๘. เวลานี้ภัยพิบัติของธรรมชาติ เริ่มจักเยือนโลกมากขึ้นทุก ๆ ขณะ เพราะคำว่าโลกแปลว่ามีความฉิบหายไปในที่สุด โลกนี้มีทุกขังเป็นเบื้องต้น (ไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ในสภาพเดิมได้) มีอนิจจัง (ไม่เที่ยงแท้แน่นอน) เป็นท่ามกลาง มีความอนัตตาไปในที่สุด (สลายตัวไปจากสภาวะหนึ่งไปสู่อีกสภาวะหนึ่ง เช่น วันนี้กินอาหารเข้าทางปาก พรุ่งนี้กลายเป็นขี้ สีเหลืองเหมือนกันหมด แยกไม่ออกว่าของเดิมมันเป็นอะไรบ้าง)
จิตจักได้เห็นความจริงของโลกให้มาก ทั้งโลกภายนอกและโลกภายใน คือขันธโลกหรือร่างกาย หรือขันธ์ ๕ เมื่อเห็นความจริงแล้ว จิตจักได้มีความเบื่อโลก ไม่ต้องการเกิดมาในโลกนี้อีก เพราะจิตจักเห็นทุกข์ของการดำรงชีวิตอยู่ในโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกันจิตเมื่อรู้ความจริงแล้ว ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนไม่เที่ยง (อนิจจา วะตะสังขารา) แต่อุปาทานยึดมั่นถือมั่นมันคิดว่าเที่ยง ทุกข์เกิดขึ้นกับจิตเพราะเหตุนี้ (อุปาทะวะยะ ธัมมิโน) หากวางอุปาทานตัวยึดมั่นถือมั่นลงได้ จิตก็จักพ้นจากความทุกข์ (อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ) การไม่เกิดมามีร่างกาย (ขันธ์ ๕) อีก จึงเป็นยอดของความสุข หรือพระนิพพานเป็นยอดของความสุข (เตสังวูปะสะโม สุโข)
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 07-10-2016 เมื่อ 18:56
|