ดูแบบคำตอบเดียว
  #5  
เก่า 04-06-2015, 12:10
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,659 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พระอาจารย์กล่าวว่า "สำหรับพวกเราทุกคน มีพื้นฐานการปฏิบัติมาก่อนแล้ว ก็เหลืออยู่แต่เพียงว่าทำอย่างไรจะให้การปฏิบัติธรรมมีความก้าวหน้าขึ้น ส่วนใหญ่แล้วพวกเราจะอยู่ในลักษณะของการปฏิบัติเฉพาะเวลา ไม่สามารถที่จะรักษาอารมณ์ใจให้ต่อเนื่องยาวนานได้ ในแต่ละวันมีเวลาในการชนะกำลังใจตัวเองน้อยมาก จึงมักจะโดนกิเลสจูงจมูก ไหลไปตามกระแส รัก โลภ โกรธ หลง ได้ง่าย เราจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ "หญ้าปากคอก"

สำนวนนี้บางคนฟังแล้วอาจจะงง ๆ หญ้าปากคอก ถ้าใครเคยเลี้ยงวัวเลี้ยงควายจะเห็น ส่วนใหญ่แล้วข้างในคอกวัวควายจะขี้จะเยี่ยวเอาไว้เละเทะไปหมด ตราบใดที่ยังเลี้ยงวัวเลี้ยงควายอยู่ในคอก หญ้าก็ขึ้นไม่ได้ แต่ว่ารอบคอกหญ้าจะขึ้นงาม แต่วัวควายเมื่อโดนปล่อยออกจากคอก ต่อให้หิวแสนหิวก็ไม่มีตัวไหนกินหญ้าปากคอก ตัวแรกที่ออกมาก็จะโดนตัวที่สองที่สามเบียดไล่ไปเรื่อย ก็ต้องไปหากินที่อื่น ดังนั้น..สำนวนหญ้าปากคอกของโบราณ ก็คือ ของดีอยู่ใกล้ แต่ไม่ได้รับความสนใจ

หญ้าปากคอกที่ว่า ก็คือ อิทธิบาท ๔ เป็นหลักธรรมที่ใคร ๆ ก็รู้ สมัยก่อนอาตมาเรียนหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม เริ่มเรียนชั้น ป.๓ วิชานี้จะอยู่ยาวไปยันชั้น ป.๗ เลย หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ก็คือ เราต้องทำอย่างไรที่จะเป็นพลเมืองดี ต้องรู้และปฏิบัติให้เป็นพุทธมามกะที่ดีอย่างไร ในเรื่องของหลักอิทธิบาทธรรม พวกเราส่วนใหญ่จึงรู้กันแทบทุกคน เพียงแต่ว่ารู้แบบหญ้าปากคอก โอกาสที่จะได้ใช้งานมีน้อย ไปตะเกียกตะกายกินหญ้าไกลไปทุกที แบบเดียวกับที่อาตมาเคยเปรียบว่า พระนิพพานอยู่แค่หัวเรา แต่เรามักจะเอื้อมมือเลยหัว เลยคว้าพระนิพพานไม่ได้เสียที"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-06-2015 เมื่อ 14:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 110 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา