ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 24-02-2009, 13:24
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,970 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

หลวงพ่อช่วง ที่เป็นสมภารวัดฉลอง ภูเก็ต เมื่อปี ๒๔๕๑ ต่อจากหลวงพ่อแช่ม โดยหลวงพ่อช่วงเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อแช่ม ถือว่าเป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์โดยถ่ายทอดวิชาอาคม มีความชำนาญพิเศษในด้านวิปัสสนา จนมีชื่อเสียงโด่งดังไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหลวงพ่อแช่มผู้เป็นอาจารย์ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านทั่วไป ทำให้วัดฉลองเจริญรุดหน้าขึ้นในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส

ซึ่งพอสรุปได้ว่า หลวงพ่อช่วงจะเด่นทางเมตตามหานิยม และวิปัสสนาเป็นยอด และโดยคุณงามความดีของท่าน ทางคณะสงฆ์จึงเสนอความดีความชอบไปยังคณะสงฆ์ส่วนกลาง ท่านจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูโดยได้รับพระราชทานทินนามว่า “พระครูครุกิจจานุการ” และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมืองภูเก็ต

ด้วยความชำนาญในด้านวิปัสสนา จึงได้รู้จักกับหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโค อยุธยา จนในที่สุด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓ หลวงพ่อปาน ได้เดินทางมาที่วัดฉลอง ภูเก็ต เพื่อไปเยี่ยมเยียนหลวงพ่อช่วง พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนวิชาอาคม และนมัสการภาพหลวงพ่อแช่มที่ตั้งไว้ในกุฏิของหลวงพ่อช่วง ก่อนเดินทางกลับหลวงพ่อช่วงได้มอบภาพหลวงพ่อแช่ม เพื่อเป็นที่ระลึกในครั้งนั้นด้วย

หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลังจากเดินทางกล้บจากวัดฉลอง เกิดความศรัทธาในหลวงพ่อแช่ม วัดฉลองเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ให้ช่างมาแกะเหรียญพร้อมจัดสร้างรูปหล่อบูชาขนาดใหญ่ไว้ที่วัดบางนมโค และนำภาพมาพิมพ์ถ่ายซ้ำเพื่อแจกให้แก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา พร้อมทั้งมีคาถาของหลวงพ่อแช่ม และหลวงพ่อปานกำกับในภาพถ่ายด้วย

สำหรับเหรียญมีลักษณะเป็นภาพหลวงพ่อแช่มนั่งเก้าอี้ห้อยเท้า มือขวาถือพัดยศ มือซ้ายถือไม้เท้ากายสิทธิ์ สร้างจำนวน ๑,๐๐๐ เหรียญ ซึ่งเหรียญนี้ถือว่าเป็นเหรียญหลวงพ่อแช่มที่สร้างเป็นครั้งแรก โดยหลวงพ่อปานได้ทำพิธีปลุกเสกที่ วัดบางนมโค จังหวัดอยุธยา ต่อมาเมื่อปลุกเสกเหรียญชุดนี้เสร็จแล้ว จึงได้นำแม่พิมพ์มาถวายแด่หลวงพ่อช่วง

ต่อมาคณะกรรมการวัดฉลองจึงได้ใช้แม่พิมพ์เดิมมาสร้างอีกครั้งหนึ่งไม่เกิน ๓,๐๐๐ เหรียญ ซึ่งจะเหมือนกันทั้งหน้าและหลัง แต่ด้านหลังจะมีจุดสังเกต ที่ขอบเหรียญเป็นตำหนิคล้ายเล็บจิก จึงเรียกว่า “หลวงพ่อแช่ม พิมพ์เล็บจิก” สำหรับเหรียญทั้งสองพิมพ์นี้เป็นที่นิยมกันมาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องการทำมาค้าขึ้น เมตตามหานิยม และแคล้วคลาดภยันตรายทั้งปวง จึงถือว่าเป็นรุ่นที่นิยมกันมาก ซึ่งมีข้อห้ามเพียงห้ามลักทรัพย์ และห้ามเสพสุรา หากจะให้เกิดผลสำเร็จขอให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ให้ท่องคาถาทุกวันและเมื่อได้เงินมาแล้ว ให้ทำบุญกุศลด้วย โดยกล่าวดังนี้

ตั้งนะโม (๓ จบ)
พระอะระหัง สุคะโต ภคาวา นะ เมตตา จิต (๓ จบ)
พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ (๑ จบ)
และสวดต่อคาถาพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ๓,๕,๗,๙ จบ ดังนี้

วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา
วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม
รูป
ชนิดของไฟล์: jpg 5a.jpg (98.9 KB, 83 views)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-05-2010 เมื่อ 14:14
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 69 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา