ไตรลักษณ์
“... พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้พิจารณาไตรลักษณ์ (ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา) ก็เพื่อจะตัดสาเหตุการหลั่งน้ำตาของสัตว์ผู้ไปยึดไตรลักษณ์มาเป็นตน เป็นของตนเสียได้ กลายเป็นความรู้เท่าทันตามหลักความจริง และถอดถอนอุปาทาน ความยึดมั่นสำคัญผิด.. อันเป็นเสี้ยนหนามทิ่มแทงหัวใจให้หมดไป ... บรรดาสัตว์ บุคคล ตลอดทวยเทพที่มีรูปร่าง แง่ความคิด ภูมิที่อยู่ และนิสัยวาสนา.. จำต้องยอมรับกฎของไตรลักษณ์ อันเป็นกฎของวัฏฏะอันเดียวกัน...
ทุกขัง คือความทุกข์กายไม่สบายใจ ใครจะหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับทุกข์อันเกิดขึ้นกับตนผู้เป็นต้นเหตุของทุกข์ไปไม่ได้ ... อนิจจัง คือความแปรปรวนนั้น มีอยู่รอบตัวทั่วสรรพางค์ร่างกาย ไตร่ตรองไปตามสภาวะ ซึ่งมีอยู่ในตัวอย่างสมบูรณ์ให้เห็นชัด แม้ทุกข์.. ความบีบคั้นก็มีอยู่ทั้งวันทั้งคืน ไม่เพียงแต่ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจที่เกิดขึ้นเพราะอารมณ์ต่าง ๆ ก็มีอยู่เช่นเดียวกัน จงกำหนดให้เห็นชัด คำว่า อนัตตา ก็ปฏิเสธในความเป็นสัตว์ เป็นสังขาร เป็นเรา เป็นเขาอยู่ทุกขณะ เมื่อพิจารณาจนมีความชำนาญ กายก็จะรู้สึกว่าเบา ใจก็มีความอัศจรรย์ และสว่างกระจ่างแจ้งไปโดยลำดับ ...”
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-08-2020 เมื่อ 13:48
|