ดูแบบคำตอบเดียว
  #133  
เก่า 01-11-2012, 09:32
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,887 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

บาตรเราพอจัดเสร็จแล้ว ก็เอาตั้งไว้ลับ ๆ ทางด้านข้างฝาติดกับต้นเสา เอาฝาปิดไว้อย่างดีด้วย เอาผ้าอาบน้ำปิดอีกชั้นหนึ่งด้วย เพื่อไม่ให้ใครไปยุ่งไปใส่บาตรเรา เวลานั้นใครจะมาใส่บาตรเราไม่ได้ กำชับกำชาไว้อย่างเด็ดขาด แต่เวลาท่านจะใส่บาตรเรา ท่านก็มีอุบายของท่าน เวลาเราจัดอะไรของท่านเสร็จเรียบร้อยแล้วมานั่งประจำที่ ให้พรเสร็จ

ตอนทำความสงบพิจารณาปัจจเวกขณะนั้นแล ท่านจะเอาตอนเริ่มจะฉัน ท่านเตรียมของใส่บาตรไว้แต่เมื่อไรก็ไม่รู้แหละ แต่ท่านไม่ใส่ซ้ำ ๆ ซาก ๆ นี่ ท่านก็รู้เหมือนกัน ท่านเห็นใจเรา บทเวลาท่านจะใส่ ท่านพูดว่า
ท่านมหาขอใส่บาตรหน่อย ๆ ศรัทธามาสาย ๆ’ ท่านว่าอย่างนั้น


พอว่าอย่างนั้น.. มือท่านถึงบาตรเราเลยนะ ตอนเราเอาบาตรมาวางข้างหน้าแล้ว กำลังพิจารณาอาหารนี่แหละ เราเองก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร เพราะความเคารพ จำต้องปล่อยตามความเมตตาของท่าน เราให้ใส่เฉพาะท่านเท่านั้น นาน ๆ ท่านจะใส่ทีหนึ่ง ในพรรษาหนึ่ง ๆ จะมีเพียง ๓ ครั้งหรือ ๔ ครั้งเป็นอย่างมาก ท่านไม่ใส่ซ้ำ ๆ ซาก ๆ เพราะท่านฉลาดมาก คำว่ามัชฌิมาในทุกด้านจึงยกให้ท่านโดยหาที่ติไม่ได้...”

แม้หลวงปู่มั่นจะทราบดี ถึงความเคร่งครัดของท่านเกี่ยวกับการสมาทานธุดงค์ แต่ด้วยความเมตตาของครูบาอาจารย์ที่ต้องการหาอุบายสอนศิษย์ ทำให้บางครั้งหลวงปู่มั่นก็ได้นำอาหารมาใส่บาตรท่านพร้อมกับพูดว่า
“ขอใส่บาตรหน่อยท่านมหา นี่เป็นสมณบริโภค” หรือบางครั้งก็ว่า “นี่เป็นเครื่องบริโภคของสมณะ ขอนิมนต์รับเถอะ” เหตุการณ์ในตอนนั้น ท่านเคยเล่าไว้ดังนี้


“... บางครั้งก็มีคณะศรัทธาทางจังหวัดหนองคายบ้าง และที่สกลนครบ้าง ที่อื่น ๆ บ้าง ไปใส่บาตรท่านและพระในวัดบ้านนามน คนในเมืองสกลนครนาน ๆ มีไปทีหนึ่ง เพราะแต่ก่อนรถราไม่มี ต้องเดินด้วยเท้า แต่เขาไปด้วยเกวียน จ้างล้อจ้างเกวียนไป

เขาไปพักเพียงคืนสองคืน และไม่ได้พักอยู่ในวัดกับพระท่าน แต่พากันไปพักอยู่กระท่อมนาของชาวบ้านนามน ตอนเช้าทำอาหารบิณฑบาตเสร็จแล้วก็มาถวายพระในวัดนั้น เขาไม่ได้ไปดักใส่บาตรนอกวัด เราก็ไม่กล้ารับ.. กลัวธุดงค์ขาด เดินผ่านหนีมาเลย สำหรับท่านก็รับให้เพราะสงสารเขา เท่าที่สังเกตดู

อาหารก็เหลือจากใส่บาตรมากมายก็ได้นำขึ้นมาบนศาลา เป็นหมกเป็นห่อและผลไม้ต่าง ๆ นะ เราก็ไม่รับ ส่งไปไหนก็หายเงียบ หายเงียบ ไม่มีใครรับ จะมีรับบ้างเพียงองค์สององค์ ผิดสังเกต ศรัทธาเขาไม่น้อย ส่วนเราไม่กล้ารับเพราะกลัวธุดงค์ข้อนี้ขาด หลายวันต่อมาท่านก็ขอใส่บาตรเรา โดยบอกว่า
‘นี้เป็นสมณบริโภค ขอใส่บาตรหน่อย’


แล้วท่านก็ใส่บาตรเรา ท่านใส่เองนะ ถ้าธรรมดาแล้ว โถ...ใครจะมาใส่เราได้วะ สำหรับเราเองกลัวธุดงค์จะขาด หรืออย่างน้อยไม่สมบูรณ์... นอกจากท่านอาจารย์มั่นผู้ที่เราเคารพเลื่อมใสเต็มหัวใจเท่านั้น จึงยอมลงและยอมให้ใส่บาตรตามกาลอันควรของท่านเอง...

ความจริงท่านคงเห็นว่า นี่...มันเป็นทิฐิแฝงอยู่กับธุดงค์ที่ตนสมาทานนั้น ท่านจึงช่วยดัดเสียบ้าง เพื่อให้เป็นข้อคิดหลายแง่หลายกระทง ไม่เป็นลักษณะเถรตรงไปถ่ายเดียว ท่านจึงหาอุบายต่าง ๆ สอนเราทั้งทางอ้อมและทางตรง

แต่เพราะความเคารพเลื่อมใสท่าน ความรักท่าน ทั้ง ๆ ที่ไม่สบายใจก็ยอมรับ นี่แล...ที่ว่าหลักใจกับหลักปฏิบัติ ต้องยอมรับว่าถูกในความจริงจังที่ปฏิบัตินี่ แต่มันก็ไม่ถูกสำหรับธรรมที่สูงและละเอียดกว่านั้น เล็งดูเราเล็งดูท่าน มองเราและมองท่านนั้น ผิดกันอยู่มาก

อย่างพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ท่านมองอะไร ? ท่านมองตลอดทั่วถึง และพอเหมาะพอสมทุกอย่างภายในใจ ไม่เหมือนพวกเราที่มองหน้าเดียว แง่เดียวแบบโง่ ๆ...! ไม่มองด้วยปัญญาเหมือนท่าน เราจึงยอมรับตรงนั้น...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-11-2012 เมื่อ 09:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 34 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา