ดูแบบคำตอบเดียว
  #9  
เก่า 25-03-2009, 12:36
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,970 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

ระเบียบพิธีที่ถือปฏิบัติ

นอกเหนือจากการจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้ ยังมีระเบียบหรือพระราชพิธี ที่ถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน เช่น

- เรือที่ติดอาวุธได้ มีเฉพาะแต่เรือรูปสัตว์เท่านั้น
- เรือลำใดที่ไม่มีผ้าคลุมหลังคา และไม่มีผ้าหน้าจั่ว คือ เรือกลองนอก กลองใน เรือแซง เรือตำรวจ เรือพวก นี้จะใช้หลังคากระแชงเปี๊ยะ
- เรือลำใดทอดบัลลังก์กัญญาแล้ว จะทอดบุษบก และพระราชยานกงมิได้
- พลฝีพายในเรือพระที่นั่งทรง เรือพระที่นั่งรอง และเรือทรงผ้าไตร ๓ ลำนี้ หากกรมพระราชวังสั่งให้ข้าราชการแต่งกายเต็มยศ หรือครึ่งยศรับเสด็จฯ ต้องแต่งกายเต็มยศอย่างพลฝีพาย (ใช้พายเงินพายทอง) หากแต่งกายปกติ จะแต่งกายดำ สวมหมวกกลีบลำดวน ใช้พายทาน้ำมัน
- ท่าพายเรือแบ่งไว้เป็น ๓ ท่า คือ

๑. พายธรรมดา
๒. พายกระเดียด
๓. พายท่านกบิน สำหรับเรือพระที่นั่งต้องพายท่านกบินเสมอ จะเปลี่ยนท่าพายต้องขอพระบรมราชานุญาต

- การเห่ในกระบวนพยุหยาตราใหญ่ ต้นบทเห่ เห่ในเรือพระที่นั่ง กระบวนพยุหยาตราน้อยและกระบวนราบ ใหญ่ ราบเล็ก ต้นบทเห่ เห่ในเรือทรงผ้าไตร
- การเห่ก็ดี ขานยาวก็ดี ฝีพายจะรับข้ามที่ประทับไม่ได้ เช่น เห่และขานยาวตอนหัวเรือ ฝีพายตอนหัวเรือรับ ฝีพายตอนท้ายเรือรับไม่ได้ ถือกันว่าเสียงข้ามพระเจ้าอยู่หัว
- การเสด็จฯ กลับ ถ้าพระอาทิตย์อัสดงค์แล้ว ต้องโห่ ๓ ลาเสียก่อน จึงออกเรือพระที่นั่งได้
- การใช้โคมไฟ ห้ามใช้ในเรือพระที่นั่ง เรือรูปสัตว์ใช้โคมเพชร เรืออื่น ๆ ใช้โคมบัว

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-09-2012 เมื่อ 03:54
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 14 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา