หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ กล่าวถึงงานบุญนี้ แรกเริ่มทีเดียวจัดที่โรงเรียนบ้านตาด ก่อนจะย้ายมาจัดที่วัด ดังนี้
"จะเริ่มปฏิบัติกันมาตั้งแต่เมื่อใดนั้นก็ไม่ทราบ แต่มีความเป็นมาจากบุญคูณลาน ซึ่งเดิมชาวบ้านตาดจัดงานที่โรงเรียนบ้านตาด โดยนำข้าวเปลือกมากองรวมกัน แล้วนิมนต์องค์หลวงตาพร้อมพระไปเจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหาร ต่อมาจึงมีการจัดที่วัดป่าบ้านตาด โดยชาวบ้านนำข้าวเปลือกมารวมกันที่วัดป่าบ้านตาด ซึ่งในเบื้องต้นมีเฉพาะชาวบ้านตาดกับชาวบ้านกกสะทอน ที่นำข้าวเปลือกมารวมกัน หลังจากนั้นได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมา"
คำว่า ประทาย นอกจากจะใช้เรียกชื่อการทำบุญที่มีชาวบ้านหลาย ๆ คนนำข้าวเปลือกมากองรวมกันแล้ว ในแถบจังหวัดอุบลราชธานีมีการใช้คำนี้ในการทำบุญก่อเจดีย์ทรายด้วย โดยจะใช้คำว่า ตบประทาย ซึ่งหมายถึง การที่ชาวบ้านแต่ละคนนำทรายมากองรวมกัน แล้วก่อเป็นเจดีย์ทรายขึ้น จากนั้นมีการนิมนต์พระมาสวดมนต์ และทำบุญอุทิศคล้ายกับทำบุญประทายข้าวเปลือก
ประทายข้าวเปลือก จึงหมายถึงกองข้าวเปลือก ที่เกิดจากบุคคลหลายคน นำข้าวเปลือกมากองรวมกันเพื่อการทำบุญ ซึ่งเป็นประเพณีความเชื่อที่มีมาแต่นมนานแล้ว ชาวบ้านเขาทำนาได้ข้าว เขาก็จะเอาข้าวเปลือกมาทำบุญ ส่วนการทำน้ำพระพุทธมนต์ เป็นสิ่งมงคลที่ชาวบ้านได้ไปแล้ว จะนำไปรดสรงทั้งคนในครอบครัว เรือกสวนไร่นา ตลอดจนสิ่งของอย่างอื่น เช่น บ้านเรือน ยุ้งข้าว เกวียน รถ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข
ในระยะแรกข้าวเปลือกที่นำมาบริจาคในงานบุญประทายข้าวเปลือกเป็นของหมู่บ้านตาด ต่อมาหมู่บ้านแถบนั้นก็มาร่วมด้วย และเริ่มกระจายออกกว้างมากขึ้น ๆ จนไม่ถือเป็นงานบุญของหมู่บ้านหรือจังหวัดอุดรธานีอีกต่อไป องค์หลวงตาท่านจะนำข้าวเปลือกเหล่านี้ไปขาย เพื่อนำเงินมาสงเคราะห์ช่วยเหลือ กระจายออกเป็นประโยชน์ทั้งรายย่อยและสาธารณะตลอดมา ต่อมาเมื่อบ้านเมืองประสบวิกฤตเศรษฐกิจปลายปี พ.ศ.๒๕๔๐ องค์ท่านจึงเริ่มขอรับการบริจาคช่วยชาติ แต่ก็ยังไม่กว้างขวางนัก
จนกระทั่งวันเสาร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ เป็นวันทำบุญประทายข้าวเปลือก ซึ่งอยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ในวันนั้นประชาชนจากทุกสารทิศเดินทางมาร่วมงานจำนวนมาก ท่านจึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า จะนำเงินที่ได้จากการขายข้าวเปลือกในครั้งนี้ "บริจาคช่วยชาติ"
อันเป็นการริเริ่มเปิดตัวการรับบริจาคช่วยชาติ ให้ลูกศิษย์ลูกหาและประชาชนได้รับรู้อย่างกว้างขวาง แต่ไม่เป็นทางการเป็นครั้งแรก และถือปฏิบัติด้วยการบริจาคช่วยชาติเช่นนั้นตลอด ๗ ปีในโครงการผ้าป่าช่วยชาติฯ จากนั้นก็เป็นการบริจาคสงเคราะห์โลกตลอดมา องค์ท่านกล่าวในเรื่องนี้ไว้ดังนี้...
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-09-2023 เมื่อ 02:19
|