ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 24-06-2023, 00:36
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,667
ได้ให้อนุโมทนา: 152,012
ได้รับอนุโมทนา 4,416,491 ครั้ง ใน 34,257 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เพราะว่าเพื่อนพระสังฆาธิการหลายรูปก็บ่นกันว่า "ตอนเชื้อแรง ๆ ก็ไม่ติดสักที พอตอนเชื้อเริ่มเบาลงดันมาติด..!" ก็ต้องบอกว่า ปมาโท มจฺจุโน ปทํ ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ความไม่ประมาทเป็นหนทางแห่งความไม่ตาย พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ชัดเจนแล้ว ถ้าไม่รู้จักระมัดระวังก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะช่วยเหลือได้อย่างไร เพราะว่าเวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วย ก็เดือดร้อนถึงหมอ ถึงพยาบาล ประเทศชาติก็ต้องมาเสียงบประมาณในการรักษาพวกเรา

จึงเป็นเรื่องที่พวกเราพึงจะสังวรระวังเอาไว้ว่า ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมนั้น เป็นเรื่องของบุคคลที่มีปัญญา คนผู้มีปัญญาจะไม่เลี้ยวผิดง่าย ๆ เพราะว่าจะพิจารณาแล้วพิจารณาอีก
แต่ไม่เลี้ยวผิด ไม่ใช่แปลว่าจะเร็ว..!

เราไปดูในเถรประวัติจะเห็นว่า พระมหาโมคัลลานะบรรลุอรหัตผลใน ๗ วัน พระสารีบุตรเถระบรรลุอรหัตผลใน ๑๕ วัน ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้มีปัญญามากที่สุด ถึงขนาดที่พระพุทธเจ้าตั้งให้เป็นเอตทัคคะทางเป็นผู้เลิศด้วยปัญญา
ก็เพราะว่าบุคคลที่มีปัญญามาก ก็ต้องเสียเวลาคิดอะไรให้รอบคอบ ตรองแล้วตรองอีก จนกระทั่งมั่นใจแน่นอนแล้วถึงจะปลงใจเชื่อ ขณะที่คนทั่ว ๆ ไป บางเรื่องก็ตัดสินใจตามอารมณ์ก็ได้ ชอบก็คือชอบ ไม่ชอบก็คือไม่ชอบ ทำก็คือทำ ไม่ทำก็ไม่ทำไปเลย

ฉะนั้น..เราจะเห็นว่าสาวกภูมิทั่ว ๆ ไป สร้างบารมี ๑ อสงไขยกัปก็บรรลุได้แล้ว แต่อัครสาวกต้อง ๒ อสงไขยกัป มากกว่าเป็นเท่าตัว ถ้าเปรียบง่าย ๆ ก็คือพวกเราสักแต่ว่าสร้างบ้าน มีหลังคา มีข้างฝา มีพื้นก็เข้าอยู่ได้แล้ว แต่บรรดาท่านผู้มีปัญญานี่ต้องค่อย ๆ ตรวจสอบวัสดุ กว้างยาวสูงเท่าไร ? สร้างด้วยวิธีไหน ? ก็เลยทำให้ช้ากว่าปกติ

แต่คราวนี้พวกเราต้องเข้าใจว่า
หลายคนไม่ใช่ช้าเพราะมีปัญญา แต่ช้าเพราะโง่ พวกนี้จะเป็นประเภทวิตกจริต ตัดสินใจอะไรไม่เด็ดขาด จด ๆ จ้อง ๆ อยู่นั่นแหละ จนกระทั่งบางคนสรุปว่า มีสติมากกว่าปัญญา ก็ทำให้ตัดสินอะไรไม่ได้ กลัวผิดกลัวพลาด มีปัญญามากกว่าสติ ก็บุ่มบ่าม ผิดพลาดได้ง่าย สติกับปัญญาจึงต้องไปเท่า ๆ กัน เราจะเห็นว่าในอินทรีย์ ๕ พละ ๕ เขาจะมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๕ อย่างต้องเสมอกัน ไปด้วยกัน ยกเว้นเรื่องสติเรื่องเดียวที่ท่านใช้คำว่า ยิ่งมีมากยิ่งดี แต่คราวนี้ถ้าหากว่ามีมาก บางทีก็ทำให้ช้าลงได้

มีการปฏิบัติอยู่สายหนึ่ง ซึ่งท่านใช้คำว่า "ปฏิบัติแค่ขณิกสมาธิ
หรืออุปจารสมาธิก็พอ เหมือนกับเราค่อย ๆ เก็บงาทีละเมล็ด นานไปก็ได้มากพอที่จะคั้นเอาน้ำมันมาใช้การได้" ดังนั้น..การปฏิบัติตามสายนี้จึงยากลำบากมาก เพราะว่าถ้าสมาธิให้แค่ขณิกสมาธิหรือว่าอุปจารสมาธิ จะไม่เพียงพอในการกดกิเลส โอกาสที่กิเลสตีกลับจะมีอยู่ตลอดเวลา เราก็จะโดน รัก โลภ โกรธ หลง รุมกระหน่ำอยู่ทั้งวัน แต่ท่านก็บอกว่าให้กำหนดรู้ตามความเป็นจริง โดยที่บอกว่านั่นคือวิปัสสนาญาณ บ้าชัด ๆ..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-06-2023 เมื่อ 00:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา