ครบตามที่เคยตั้งไว้ เมื่อจิตไม่คลายออกมา เราก็สามารถดำรงอยู่ในสมาธิ อยู่ในความปราศจากรัก โลภ โกรธ หลงได้นานขึ้นเรื่อย ๆ

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เราจะเห็นได้ว่า การปฏิบัตินั้น..ถ้าเราทำอย่างจริงจังและสม่ำเสมอในสายกลางที่พอเหมาะพอดีแก่ตนเองแล้ว ความก้าวหน้าในการปฏิบัติก็จะมีมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ แต่ถ้าเราทำผิด ทำพลาด หรือไปเชื่อกิเลสว่าทำแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว ถ้าอย่างนั้นโอกาสที่จะก้าวหน้าก็ไม่มี

องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศทางสายกลางมา ๒,๖๐๐ ปีแล้ว มาถึงเราในปัจจุบัน หลักธรรมนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่เหมาะสม ปฏิบัติได้ทุกวาระ ทุกโอกาส ดังนั้น..ให้พวกเราทั้งหลายหาจุดที่พอเหมาะพอดีในการปฏิบัติภาวนาของตน ในทางสายกลางของแต่ละคน เมื่อได้จุดที่พอเหมาะพอดีแล้ว ก็ให้ตั้งหน้าตั้งตาทำไป จนกว่าผลทั้งหลายเหล่านั้นจะเกิดขึ้นแก่เราอย่างแท้จริง

ลำดับต่อไปก็ขอให้ทุกคนตั้งใจภาวนาหรือพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันศุกร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยทาริกาและเถรี)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-02-2013 เมื่อ 01:02
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา