ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 30-04-2010, 15:19
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,889 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๗. “เอ็งจะเห็นได้ว่า จิตคนนั้นมันฝืนความจริงอยู่มาก มีอารมณ์ไหวอยู่เรื่อย ๆ ความไม่สบายกายปรากฎ จิตก็ไหวอยู่ในอารมณ์ของความไม่พอใจ แต่พอความสบายกายปรากฎ จิตก็ไหวอยู่ในอารมณ์พอใจ ทั้ง ๆ ที่กายมันไม่เที่ยง เกิดแล้วก็ต้องเจ็บ ต้องแก่ ต้องตาย แต่จิตมันไม่ยอมรับว่า สิ่งเหล่านั้นมันเป็นปกติของร่างกาย ไปทุกข์กับความปกติเหล่านั้น ฝืนความจริง จิตไม่ยอมรับความจริง ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากแก่ ไม่อยากตาย แต่ที่สุดกายมันก็ไม่ฟังเรา จิตบังคับมันก็ไม่ได้ กายมันก็ต้องเป็นไปตามกฎธรรมดาของมัน

เอ็งหมั่นดูอารมณ์เข้าไว้นะลูก อย่าให้มันเอียงซ้าย เอียงขวา ในยามทุกข์-สุขของกายมันเกิด ไม่ใช่หิวก็ทุกข์เกิดที่จิต พออิ่มก็สุขเกิดที่จิต มันใช้ไม่ได้ ต้องรู้ว่ามันเป็นปกติของร่างกาย ไอ้ความรู้สึกมันต้องมีแน่ หิวก็รู้ว่าหิว อิ่มก็รู้ว่าอิ่ม แต่อย่าไปเสียใจหรือดีใจกับมันเข้า พยายามลงตัวธรรมดาให้ได้ สร้างอารมณ์จิตวางเฉยให้เกิด คนจะไปพระนิพพานได้ไม่ต้องกลับมาเกิด จะต้องตัดอารมณ์ ๒ ตัวนี้ให้ได้ คือพอใจกับไม่พอใจให้พินาศไป พยายามเข้านะ มองสัตว์ มองคน หรือวัตถุธาตุใด ๆ ก็ดี ให้เห็นทุกข์ที่ขังอยู่ภายใน จะได้วางอารมณ์กระทบอันพอใจและไม่พอใจทิ้งลงเสียได้”

๘. “ การเจริญพระกรรมฐานจะต้องวางจิตให้สบาย ๆ สบายอย่างไร คงสบายอย่างจิตสงบค่ะ ถ้าไม่เห็นตัวธรรมดา มันก็สงบไม่ได้ ต้องพิจารณาให้เห็นตัวธรรมดา ยอมรับนับถือกฎธรรมดาหรือกฎของกรรม เห็นทุกข์ เห็นสุข อันไม่เที่ยงเป็นปกติของร่างกาย แต่จริง ๆ แล้ว มองให้ลึก ๆ สุขมันไม่มีหรอกลูก อารมณ์พอใจ ไม่พอใจอันเกิดจากร่างกายเป็นเหตุ จริง ๆ แล้วมันเป็นทุกข์ล้วน ๆ แต่อาศัยความหลงของจิตเป็นปัจจัย ได้สิ่งชอบใจ เช่น รูปสวย เสียงเพราะ รสอร่อย มันก็หลงผิดไป คิดว่าสิ่งเหล่านั้นมันเป็นความสุข ต้องเห็นตรงนี้ก่อน จิตมันต้องยอมรับสภาพเสียก่อนว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่เที่ยง มันเปลี่ยนไปทุกวัน และไม่ช้าไม่นานมันก็เสื่อม แล้วสลายไปในที่สุด”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 06-05-2010 เมื่อ 09:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา