ตำราช้าง ฉบับรัชกาลที่ ๑ (แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
วันเสาร์ เดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๔ ปีขาลจัตวาศก(๑) จำลองแล้ว ทานแล้ว
ศุภมัสดุ อันนี้กล่าวในพระศิวกรรม เมื่ออาทิสรรค์บังเกิดช้างพังพลาย จึ่งพระพรหมบังเกิดช้างพังพลายจำพวกหนึ่ง ชื่อพรหมพงศ์
พระพิษณุบังเกิดช้างพังพลายจำพวกหนึ่ง ชื่อพิษณุพงศ์
พระอิศวรเป็นเจ้าบังเกิดช้างพังพลายจำพวกหนึ่ง ชื่ออิศวรพงศ์
พระเพลิงบังเกิดช้างพังพลายจำพวกหนึ่ง ชื่ออัคนิพงศ์
เป็นอำนวยพงศ์ช้างทั้ง ๔ ประการ มีสังสถานรูปพรรณต่าง ๆ ในตัวช้างนั้น
หมายเหตุที่
๑. ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๕
๒. การเรียกศกตามเลขท้ายของปีที่ลงได้แก่
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข ๑ เรียก "เอกศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข ๒ เรียก "โทศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข ๓ เรียก "ตรีศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข ๔ เรียก "จัตวาศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข ๕ เรียก "เบญจศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข ๖ เรียก "ฉศก" (อ่านว่า ฉอสก)
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข ๗ เรียก "สัปตศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข ๘ เรียก "อัฐศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข ๙ เรียก "นพศก"
- ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข ๐ เรียก "สัมฤทธิศก"
๓. วิธีการคำนวณเพื่อเทียบเวลาจาก จุลศักราช เป็น พุทธศักราช ให้นำตัวเลขจำนวน ๑๑๘๑ บวกเข้าไปกับตัวเลขของ จุลศักราช ก็จะได้เป็นปี พุทธศักราช ที่ต้องการ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เด็กเมื่อวานซืน : 16-08-2009 เมื่อ 23:21
|