ชื่อกระทู้: การเบื่อขันธ์ ๕
ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 19-04-2011, 10:48
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,887 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default การเบื่อขันธ์ ๕

การเบื่อขันธ์ ๕
ให้เบื่อให้เป็น และการละสักกายทิฏฐิ

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. “อย่าทำจิตให้เศร้าหมอง เบื่อขันธ์ ๕ ได้ แต่มิใช่เบื่อจนมีอารมณ์หดหู่ ทำจิตเยี่ยงนี้ไม่ถูก ให้หมั่นลงตัวธรรมดาเข้าไว้สิ เห็นปกติของขันธ์ ๕ ว่ามันมีทุกข์อย่างนี้เป็นปกติของมัน คนไม่เจ็บไข้ได้ป่วยไม่มีในโลก จริงหรือไม่จริง” (ก็ยอมรับว่า จริง)

๒. “แล้วการเกิดมามีขันธ์ ๕ ได้นี้ เราจักโทษใครที่ไหนก็ไม่ได้ จักต้องโทษตัวเราเองที่มันโง่มาแต่กาลก่อน อยากมีขันธ์ ๕ โดยคิดว่าเป็นของดี มาบัดนี้เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าจริง ๆ แล้ว เห็นขันธ์ ๕ เป็นของเลว หาดีไม่ได้เลยมีแต่สร้างทุกข์ให้กับเราอยู่ตลอดกาลเวลา แต่ในเมื่อมันมีขึ้นมาแล้ว ก็ทนมันเป็นชาติสุดท้าย ขอทนโง่อยู่แต่เพียงชาตินี้ ชาติต่อไปขึ้นชื่อว่าการมีขันธ์ ๕ จักไม่มีกับเราอีกต่อไปเป็นอันขาด”

๓. “ให้ตั้งใจไว้อย่างนี้แล้ว พยายามทรงอารมณ์สังขารุเบกขาญาณเข้าไว้ ไม่ให้ความเบื่อหน่ายมันเข้ามาบีบคั้นอารมณ์จิตให้มากจนเกินไป พยายามรักษาอารมณ์เข้าไว้ เฉยด้วยเบื่อด้วยแต่ไม่หดหู่ นี่ก็จักต้องใช้ขันติบารมี คือ จักต้องอดทนด้วยกำลังจิตที่แน่วแน่ ไม่ท้อถอยอยู่ตลอดเวลา ทนโง่มานานนับอสงไขยกัปไม่ถ้วน แค่ชาตินี้เจ้าจักทนไม่ได้ก็ให้มันรู้ไป ให้ทบทวนบ่อย ๆ มีดจักคมก็ต้องหมั่นลับ ปัญญาก็เช่นกัน ถ้าไม่หมั่นคิด ไม่หมั่นใช้ ไม่หมั่นลับ ไม่ช้าขี้สนิมก็กินหมด”

๔. “ให้จิตยอมรับความจริงเข้าไว้ว่า การเกิดมามีขันธ์ ๕ แล้ว จักต้องพบกับความเจ็บ ความแก่ ความตายเป็นธรรมดา และจักต้องมีการกระทบกระทั่งกับอารมณ์ มีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ และมีความปรารถนาไม่สมหวังเป็นธรรมดา จักต้องฝึกซ้อมอารมณ์ของจิตอย่าให้ฝืนความเป็นจริงเหล่านี้เข้าไว้ เพราะไม่มีใครที่เกิดมาแล้วในโลกนี้จักหนีพ้นจากกฎธรรมดานี้ได้ ที่พวกเจ้าทุกข์อยู่เพราะจิตไม่ยอมรับความเป็นจริง ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ทั้งหมดนั่นเอง”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 58 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา