ดูแบบคำตอบเดียว
  #16  
เก่า 24-07-2016, 19:09
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,569 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เป่ายันต์รอบบ่าย

เรื่องของยันต์เกราะเพชรต้องบอกว่า เป็นมรดกตกทอดมาจากพระร่วงสมัยสุโขทัย ตำราพระร่วงเล่มนี้ถ่ายทอดต่อ ๆ กันมาในสายตระกูล จนกระทั่งมาถึงหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค ซึ่งหลวงปู่ปานศึกษาตามตำราแล้วที่นำมาใช้ชัดเจนที่สุด ก็คือ เรื่องของยันต์เกราะเพชร ท่านทำทั้งตะกรุดยันต์เกราะเพชร ลูกอมผงยันต์เกราะเพชร แล้วก็ผ้ายันต์เกราะเพชร ตลอดจนกระทั่งวิธีการเป่ายันต์เกราะเพชร
ซึ่งตามตำราจะต้องใช้วันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำเท่านั้น

การเป่ายันต์ก็ไม่ใชเป่าหัวกันทีละคน แต่เป่าพร้อมกันทั้งศาลา จะกี่ร้อยกี่พันคนก็ได้ อุปกรณ์ในการรับยันต์เกราะเพชรก็คือธูป ๓ ดอกเทียน ๑ เล่ม เพื่อเป็นการบูชาพระ เทียนก็ต้องให้ได้น้ำหนัก ๑ บาท ก็คือโตประมาณนิ้วชี้ ยาวประมาณคืบหนึ่ง

ยันต์เกราะเพชรนั้นมาจากส่วนหนึ่งของธงมหาพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นธงนำทัพในสมัยพระร่วง เป็นบทสรรเสริญพระพุทธคุณก็คือ อิติปิ โสฯ ทั้งบท เมื่อนำมาเขียนลงเป็นแถว ๆ แบบตัวหนังสือจีน รวมทั้งหมด ๘ แถว แถวละ ๗ ตัว ได้ ๕๖ อักขระแล้วก็ชักสูตร สำเร็จออกมาเป็นยันต์เกราะเพชร ซึ่งจะมีอุปเท่ห์คือวิธีการใช้หลายแบบด้วยกัน

แต่อานุภาพของยันต์เกราะเพชรที่เห็นชัดที่สุดที่ท่านได้กล่าวถึง ก็คือ บุคคลที่รับยันต์เกราะเพชรแล้ว ถ้าหากว่ารักษาเอาไว้ได้ อันดับแรกจะไม่ตายโหง ก็แปลว่าในเรื่องของการตายแบบผิดปกติ ด้วยอุบัติเหตุอะไรต่าง ๆ จะไม่มี อันดับที่ ๒ ก็คือจะไม่ตายด้วยพิษของสัตว์มีพิษ ซึ่งอาตมาเองลองด้วยตนเองมาหลายทีแล้ว แม้แต่งูที่มีพิษร้าย ไม่มีเซรุ่มรักษาอย่างงูกะปะ อาตมาก็โดนกัดมาแล้ว ไม่เป็นอะไรจริง ๆ


__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-07-2016 เมื่อ 21:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 77 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา