ดูแบบคำตอบเดียว
  #5  
เก่า 12-04-2010, 10:26
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,889 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

หลังจากนั้น สมเด็จองค์ปฐม ได้ทรงพระเมตตาตรัสสอนต่อ มีความสำคัญดังนี้

๑. “หากเจ้าต้องการจักเป็นผู้ไม่หวังในร่างกาย ก็จักต้องหมั่นพิจารณาให้ถึงที่สุดของร่างกายนั้นว่า ธรรมภายในเป็นเยี่ยงไร เมื่อกำหนดรู้จนถึงที่สุดของร่างกาย ร่างกายบุคคลอื่นอันเป็นธรรมภายนอกก็เยี่ยงนั้น”

๒. “จงกำหนดรู้อารมณ์แห่งจิตด้วย กำหนดรู้สภาวะของร่างกายด้วย การพิจารณาจักต้องควบคู่กันไป อย่าทิ้งจุดใดจุดหนึ่ง โดยยอมรับนับถือกฎของธรรมดาเข้าไว้เสมอ อารมณ์จิตหากยังเศร้าหมองอยู่ การปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานก็จักสำเร็จได้ยาก จิตหากยังเป็นผู้หวังในร่างกายอยู่ ก็ยากที่จักบรรลุมรรคผลนิพพานได้เช่นกัน”

๓. “เจ้าได้เห็นสภาพของการมีร่างกาย ที่กลายมาจากอาภัสราพรหมแล้ว ทุกขั้นตอนมีแต่ความทุกข์ ขนาดมิต้องจุติจากครรภ์มารดา แล้วยังจักปรารถนามุ่งหวังในการมีร่างกายอีกหรือ (ก็รับว่าไม่ต้องการ) จิตเจ้าบอกไม่ต้องการ แต่ในขณะเกิดกระทบกระทั่งกัน จักด้วยอายตนะภายนอกก็ดี อายตนะภายในก็ดี เจ้าก็ยังมีความยึดมั่นถือมั่นในอาการของร่างกายอยู่ ว่านั่นเป็นเขา นี่เป็นเรา จึงยังไม่ปฏิบัติได้ตามต้องการที่จักไม่มุ่งหวังในการมีร่างกาย”

๔. “สังโยชน์ ๔ - ๕ คือ การละ และตัดซึ่งอารมณ์กามฉันทะและปฏิฆะ ทำได้เมื่อไร การที่ต้องจุติมามีร่างกายก็สิ้นสุดเมื่อนั้น การกำหนดรู้อารมณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในขณะนี้ พยายามอย่าประมาทอารมณ์ของจิต หมั่นสำรวจตรวจดูให้รู้แน่ชัดว่า ในขณะจิตหนึ่ง ๆ นั้น มีอารมณ์อะไร ตั้งใจกำหนดรู้ตั้งแต่เช้ายันหลับไปเลย”

๕. “ถ้ารู้ก็แก้ไขอารมณ์ได้ ถ้าไม่รู้ก็แก้ไขอารมณ์ไม่ได้ จริตหก อย่าสักเพียงแต่ว่าท่องจำ พรหมวิหาร ๔ ก็อย่าสักแต่ว่านึกได้ จักต้องนำมาประพฤติปฏิบัติได้ด้วย”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 12-04-2010 เมื่อ 14:01
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 25 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา