The Golden Jubilee (เพชรกาญจนาภิเษก)
สุดยอดอัญมณีแห่งแผ่นดินสยาม
... เพชรกาญจนาภิเษก หรือ The Golden Jubilee
ถือเป็นเพชรสีเจียระไนที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสีเหลืองทองธรรมชาติ
โดยขุดพบที่เหมืองพรีเมียร์ แคว้นทรานสวาล แอฟริกาใต้ ในปี ค.ศ. ๑๙๘๖
มีน้ำหนักเพชรดิบก่อนเจียระไนหนักถึง ๗๕๕.๕๐ กะรัต
และกว่าจะกลายเป็นเพชรที่มีความสวยงามอย่างทุกวันนี้
เพชรเม็ดนี้ต้องใช้เวลาเจียระไนถึง ๓ ปีเต็ม โดยช่างเจียระไนฝีมือเลิศจากเมืองแอนท์เวิร์ป
จนได้เป็นเพชรที่มีเหลี่ยมเจียระไนที่สมบูรณ์ที่สุดคือ ๑๔๘ เหลี่ยม
โดยเป็นเหลี่ยมบนหน้าเพชร ๕๕ เหลี่ยม
เหลี่ยมด้านล่าง ๖๙ เหลี่ยม และเหลี่ยมที่ขอบเพชร ๒๔ เหลี่ยม
เดิมเพชรเม็ดนี้เป็นของบริษัท เดอเบียร์
ซึ่งนำมาแสดงที่งาน บีโอไอแฟร์ ประเทศไทยในปี ค.ศ. ๑๙๙๕
ราคาประมาณ ๖ ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยในงานนี้เองได้มีนักธุรกิจไทยรวมกลุ่มกันติดต่อขอซื้อเพชรเม็ดนี้
เพื่อนำไปประดับไว้บนยอดคฑาทองคำทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ด้วยความล้ำค่าและสง่างามของเพชรเม็ดนี้ เมื่อประกอบเข้ากับคฑาทองคำอันสูงค่า
และเสริมด้วยเพชรเหลี่ยมมหาราชและเพชรเหลี่ยมราชินี
ทำให้คฑาทองคำประดับเพชร "The Golden Jubilee" ยิ่งเลอค่า
เหมาะที่จะทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งปวงชนชาวไทย
เนื่องในโอกาสที่ครองราชย์เถลิงสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในโลก
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ราชาแห่งเพชรเม็ดนี้จึงได้ชื่อว่า "เพชรกาญจนาภิเษก"
"The Golden Jubilee" คือสุดยอดแห่งอัญมณีอีกเม็ดหนึ่งของโลก
และเป็นอัญมณีที่ควรคู่กับ "มหาราช" อันเป็นที่รักและบูชายิ่งของปวงชนชาวไทย
หมายเหตุ :
- เพชรดิบสีน้ำตาลขนาดใหญ่ ๗๕๕.๕ กะรัต (๑๕๑ กรัม) นี้ ภายหลังถูกตัดให้เหลือน้ำหนัก ๕๔๕.๖๗ กะรัต (๑๐๙.๑๓ กรัม)
- ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ที่พระบรมมหาราชวัง มีมูลค่า ๔-๑๒ ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
(ประเมินประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๐)
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน
ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว...
กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน
อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ
กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑
|