กระดานสนทนาวัดท่าขนุน

กระดานสนทนาวัดท่าขนุน (https://www.watthakhanun.com/webboard/index.php)
-   พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) (https://www.watthakhanun.com/webboard/forumdisplay.php?f=18)
-   -   เหตุสำคัญของอาการอาหารเป็นพิษ (https://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=3843)

โอรส 07-08-2013 00:11

เหตุสำคัญของอาการอาหารเป็นพิษ
 
ถาม : ...
ตอบ: เมื่อเดือนที่ผ่านมา อาหารเป็นพิษกันหลายคน..ใช่ไหม ? สาเหตุสำคัญอันดับแรก กินข้าวคำน้ำคำ อันดับที่สอง กินเสร็จแล้วไปอาบน้ำทันที

ระวังไว้ด้วย..ร่างกายของเรามีธาตุอยู่ ๔ อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันนี้โบราณว่า..เราเถียงไม่ได้..เป็นเรื่องจริง ช่วงที่เรากินอาหารลงไป ไฟธาตุจะมาเพื่อย่อยอาหาร การสันดาปเผาผลาญอาหารเป็นหน้าที่ของธาตุไฟ ทางวิทยาศาสตร์เขาบอกว่า ตอนนั้นกระแสโลหิตในร่างกายของเรา จะลงไปรวมอยู่ที่กระเพาะ เพื่อที่จะย่อยอาหาร ตอนนั้นสมองจะมีเลือดเลี้ยงน้อย หลังอาหารก็เลยจะอยากนอน ง่วง ๆ ซึม ๆ อยู่หน่อยหนึ่ง

คราวนี้เมื่อไฟกำลังลุก เราก็เอาน้ำราดลงไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้น..ไฟดับ.. ในเมื่อไฟดับย่อยอาหารไม่ได้ อาหารก็อืด แล้วก็เป็นพิษ กระอักกระอ่วน อ้วกบ้าง ท้องเสียบ้าง

พยายามแก้นิสัยให้ได้ อย่าไปกินข้าวคำน้ำคำ กล้ำกลืนฝืน ๆ กินลงไป พอหลังจากอิ่มค่อยดื่มน้ำตามลงไปหน่อยหนึ่ง อย่าเยอะ..ถ้าเยอะเดี๋ยวไฟดับอีก ถ้าภาษาหมอก็คือน้ำย่อยเจือจาง คือธาตุไฟโดนดับเสียแล้ว ถ้าอยากอาบน้ำใจจะขาด ก็อั้นเอาไว้สักชั่วโมง แล้วค่อยไปอาบ หรือไม่ก็อาบก่อนกิน

ถาม
: คนโบราณเขาฉลาด ?
ตอบ: เขารู้มากกว่าเรา สมัยใหม่หมอเขาไม่ค่อยเชื่อโบราณ หมอก็บอกแต่ว่าอาหารเป็นพิษ ความจริงคือความไม่สมดุลของธาตุในร่างกาย พอธาตุ ๔ ไม่สมดุลเมื่อไร ร่างกายจะเริ่มป่วย

ของเราไฟกำลังลุก ก็เอาน้ำไปราด ข้าวคำหนึ่งน้ำอึกหนึ่ง ลงไปอีกเรียบร้อย..ไฟดับ ดับแค่นั้นยังกลัวจะดับไม่สนิท กินอิ่มเสร็จอาบน้ำซ้ำเข้าไปอีก ตอนอาบน้ำซ้ำนี่สาหัสที่สุดเลย เพราะว่าเลือดที่หล่อเลี้ยงอยู่ในกระเพาะ จะต้องวิ่งออกมาเพื่อต่อต้านความเย็นทางผิวหนัง จึงไม่เหลืออยู่ที่กระเพาะเลย ทีนี้กินอะไรลงไปก็อยู่อย่างนั้นล้วน ๆ ในเมื่ออาหารไม่ย่อยเราก็แย่

สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๕


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:52


ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว