ถาม : การพิจารณากสิณ คือการพิจารณาโดยเห็นภาพ เห็นสี ในกรณีที่จิตของเราไปสัมผัสตัวเปลวไฟ กระแสลม ที่ใช้ความรู้สึกไปจับ จะเรียกว่าเป็นกสิณ หรือเรียกเป็นมหาสติ ?
ตอบ : อย่างหนึ่งเป็นมังสะจักษุ ตาเนื้อเห็น อีกอย่างหนึ่งเป็นปัญญาจักษุ เห็นด้วยปัญญา ถ้าจิตเราจดจ่อเพ่งอยู่ตรงนั้นก็เป็นกสิณ แต่ถ้าหากว่าเราเอาสติสมาธิทั้งหมดไว้ตรงนั้นจะเป็นมหาสติ คือถ้าเราเพ่งอยู่ที่ภาพจะเป็นกสิณ ส่วนช่วงที่เราประคับประคองอยู่จะเป็นมหาสติ แต่ถ้าทำอย่างที่ว่ามาจัดเป็น "กสิณโทษ" เพราะไปสนใจสิ่งอื่นนอกเหลือดวงกสิณ จะทำให้สำเร็จกสิณกองนั้น ๆ ยาก
ถาม : ถ้าตามหลักการกสิณ สีจะเปลี่ยน แล้วถ้าเป็นในกรณีปัญญาจักษุ แตกต่างกันไหมครับ ?
ตอบ : ปัญญาจักษุสามารถเห็นได้ในทุกที่ แต่ถ้ามังสะจักษุการเห็นจะจำกัด เสียดายเราไม่มีสมันตจักษุเหมือนพระพุทธเจ้า สมันตจักษุเป็นการเห็นรอบ รู้รอบ ไม่มีอะไรปิดบังพระองค์ท่านได้ เราเองถ้าหากว่าใช้ปัญญาพิจารณาไม่ละเอียดจริง ก็จะมองข้ามจุดที่ละเอียดไป
พระพุทธเจ้าท่านเห็นครบหมดทุกอย่าง ไม่มีอะไรปิดบังท่านได้เลย อย่างเวลาเราสวดทำนองสรภัญญะ พร้อมเบญจพิธจัก- ษุจรัสวิมลใส
เบญจพิธจักษุ คือ ดวงตาทั้ง ๕ ได้แก่ มังสจักษุ ทิพยจักษุ สมันตจักษุ ปัญญาจักษุ ธัมมจักษุ เพราะฉะนั้น..ภาษาไทยความหมายลึก พวกเราเองส่วนมากก็แปลไม่ออก
ธรรมะคือคุณากร คุณากร คุณากะโร แปลว่า ผู้กระทำซึ่งคุณ ธรรมะมีคุณโดยส่วนเดียว ส่วนชอบสาธร ดุจดวงประทีปชัชวาล เป็นความดีที่มั่นคง เปรียบเหมือนแสงไฟที่สว่างไสว แห่งองค์พระศาสดาจารย์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่องสัตว์สันดาน สว่างกระจ่างใจมล ส่องเข้าไปในใจของสรรพสัตว์ที่มืดมิดให้สว่างไสวขึ้นมา
ธรรมใดนับโดยมรรคผล เป็นแปดพึงยล และเก้ากับทั้งนฤพาน พระธรรมของพระพุทธเจ้ามีองค์ ๘ คือมรรค ๔ ผล ๔ บวกนิพพานอีก ๑ ก็เป็น ๙ สมญาโลกอุดรพิสดาร เรียกว่าโลกุตรธรรมอันพิสดาร โลกอุดรคือโลกุตระ อันลึกโอฬาร พิสุทธิ์พิเศษสุกใส เพราะฉะนั้น..ต้องไปเรียนภาษาไทยใหม่ถึงจะแปลได้ ไม่อย่างนั้นแปลไม่ออก สวดกันอยู่ประจำแต่แปลกันไม่ได้
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-01-2012 เมื่อ 02:47
|