ดูแบบคำตอบเดียว
  #120  
เก่า 15-05-2013, 15:12
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,720
ได้ให้อนุโมทนา: 152,086
ได้รับอนุโมทนา 4,419,066 ครั้ง ใน 34,310 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : แล้วจิตในจิต แยกภายนอกภายในอย่างไรครับ ?
ตอบ : อันหนึ่งก็คือสภาพจิตแท้จริงของเราที่เป็นภายใน อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับจิต ภาษานักธรรมเขาเรียกว่าชวนะ เป็นภายนอก ถ้าเอาตามสายหลวงปู่มั่นท่านใช้คำว่าจิตกับใจ ก็คือตัวผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรับรู้
คราวนี้ท่านใช้คำเดียวกัน เป็นอาการของจิตที่เคลื่อนไปรับรู้ในสิ่งต่าง ๆ กับสภาพตัวจิตที่แท้จริง ถึงได้บอกว่าตัวเรา ตัวผู้รู้ กับสิ่งที่รับรู้เวลามาสัมผัส เขาเรียกว่าชวนะ การเคลื่อนไปของจิต มีภายในภายนอก


ถาม : จิตที่รับรู้ภายในคือธรรมารมณ์ ?
ตอบ : สภาพจิตที่เป็นตัวตนจริง ๆ ก็คือภายใน ธรรมารมณ์ต่าง ๆ เป็นภายนอก

ถาม : หมายถึงภวังคจิต ?
ตอบ : จะเรียกว่าภวังคจิตก็ไม่ใช่ หากแต่คือตัวรับรู้ ตัวรับรู้เป็นภายใน สิ่งที่เข้ามาให้รู้เป็นภายนอก

ถาม : จิตไปรับรู้อารมณ์ตลอด ?
ตอบ : รับไปตลอด ถ้าเราไม่ได้ฝึกให้มั่นคงพอ กำลังของจิตก็จะหมดไปเพราะว่าเสพเสวยสิ่งต่าง ๆ เข้าไปเรื่อย ๆ ก็เลยทำให้เราไม่มีกำลังพอที่จะสู้กับกิเลส ก็เลยจำเป็นที่เราจะต้องรู้จักยับยั้ง หยุดสภาพจิตของเรา เพื่อที่จะรักษากำลังของเราไว้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-05-2013 เมื่อ 15:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 149 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา