ดูแบบคำตอบเดียว
  #80  
เก่า 26-08-2011, 12:01
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,720
ได้ให้อนุโมทนา: 152,086
ได้รับอนุโมทนา 4,418,956 ครั้ง ใน 34,310 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เพราะฉะนั้น..ถ้าเราสามารถหยุดได้ถือว่าดี แต่ถ้าหากว่าเราตัดได้ตั้งแต่ต้นเหตุด้วยปัญญาของเรา โดยไม่ปรุงแต่งต่อได้ ก็จะจบกันแค่นั้นเลย คราวนี้การที่เราจะหยุดการปรุงแต่งได้ กำลังของสมาธิต้องดี เหมือนอย่างกับม้าวิ่งไปถึงหน้าผาแล้ว ทำอย่างไรเราถึงจะดึงม้าให้หยุด คือกำลังของเราต้องดี แต่ทำอย่างไรจะหันหัวม้าออกไปให้พ้นจากทิศนั้น จะได้ไม่ต้องวิ่งไปทางเหว นั่นปัญญาของเราต้องดี

ในเรื่องของศีล สมาธิ ปัญญาก็จะเกี่ยวเนื่องกัน ถ้าหากว่าศีลทรงตัว สมาธิจะตั้งมั่นได้ง่าย เพราะเราต้องคอยระมัดระวัง อย่างน้อยศีล ๕ นี้เราต้องไม่ผิด สติสมาธิของเราจะอยู่ตรงนี้ ในเมื่อระวังบ่อย ๆ รักษาศีลได้ สมาธิจะทรงตัวได้ เมื่อศีลสมาธิทรงตัว สภาพจิตจะสงบ ปัญญาจะเริ่มเกิด

พอปัญญาเริ่มเกิด รู้ว่าอะไรเป็นโทษก็เริ่มเว้น รู้ว่าอะไรดีเราก็ทำ แล้วก็เอาปัญญาตรงนี้ไปคุมศีลกับสมาธิอีกที ว่าทำอย่างไรจะทำให้ศีลของเราไม่บกพร่อง ทำอย่างไรจะทำให้สมาธิเราทรงตัว เพราะยิ่งควบคุมศีลสมาธิยิ่งดี ปัญญาก็ยิ่งเกิด จะไล่ไปเรื่อย เหมือนกับเราไขน็อต ไขไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็สุด ทุกอย่างก็จะจบ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-08-2011 เมื่อ 15:56
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 136 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา