ปริจเฉทที่ ๑๔ เรียกว่า ขันธนิเทส เริ่มเข้ามาสู่ในส่วนของปัญญานิเทส ก็คือพิจารณาขันธ์ ๕ ได้แก่
รูป คือร่างกายเรานี้
เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
สัญญา คือ ความรู้ได้หมายจำ
สังขาร คือ ความนึกคิดปรุงแต่ง สังขารในที่นี้ไม่ใช่ร่างกายนะครับ เราจะไปชินกันว่าสังขารคือร่างกาย สังขารตัวนี้คือจิตสังขารครับ เป็นการปรุงแต่งของใจ
ถ้าเราเห็นคนเดินมา เริ่มรู้สึกว่าเป็นผู้หญิงผู้ชายนี่ ปรุงแต่งไปนานแล้วนะครับ คนที่มีปัญญาจริง ๆ จะสักเห็นว่าเป็นรูป สักเห็นว่าเป็นธาตุ ทันทีที่เราปรุงแต่งเป็นหญิงเป็นชาย จิตใจจะแบ่งเป็น ๒ อย่างครับ ก็คือ ชอบหรือไม่ชอบ ชอบก็จัดเป็นราคะ ไม่ชอบจัดเป็นโทสะ พังทั้งคู่นะครับ..!
ดังนั้น...ในส่วนของขันธ์ ๕ ตัวที่ร้ายกาจที่สุดสำหรับกระผม/อาตมภาพก็คือสังขารครับ ใจที่คิดปรุงแต่ง ทำอย่างไรที่เราจะรู้เท่าทันและไม่ไปปรุงแต่ง เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน เป็นต้น
ตัวสุดท้ายคือวิญญาณครับ วิญญาณในปัจจุบันนี้ความหมายเพี้ยนไปมากครับ เราไปนึกว่าเป็นผี แต่วิญญาณในที่นี้คือประสาทการรับรู้ครับ อย่างเช่นว่าประสาทตา เรียกว่าจักขุวิญญาณ ประสาทหู เรียกว่าโสตวิญญาณ เป็นต้น
ดังนั้น...ในส่วนของวิญญาณในขันธ์ ๕ หรือกองขันธ์นี้ ก็คือในส่วนของประสาทรับรู้ของร่างกายเรานี่เอง ปริจเฉทนี้เรียกว่าขันธนิเทส
__________________
........................
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 08-12-2021 เมื่อ 05:41
|