ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 09-03-2011, 01:55
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 31,421
ได้ให้อนุโมทนา: 154,231
ได้รับอนุโมทนา 4,444,541 ครั้ง ใน 35,026 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ ต้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ (เดือนสุดท้าย)

ถาม : พอจะอธิบายลักษณะของฌานใช้งาน ตั้งแต่อุปจารสมาธิจนถึงฌานสี่อย่างคร่าว ๆ ได้ไหมคะ ?
ตอบ : ไปเปิดตำราดูดีกว่า อาตมาอธิบายไว้เยอะแล้ว

ถาม : ไม่เหมือนกับทั่วไปไม่ใช่หรือคะ ?
ตอบ : บางทีก็มีรายละเอียดที่เราจะต้องทำให้ถึงจริง ๆ จึงจะเข้าใจในสิ่งที่อาตมาพูดไป ถ้าทำไม่ถึงก็จะไม่เข้าใจในสิ่งที่ว่ามา ได้แต่คิดว่า คาดว่า ควรจะเป็นอย่างนั้น ควรจะเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น..ทำไปเถอะ พอทำถึงเดี๋ยวก็จะเข้าใจเอง

ความจริงอุปจารสมาธิของพวกเราก็คือตอนนี้ ตอนที่เราตั้งใจทำอะไรบางอย่างโดยที่สติจดจ่ออยู่ตรงหน้า กรณีนี้หมายถึงคนทั่ว ๆ ไปนะ ถ้าคนที่เขาคล่องตัวแล้ว สติที่จดจ่ออยู่เฉพาะหน้าบางทีเขาเลยอุปจารสมาธิไปถึงไหน ๆ แล้ว

กำลังใจจดจ่ออยู่เฉพาะหน้า ไม่ได้เคลื่อนไปไหน นั่นคืออุปจารสมาธิ หลังจากนั้นถ้าสามารถกำหนดรู้ลมได้ตลอดสามฐานก็จะเป็นปฐมฌาน ถ้าลมหายใจเริ่มเบาลง ความรู้สึกเหมือนกับว่าเราหายใจน้อยลง หรือจับลมไม่ได้ บางทีคำภาวนาก็หยุดไปด้วย ก็เป็นฌานสอง ตรงนี้เป็นหลักที่คนส่วนใหญ่จะต้องเจอ

พอเริ่มเป็นฌานสาม บางคนก็รู้สึกว่าตัวแข็ง แข็งเหมือนกับกลายเป็นหิน บางคนก็รู้สึกเหมือนว่าชา เหมือนกับกลายเป็นหินไปทั้งตัวแล้ว บางคนก็รู้สึกว่าเหมือนกับโดนมัดติดกับเสาจนแน่น ตั้งแต่หัวถึงเท้ากระดิกไม่ได้เลย อาการแรกเริ่มก็อาจจะเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่ง อย่างเช่นปลายจมูกหรือปาก บางคนนั่ง ๆ อยู่เหมือนกับเม้มปากแน่นขึ้นเรื่อย ๆ แต่ความจริงไม่ใช่ นั่นเป็นอาการที่สมาธิเริ่มทรงตัวมากขึ้น

ถ้าหากเราไม่ตกใจและไม่กลัว เอาใจกำหนดดูกำหนดรู้ไปเรื่อย ตอนนั้นเราจะลืมไปด้วยซ้ำว่ามีลมหายใจหรือมีคำภาวนาหรือเปล่า ความรู้สึกของเราจะรวมอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งในร่างกาย สว่างโพลงอยู่เฉพาะที่ ไม่รับรู้อาการภายนอก ถ้าอย่างนั้นจะเป็นฌานสี่ ถึงตอนนั้นแล้วเวลาจะผ่านไปโดยที่เราไม่รู้ตัว บางทีเรารู้สึกว่าเดี๋ยวเดียว ลืมตาขึ้นมาผ่านไปตั้งหลายชั่วโมง

บางอย่างมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เฉพาะตัวอยู่ พอทำถึงก็อ๋อ..ที่แท้เป็นอย่างนี้เอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 09-03-2011 เมื่อ 20:36
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 255 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา