กระดานสนทนาวัดท่าขนุน

กระดานสนทนาวัดท่าขนุน (https://www.watthakhanun.com/webboard/index.php)
-   กระทู้ธรรม (https://www.watthakhanun.com/webboard/forumdisplay.php?f=2)
-   -   "มิลินทปัญหา" ที่น่าอ่าน (https://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=63)

เถรี 20-01-2009 22:05

"มิลินทปัญหา" ที่น่าอ่าน
 
ไม่รู้ว่าท่านใดในที่นี้เคยได้อ่านมิลินทปัญหามาบ้างคะ คาดว่า คงได้ผ่านหูผ่านตากันมาบ้างแล้ว
เถรีก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ชอบอ่านหนังสือเล่มนี้เหมือนกัน เรียกได้ว่า ชอบมาก ๆ :6f428754: ยิ่งอ่าน ยิ่งมัน สนุกตั้งแต่เริ่มเรื่องยันท้ายเรื่อง ท้าทายยิ่งกว่านิทานเวตาล มหัศจรรย์ใจยิ่งกว่าแฮร์รี่พอตเตอร์เสียอีก

เถรีชื่นชอบสไตล์ลีลาการซักถามของพระเจ้ามิลินท์ที่ช่างสรรหาคำถามมาถาม (ประมาณว่า คิดได้อย่างไรนี่ ยิ่งกว่าปัญหาโลกแตกอีก เป็นเราไม่กล้าถามหรอก ) และชื่นชอบสไตล์การตอบของพระนาคเสน ที่อุปมาคำตอบให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป (มีอะไรบนโลกนี้บ้างหรือไม่ที่พระคุณเจ้ายกเอามาตอบไม่ได้ ) เป็นการซักถามที่ยิ่งใหญ่ และไม่มีใครเสมอเหมือน แถมยังได้ความรู้เรื่องราวในพระไตรปิฎกอีกมากมาย สุดจะพรรณนาได้

ที่มาโพสต์นี่ก็จะมายวนยั่วให้ไปหาอ่านแหละค่ะ สำหรับกรณีคนที่ยังไม่เคยได้ลิ้มลองอ่านนะคะ แล้วจะพบกับ "ความรื่นเริงในธรรม" จากหนังสือเล่มนี้ :96f0b971:


ปล. ฉบับที่เถรีอ่านเป็น มิลินทปัญหา ที่ธัมมวิโมกข์รวบรวมนะคะ ไม่รู้ว่าฉบับอื่นจะมีเนื้อหาสาระปลีกย่อยที่แตกต่างไปจากนี้หรือเปล่า

เถรี 20-01-2009 22:16

ยกตัวอย่างตอนหนึ่งที่เถรีชอบใจ เป็นตอนที่พระเจ้ามิลินท์ปราศรัยกับพระนาคเสนเป็นครั้งแรก

ลำดับนั้น พระองค์จึงตรัสถามปัญหาข้อแรกต่อพระนาคเสนขึ้นว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมประสงค์จะสนทนาด้วย"
พระนาคเสนถวายพระพรตอบว่า "เชิญสนทนาเถิด มหาบพิตร อาตมภาพใคร่จะฟัง"
"โยมสนทนาแล้ว ขอผู้เป็นเจ้าจงฟังเถิด"
"อาตมภาพฟังอยู่แล้ว มหาบพิตรเชิญเจรจาเถิด"
"พระผู้เป็นเจ้าได้ฟังว่าอย่างไร ?"
"ก็มหาบพิตรเจรจาว่าอย่างไร ?"
"โยมจะถามพระผู้เป็นเจ้า"
"จงถามเถิด มหาบพิตร"
"โยมถามแล้ว"
"อาตมาก็แก้แล้ว"
"พระผู้เป็นเจ้าแก้ว่าอย่างไร ?"
"ก็มหาบพิตรถามว่าอย่างไร ?"
เมื่อพระเถระตอบอย่างนี้แล้ว พวกโยนกเสนาทั้ง ๕๐๐ ก็เปล่งเสียงสาธุการถวายพระนาคเสน


อันนี้เป็นตอนสตาร์ทเริ่มต้นการสนทนากันนะคะ ลีลาไม่แพ้กันทั้งคู่ ส่วนหลัง ๆ ไม่ต้องพูดถึงค่ะ สนุกอย่าบอกใคร หาอ่านกันเอาเอง :55318906:

ป้านุช 07-04-2009 23:02

โธ่เอ๋ย น้องเรา มาแกล้งยั่วแล้วก็หนีไปนะ เรื่องนี้พี่นุชมีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง สนุกมากจริง ๆ ค่ะ
ได้ทั้งความรู้ ได้ทั้งธรรม น่าจะเลือกตอนที่สนุก ๆ มาโพสต์ให้ทุกท่านที่ไม่มีหนังสือได้อ่านกันนะคะ
แต่หนังสือเล่มนี้ ก็สนุกทุกตอนเลยค่ะ ข้อความที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ คัดลอกจากหนังสือ มิลินทปัญหา เท่าที่อ่านมา
มีคำเฉพาะหลายคำที่ไม่แน่ใจว่าสะกดถูกต้องหรือไม่ ผิดพลาดประการใด ขออภัยล่วงหน้าค่ะ

พระเจ้ามิลินท์หรือพระเจ้าเมนันเดอร์ กษัตริย์เชื้อสายกรีกแห่งเมืองสาคละ ปกครองแคว้นแบกเตรีย (Bactria)
ปัจจุบันอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน
พระเจ้ามิลินท์ เป็นผู้มีปัญญา มีพระทัยใฝ่หาความรู้
และพอพระทัยในการสนทนาโต้เถียงปัญหากับปราชญ์ลัทธิต่าง ๆ ในยุคนั้น

พระนาคเสน เกิดที่กชังคลคาม ริมเขาหิมพานต์ ในตระกูลพราหมณ์
เรียนรู้ศิลปวิทยารวมทั้งคัมภีร์สำคัญ ๆ ของศาสนาพราหมณ์จนหมดสิ้น
เมื่อพบกับพระโรหณะ ภิกษุในพระพุทธศาสนา จึงได้ซักถามสนทนาเรื่องราวต่าง ๆ
จนเกิดความเลื่อมใสขอบวชเป็นสามเณร ครั้นอายุ ๒๐ ปีจึงบวชเป็นภิกษุ
ผู้ซึ่งชาวบ้านโจษจันทั่วไปว่า รอบรู้ในพระธรรมวินัยและมีปัญญาอันเฉียบคม

ในอดีตชาติ เมื่อครั้งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์ชีพ พระเจ้ามิลินท์บวชเป็นสามเณร ในสำนักของพระภิกษุ ซึ่งในชาตินี้ได้แก่ พระนาคเสน
วันหนึ่งพระภิกษุเรียกให้สามเณรมาขนหยากไย่ที่ตนกวาดรวมไว้ สามเณรแกล้งไม่ได้ยิน พระภิกษุจึงหยิบไม้กวาดตีสามเณร สามเณรจึงตั้งจิตอธิษฐานว่า
ด้วยบุญของการขนหยากไย่นี้ ชาติต่อไป ขอให้ตนมีปัญญาเฉียบแหลมกว่าคนทั้งปวง ฝ่ายภิกษุล่วงรู้ความปรารถนาของสามเณร จึงตั้งอธิษฐานว่า
ด้วยบุญกุศลของการกวาดหยากไย่นี้ ขอให้ชาติต่อไป มีปฏิภาณว่องไว สามารถโต้ตอบปัญหาแม้ของสามเณรนี้ได้

แม้ความสืบเนื่องจากอดีตชาติ จะทำให้พระเจ้ามิลินท์หวั่นพระราชหฤทัย แต่ด้วยประสงค์จะไต่ถามข้อธรรม จึงเสด็จไปยังที่อยู่ของพระนาคเสน พร้อมด้วยปวงอำมาตย์และฝูงชน....

ป้านุช 07-04-2009 23:05

เรามาดู(อ่าน) พระเจ้ามิลินท์ ( ม )และ พระนาคเสน (น ) สนทนาธรรมกัน

สังสารวัฏและการเวียนว่ายตายเกิด

ม.ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สังสารวัฏได้แก่อะไร
น.ขอถวายพระพร ได้แก่การเวียนเกิดเวียนตาย

ม.พระคุณเจ้าจงหาตัวอย่างมาเปรียบ
น.เหมือนชาวสวนปลูกมะม่วงไว้ ครั้นมะม่วงออกผลก็เก็บมารับประทาน เสร็จแล้วก็เอาเมล็ดนั้นเพาะปลูกใหม่ ถึงคราวเกิดผล ก็นำมารับประทาน
แล้วปลูกใหม่ต่อ ๆ ไปอีก สังสารวัฏก็มีอาการหมุนเวียนเช่นนั้น คือนับแต่เราเกิดมาเป็นนามรูป เราก็ตั้งต้นเพาะความดีความชั่ว เป็นตัวบุญ ตัวบาปขึ้นเป็นเหตุ
แล้วเราก็ต้องรับผลของความดีความชั่วนั้น ซึ่งจะช้าหรือเร็วขึ้นกับอำนาจบาปบุญ
ทั้งนี้ ผลที่เราได้รับอาจจูงใจให้เราเพาะเหตุต่อไปอีก เหมือนคนรับประทานผลมะม่วง แล้วก็นำเมล็ดไปเพาะเป็นต้น หมุนเวียนต่อไปไม่รู้จบสิ้น


ม.อะไรเป็นเหตุให้นามรูปต้องเกิดต่อไปอีกนาน
น.เหตุที่ทำให้นามรูปเกิดต่อไปอีกนานก็คือ ความไม่รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ ๔ กล่าวคือ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อะไรเป็นความดับทุกข์
อะไรเป็นทางให้ถึงความดับทุกข์ แม้จะรู้สิ่งเหล่านี้โดย พิจารณาเห็นในชั่วขณะหนึ่ง ๆ ก็ยังเรียกว่าไม่รู้จริง เพราะความรู้นั้นมิได้ประจำจิตอยู่ตลอดเวลา


เมื่อไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔ คนสัตว์ทั้งหลายจึงทำบุญและบาป เป็นเหตุให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งเปรียบเหมือนรากแก้วของต้นไม้ ทำให้เกิดนามรูป
ซึ่งแตกกิ่งก้านเป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำหน้าที่เป็นประตูเปิดรับอารมณ์ ๖

นอกจากนี้ เมื่อไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ก็ให้ยึดสิ่งต่างๆเอาว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา เมื่อประสบสิ่งชอบใจ รู้สึกยินดี ก็เกิดความติดใจ เมื่อประสบสิ่งแสลงใจ รู้สึกทุกข์
ก็เกิดความปรารถนาจะหลีกหนีไปให้พ้น จึงเป็นเหตุให้เกิดการดิ้นรนแสวงหา รวมทั้งยึดถือในอุบายที่จะช่วยให้ตนสมประสงค์ในการได้มาหรือหลีกหนีไป
ก่อเป็นกุศลและอกุศลหนุนเนื่องให้เกิดเป็นนามรูปต่อไปอีก

ขอถวายพระพร ตราบเท่าที่ยังไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ตราบนั้นนามรูปก็ยังคงปรากฏมีอยู่เช่นนี้ โดยการเกิดดับ ๆ ของนามรูปที่ล่วง ๆ มาแล้วนั้น นานจนเบื้องต้นไม่ปรากฏ


ม.ความยาวนานของการเวียนเกิดเวียนตายเท่ากันหมด ในหมู่คนและสัตว์ทั้งหลายหรือ
น.บางพวกก็นาน บางพวกก็ไม่นาน

ม.พวกไหนนาน พวกไหนไม่นาน
น.ผู้มีกิเลสคือเครื่องทำให้ใจหมองอยู่ ก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีกนาน ส่วนท่านที่บั่นทอนกิเลสซึ่งเป็นเหตุทำให้ยืดยาวนั้นลงได้บ้าง
ก็ย่นเวลาเกิดเวลาตายข้างหน้าให้สั้นเข้าได้


ม.ช่างลึกล้ำจริง

ป้านุช 07-04-2009 23:08

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน นามรูปเดิมนี้หรือจักกลับมาเกิดอีก
พระนาคเสนทูลตอบว่า มิใช่นามรูปนี้ หากเป็นนามรูปอีกอันหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเพราะบุญบาป กุศล อกุศลที่นามรูปนี้ได้กระทำไว้

ม.ถ้ามิใช่นามรูปนี้ไปเกิดแล้ว ก็เป็นอันว่าหนีบาปกรรมที่ทำไว้ในชาตินี้พ้นสิพระคุณเจ้า
น.ถ้าไม่บังเกิดต่อไปอีก ก็เป็นอันหนีพ้น แต่ถ้ายังต้องมาเกิดอีก ก็หนีไม่พ้น

ม.พระคุณเจ้าจงเปรียบให้ฟัง
น.เหมือนคนก่อไฟผิงในฤดูหนาว แล้วลืมดับไฟ ไฟนั้นก็ลุกลามไปไหม้ไร่นาของผู้อื่น
เมื่อคดีถึงโรงศาล จำเลยแก้ตัวว่า ไฟที่เขาก่อขึ้นเป็นคนละกองกับที่ลามไปไหม้ไร่นาของโจทก์
ขอถวายพระพร เมื่อจำเลยแก้ตัวต่อศาลเช่นนี้ ศาลจะระงับไม่ลงโทษจำเลยหรือไม่


ม.จะให้งดได้อย่างไรเล่า เพราะไฟที่จำเลยก่อไว้นั้นเป็นต้นไฟ ตนเลินเล่อปล่อยไว้จึงลุกลามต่อไป ศาลจึงควรตัดสินลงโทษจำเลยได้
น.ฉันใดก็ฉันนั้น แม้นามรูปนี้จะแปรไปเป็นนามรูปอื่น บาปกรรมก็ตามลงโทษนามรูปหน้าเช่นกัน
ทั้งนี้ เพราะนามรูปนี้กระทำบาปบุญซึ่งเป็นเหตุให้มีนามรูปอื่นขึ้นแทน นามรูปอื่นจึงหนีบาปกรรมไม่พ้น


ม.นามรูปนี้ และนามรูปอื่น เชื่อมโยงกันได้อย่างไร พระคุณเจ้าจงหาตัวอย่างมาเปรียบเทียบ
น.เหมือนเมล็ดต้นไม้ แรกปลูกไม่มีดอก ต่อมามีลำต้น เกิดมีใบ มีดอก ในที่สุดใบดอกก็ร่วงหล่นไป
เกิดใบดอกใหม่ขึ้นแทน นามรูปก็เช่นเดียวกับใบไม้ดอกไม้ เดิมไม่ปรากฏ แต่เพราะมีบุญบาป ซึ่งตนกระทำไว้ก่อนเป็นเหตุอยู่
จึงทำให้เกิดลำต้น ซึ่งแตกใบผลิดอกออกมารุ่นแล้วรุ่นเล่า
ฉันใดก็ฉันนั้น นามรูปนี้และนามรูปอื่นก็เชื่อมต่อกันได้ผ่านลำต้น คือบุญบาป ฉะนี้

ป้านุช 07-04-2009 23:09

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ที่ตายไปแล้วกลับไปเกิดอีก เขาจะยังคงเป็นผู้นั้น หรือว่าจะเปลี่ยนไปเป็นอีกคนหนึ่ง
น.จะว่าเป็นผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นอีกคนก็ไม่ใช่

ม.ขอพระคุณเจ้าจงเปรียบให้ฟัง
น.โคมไฟที่จุดแต่หัวค่ำแล้วตามไว้จนถึงรุ่งเช้า เปลวไฟในยามที่ ๑ กับในยามที่ ๒ เป็นอันเดียวกันหรือมิใช่

ม.ไม่ใช่
น.หรือเปลวไฟในยามทั้งสองเป็นเปลวไฟคนละชนิด

ม.หามิได้
น.ความสืบเนื่องแห่งรูปธรรมนามธรรมก็ฉันนั้น อันหนึ่งดับ อีกอันหนึ่งก็เกิดขึ้นแทน สืบเนื่องกันเรื่อยไป
เพราะฉะนั้นผู้ที่ตายแล้วกลับไปเกิดอีก จะว่าเป็นผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นอีกคนหนึ่งก็ไม่ใช่


ม.พระคุณเจ้าเปรียบได้น่าฟัง

ป้านุช 07-04-2009 23:12

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน บุญบาปอันเป็นเหตุให้นามรูปเกิด ซึ่งกำลังเกิดขึ้นขณะนี้มีหรือไม่
พระนาคเสนทูลตอบว่า มี กล่าวคือ เมื่อตาได้เห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส
กายได้แตะต้อง ใจได้รับอารมณ์ ย่อมเกิดความรู้(วิญญาณ)ขึ้น
ถ้าเป็นอารมณ์ที่ดี ก็รู้สึกชอบ พอใจ พยายามดิ้นรนหาต่อไป
ถ้าเป็นอารมณ์ไม่ดี ก็ไม่ถูกใจ ไม่พอใจ พยายามดิ้นรนหนี
เมื่อต้องดิ้นรนอยู่ ก็จำต้องยึดถือวิธีการหนึ่งใด ซึ่งตนเห็นว่า จะช่วยให้การดิ้นหาหรือดิ้นหนีนั้นสมประสงค์
เป็นเหตุให้การกระทำ คำพูด ความคิดดีบ้างชั่วบ้าง เกิดเป็นบุญบาป กุศลอกุศลขึ้นในทันที
ขอถวายพระพร เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงว่าบุญบาปซึ่งเกิดอยู่ในขณะนี้มี

ม.พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน บุญก็ตาม บาปก็ตาม เมื่อยังไม่ให้ผล ไปรออยู่ที่ไหน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ก็ติดตามผู้ทำไปดุจเงาตามตัว ถ้าได้โอกาสเมื่อใด ก็ให้ผลเมื่อนั้น

ม.พระคุณเจ้าสามารถชี้ได้หรือไม่ว่า อยู่ที่นั่น อยู่ที่นี่
น.อาตมภาพไม่สามารถจะชี้ถวายได้ เหมือนต้นไม้ยังไม่ออกผล พระองค์จะสามารถชี้ได้หรือไม่ว่า ผลอยู่ที่นั่น ที่นี่

ม.ชี้ไม่ได้
น.ขอถวายพระพร บุญบาปก็เช่นเดียวกับผลไม้นั้น คือเมื่อกำลังติดตามไป ก็รู้ไม่ได้ว่า เวลานี้อยู่ที่ไหน
ม.เข้าใจล่ะ

ป้านุช 07-04-2009 23:15

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สัตว์ทุกจำพวก ต่อเมื่อถึงวาระจึงตาย หรือว่าไม่ถึงวาระก็ตายเหมือนกัน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ย่อมมีทั้ง ๒ ประการ อุปมาดังผลไม้ซึ่งหล่นจากต้น ย่อมมีทั้งสุกและดิบ
ผลที่สุกแล้วไม่มีปัญหา แต่ผลที่ยังดิบอยู่เป็นเพราะเหตุใดจึงหล่น


ม.เป็นเพราะถูกหนอนไชบ้าง นกจิกกินเล่นบ้าง ถูกลมแรงพัดหล่นบ้าง
น.ขอถวายพระพร ผลไม้ที่สุกหล่น ก็เหมือนคนที่ตายโดยถึงอายุขัย ส่วนผลไม้ดิบที่หล่นเปรียบเหมือนคนที่ตายโดยยังไม่ถึงวาระ

ม.แต่ข้าพเจ้าเห็นว่า จะตายเมื่อใด หรือเพราะประการใด ก็เรียกว่าตายโดยวาระทั้งนั้น
น.หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเหตุแห่งความตายอาจจำแนกได้ป็น ๘ ประการคือ

๑.โรคมีที่มาจากลม
๒.โรคมีที่มาจากช่องท้อง
๓.โรคมีที่มาจากเสมหะ
๔.โรคมีที่มาจากประสาท
๕.ความเปลี่ยนแปลงของฤดู
๖.บริหารอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ
๗.ความเพียรของผู้อื่น
๘.ผลของบุพกรรม เว้นแต่ผลของบุพกรรม ความตายด้วยเหตุอื่น ๆ ถือเป็นการตายที่ยังไม่ถึงวาระ


ม.แต่ความตายจากเหตุอื่นทั้ง ๗ ก็อาจถือเป็นผลจากบุพกรรมได้มิใช่หรือ ดังนั้น จะตายอย่างไร ก็ถือเป็นการตายตามวาระทั้งนั้น
น.อาตมภาพขอยกตัวอย่างมาเปรียบถวาย ไฟที่ดับเพราะสิ้นเชื้อ ถือเป็นการดับไปตามวาระใช่หรือไม่

ม.ใช่
น.ถ้าไฟยังลุกโชนอยู่ แต่เผอิญมีฝนตกลงมาจนไฟดับ จะถือว่าไฟดับตามวาระได้หรือไม่

ม.ไม่ได้เพราะไฟยังมีเชื้ออยู่ จึงควรลุกต่อไปได้ตามปกติ แต่เหตุที่ดับเพราะมีฝนตกรดลงมา
น.ขอถวายพระพร ผู้ที่ตายด้วยเหตุ ๗ ประการเบื้องต้น ก็เช่นเดียวกับไฟที่ดับลงทั้งๆที่ยังมีเชื้ออยู่
เพราะหากไม่มีเหตุมาตัดรอน ชีวิตก็ย่อมยืนยาวต่อไปจนถึงอายุขัย ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่าผู้ที่ตายด้วยเหตุหนึ่งใน ๗ อย่างข้างต้น
มิได้ตายตามวาระ ส่วนผู้ที่ตายเพราะเหตุแห่งอายุขัย ดังไฟสิ้นเชื้อ ถือเป็นการตายตามวาระ


ม.พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว

ป้านุช 07-04-2009 23:17

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สัตว์เมื่อจะเข้าถือปฏิสนธิในครรภ์มารดา เข้าทางไหน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร หาเป็นเช่นที่พระองค์ตรัสถามไม่

ม.ถ้าเช่นนั้น พระคุณเจ้าจงยกตัวอย่างมาเปรียบเทียบ
น.ขอพระองค์จงส่งพระหฤทัยเข้าไปนึกถึงแก้วแหวนเงินทองในหีบนั่น

ม.ส่งเข้าไปแล้ว
น.ขอถวายพระพร พระองค์ทรงส่งพระหฤทัยเข้าไปทางไหน

ม.หามีช่องทางให้ส่งจิตเข้าไปไม่ แต่ที่ส่งจิตเข้าไปจนเห็นแก้วแหวนเงินทองในหีบนั้นได้ ก็เพราะจิตหมายรู้ ตามที่ได้ประจักษ์มาก่อนแล้ว
น.ฉันใดก็ฉันนั้น สัตว์และบุคคล เมื่อจะเกิดในท้องมารดา ก็มีแต่จิต ที่เรียกว่าปฏิสนธิจิต หรือปฏิสนธิวิญญาณ
ที่พร้อมจะเข้าไปปฏิสนธิ ในขณะที่เข้าไปในครรภ์มารดานั้น ก็เข้าไปในอาการที่พระองค์ทรงส่งพระหฤทัยเข้าไปในหีบนั่น
หาได้มีช่องทางหนึ่งใด สำหรับให้จิตเข้าไปถือปฏิสนธิไม่


ม.เข้าใจล่ะ

ป้านุช 07-04-2009 23:19

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน บุญกับบาป สิ่งไหนจะดูดดื่มกว่ากัน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร บุญดูดดื่มมากกว่า

ม.ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
น.ขอถวายพระพร บาปย่อมมีผลเป็นทุกข์ ผู้กระทำบาปจึงถูกความทุกข์เผาผลาญ ให้ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอ ใจย่อมระอาต่อการกระทำบาปนั้นต่อไป
ส่วนบุญย่อมมีผลเป็นความสุขกายเย็นใจ จึงเป็นเหตุชวนให้ผู้ที่ได้รับผลพยายามสั่งสมต่อไป เพราะบุญมีผลเป็นที่จับใจของผู้กระทำเช่นนี้ จึงดูดดื่มกว่า


ม.บุญกับบาป สิ่งไหนจะมีกำลังมากกว่า
น.บุญมีกำลังมากกว่า

ม.เกรงจะมิใช่เช่นนั้นสิพระคุณเจ้า เพราะตามที่ได้ยินมา คนทำบาป ย่อมได้รับผลเผ็ดร้อนต่างๆ และโดยมากได้รับผลในปัจจุบัน ไม่ค่อยได้ยินว่าคนทำบุญได้รับผลทันตา
น.ตัวอย่างผู้ทำบุญที่ได้รับผลทันทีมีอยู่ แต่จะขอทูลชี้แจงว่า เหตุที่บุญมีผลมากกว่า จึงให้ผลช้า ส่วนบาปมีผลน้อยกว่าเบากว่า จึงให้ผลเร็ว อุปมาดังข้าวหนักปลูกแล้วให้ผลช้า
แต่ให้ผลมาก ส่วนข้าวเบาให้ผลเร็ว แต่ให้ผลน้อย


ม.ข้าพเจ้ายังคงเห็นแย้งด้วยตัวอย่างทางโลกมีอยู่มากมาย ที่คนทำผิดกฎหมายย่อมถูกลงโทษโดยเร็ว
น.แม้โทษนั้นจะเป็นผลของบาปก็จริงอยู่ แต่ตัวอย่างที่ยกมา ไม่สามารถจะแสดงได้ว่า บาปมีกำลังมากกว่าบุญ เพราะกฎหมายส่วนมากมิได้ระบุผลที่คนทำบุญจะพึงได้รับ
ฉะนั้น ในทางกฎหมาย จึงไม่มีตัวอย่างของคนทำบุญจะพึงได้รับผลทันทีเหมือนคนทำบาป ขอถวายพระพร ถ้าพูดถึงผลข้างหน้าแล้ว บุญให้ผลแรงกว่าบาป
ดังตัวอย่างของพระองคุลีมาล ซึ่งแม้ท่านจะเคยฆ่าคนนับร้อย ครั้นบรรลุพระอรหัตตผลบาปก็ตามท่านไม่ทัน


ม.เข้าใจล่ะ

ป้านุช 07-04-2009 23:29

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน การทำบุญให้ทาน แล้วแผ่ส่วนบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติมิตรที่ตายไปแล้วนั้น
ญาติมิตรจะได้รับผลแห่งบุญกุศลนั้นทุกคนหรือไม่

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ไม่ทุกคน ได้รับเฉพาะญาติมิตร ที่ไปเกิดเป็นเปรตบางจำพวกเท่านั้น

ม.ถ้าญาติมิตรมิได้รับ ผลแห่งบุญนั้นจะมิสูญหรือ
น.ไม่สูญ

ม.ถ้าไม่สูญใครจะได้รับ
น.ก็ผู้อุทิศส่วนบุญกุศลนั้นย่อมได้รับ อุปมาดังเจ้าของบ้าน เตรียมอาหารไว้ให้แขก ถ้าแขกไม่บริโภค อาหารนั้นจะพึงเป็นของใคร

ม.ก็เป็นของเจ้าบ้านสิพระคุณเจ้า
น.ฉันใดก็ฉันนั้น แม้ญาติมิตรที่ตาย จะไม่ได้อยู่ในสภาพที่จะรับส่วนบุญ ผู้ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ก็ย่อมได้รับผลบุญนั้น
การแผ่ส่วนบุญอุทิศส่วนกุศล จึงเป็นการเพิ่มพูนบุญกุศลของผู้อุทิศอีกส่วนหนึ่งด้วย เพราะบุญกุศลที่อุทิศนั้น ไม่มีวันหายสูญ


ม.บุญกุศลอุทิศให้กันได้ ถ้าอย่างนั้น บาปจะอุทิศให้กันได้หรือไม่
น.ไม่ได้ เพราะบาปมีผลบีบคั้นหัวใจ ทำให้ใจหดหู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ บาปก็มีวงอันแคบ มีผลอันจำกัด แบ่งให้ผู้อื่นทั่วๆไปไม่ได้ ผู้ใดทำ ก็ได้เฉพาะแต่ผู้นั้น

ม.พระคุณเจ้าจงยกตัวอย่างมาให้ฟัง
น.หยดน้ำอันน้อย หยดลงที่พื้นดิน ขอถวายพระพร หยดน้ำนั้นจะทำให้พื้นดินซึมซาบได้ทั่วหรือไม่

ม.ย่อมไม่ได้ หยดที่ไหน ก็ซึมซาบเฉพาะที่นั่น เพราะหยดน้ำนั้นมีน้ำอยู่น้อย
น.ฉันใดก็ฉันนั้น บาปมีลักษณะไม่ซึมซาบ เหมือนหยาดน้ำอันน้อย จึงอุทิศให้ผู้อื่นไม่ได้
ส่วนบุญมีลักษณะเหมือนน้ำฝน คือมีผลเอิบอาบซาบซึม หล่อเลี้ยงใจให้ชุ่มชื่นอยู่ทุกเวลา จึงอุทิศให้กันได้


ม.เพราะเหตุใด บาปกับบุญจึงต่างกันเช่นนี้
น.เพราะบาปมีผลเป็นความทุกข์ระทมใจ ไม่ชวนให้กระทำต่อไปอีก ทำให้มีผลอันจำกัดขยายตัวออกได้น้อย
ส่วนบุญมีผลเป็นความสุขเย็น ผู้กระทำเกิดความเอิบอิ่มใจอยู่ทุกขณะจิต คือขณะจะทำใจก็สบาย ขณะทำอยู่ ใจก็เพลิดเพลิน
เมื่อได้ทำแล้ว ใจก็เบิกบาน ทุกขณะที่นึกถึงบุญที่ได้ทำ ความปราโมทย์ก็บังเกิดขึ้น บุญจึงมีผลที่ขยายออกได้เสมอ
ขอถวายพระพร เนื่องด้วยมีเหตุมีผลเช่นนี้ บุญกับบาปจึงอุทิศได้หรือไม่ได้ ต่างกัน


ม.พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว

ป้านุช 08-04-2009 15:58

อ้างอิง:

ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เด็กท้ายแถว (โพสต์ 3699)
แก้ไขเรื่องการใช้ "ไม้ยมก" ด้วยค่ะ

พี่นุชพิมพ์ "ม ม้า" ของคำว่า "สามเณร" ตกหล่นไปค่ะ

หยากไย่ น. ใยแมงมุมที่ติดค้างอยู่ในที่ต่าง ๆ .

ขอบคุณน้องแถวมากค่ะ ลอกตามหนังสือมาค่ะ:4672615:

ชื่อหนังสือ แนะนำมิลินทปัญหา : ปัญญาพระนาคเสน

ผู้เรียบเรียง วิชชุ เวชชาชีวะ ผู้จัดพิมพ์ ศิษย์วัดเวฬุวัน อ.ทองผาภูมิ กาญจนบุรี:4672615:

ตอนพิมพ์ก็สองจิตสองใจจะแก้ไขดีหรือไม่ ตอนนี้ตัดสินใจได้แล้วค่ะ ควรแก้ไขให้ถูกต้องดีที่สุดค่ะ:4672615:

ป้านุช 08-04-2009 16:52

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คนหนึ่งรู้ว่าอย่างไรเป็นบาป และบาปนั้นมีโทษอย่างไร อีกคนหนึ่งไม่รู้เลย ๒ คนนี้ทำบาป ใครจะบาปกว่ากัน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร คนไม่รู้บาปมากกว่า

ม.เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นเล่า ก็ในทางบ้านเมือง ผู้ที่ไม่รู้กฏหมายกระทำผิดบางอย่าง ย่อมได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษเบากว่าผู้รู้กฏหมาย
น.ขอถวายพระพร ก้อนเหล็กซึ่งเผาจนแดงโชน คนหนึ่งรู้ว่าเป็นเหล็กแดง อีกคนหนึ่งไม่รู้ สองคนนี้หยิบก้อนเหล็กแดงนั้น คนไหนจะหยิบได้เต็มมือและถูกความร้อนเผามือมากกว่ากัน

ม.คนรู้จะหยิบได้สนิทหรือ คนไม่รู้ต่างหากควรจะหยิบเต็มมือ จึงควรถูกความร้อนเผามากกว่าคนที่รู้
น.ฉันใดก็ฉันนั้น ผู้ที่มีความรู้เหตุรู้ผลแห่งบาปกรรมประจำใจ ในขณะที่ทำบาปย่อมเกิดความละอาย ความกลัว จึงทำบาปได้ไม่เต็มที่
ส่วนผู้ที่ไม่รู้จักบาป ย่อมไม่มีความตะขิดตะขวงใจ ในการประกอบอกุศล จึงกระทำบาปได้เต็มที่กว่า และย่อมได้รับผลแรงกว่าคนที่รู้


ม.พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว

ป้านุช 08-04-2009 16:54

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คำที่พระคุณเจ้าว่า คนไม่รู้จักบาป ทำบาป บาปมากนั้น จะมิแย้งกับพุทธบัญญัติที่ว่า อาบัติย่อมไม่มีแก่พระภิกษุผู้ไม่รู้หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ไม่แย้ง คนไม่รู้จักบาป ทำบาป บาปมาก เพราะคนที่ไม่รู้จักบาปนั้น ย่อมไม่มีความละอายในการทำชั่ว และไม่กลัวผลของความชั่วนั้น ๆ
เมื่อกระทำความชั่วมาก ก็ต้องรับผลของความชั่วมาก ส่วนพระพุทธบัญญัตินั้น มีบางสิกขาบทซึ่งพระภิกษุผู้รู้บาปบุญคุณโทษละเมิดโดยไม่เจตนา เช่น กล่าวเท็จโดยสำคัญผิด ท่านก็ไม่ปรับอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น


ม.พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว

ป้านุช 08-04-2009 16:59

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คำที่พระพุทธเจ้าว่า ผู้ที่ทำบาปกรรมเรื่อยมา แม้ตั้ง ๑๐๐ ปี แต่ถ้าเวลาตายมีสติระลึกถึงคุณของพระพระพุทธเจ้าได้ ก็ย่อมไปสู่สุคติ
ส่วนผู้ที่ก่อนตายเผลอคิดถึงบาปที่ตนกระทำแม้เพียงครั้งเดียวในชีวิต ก็ย่อมไปเกิดในนรกนั้น ดูไม่สมเหตุสมผล ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ศิลาแม้ก้อนเล็กโดยลำพังจะลอยน้ำได้หรือไม่

ม.ไม่ได้
น.ถ้าศิลา ๑๐๐ เล่มเกวียนแต่อยู่ในเรือ ศิลานั้นจะลอยน้ำได้หรือไม่

ม.ย่อมได้สิ
น.ขอถวายพระพร เปรียบบุญกุศลเหมือนเรือ บาปกรรมเหมือนศิลา อันคนที่กระทำบาปอยู่เสมอมาตลอดชีวิต
เมื่อเวลาจะตาย มิได้ปล่อยจิตใจให้ตามระทมถึงบาปที่ตัวทำ แต่สามารถประคองใจไว้ในแนวแห่งกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น ทำใจให้แน่วแน่อยู่เฉพาะแต่ในคุณของพระพุทธเจ้า ถ้าตายลงในขณะจิตดวงนั้น ก็เป็นอันหวังสุคติได้
เปรียบเหมือนศิลาซึ่งมีเรือทานน้ำหนักไว้มิให้จม ส่วนผู้ที่กระทำบาปที่สุดแม้แต่ครั้งเดียว ถ้าเวลาใกล้จะดับจิต
เพียงแต่จิตหวนไปพัวพันถึงบาปกรรมนั้น จิตดวงนั้นก็หนักพอที่จะถ่วงตัวให้ไปเกิดในนรกได้ เหมือนศิลาที่โยนลงน้ำ แม้ก้อนเล็กก็ต้องจมลงเช่นเดียวกัน


ม.ฟังสมเหตุสมผล

สายท่าขนุน 08-04-2009 20:42

ชอบมาก มีน้ำใจจริง ขอบคุณและโมทนา:8f337f1c:



อ้างอิง:

ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เด็กท้ายแถว (โพสต์ 3713)
:cebollita_onion-21: :msn_smilies-20:..:1894c7a1: แหะ แหะ...น้องแถวยังต้องฝึกฝนอีกนานเลยค่ะ กว่าจะลอกเลียนแบบความสามารถของท่านพี่ Suthamma ที่ทำอยู่เป็นประจำได้ค่ะ :l438412717dh8:..:a471739513as2:

อื้อฮือ สำหรับน้องเราคนนี้ ต้องโมทนากำลังใจ:msn_smileys-15: สุดยอด ต้องพยายามบ้าง:d33561e9:
หมายเหตุ : อื้อฮือ อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจเป็นต้น.

ป้านุช 09-04-2009 23:24

เริ่มแรกก็คิดว่าจะเลือก เฉพาะตอนที่น่าสนใจนำมาให้อ่านกัน แต่พออ่านจากหนังสือแล้วก็คิดว่าน่าจะนำมาโพสต์ให้ได้อ่านกันแบบเต็มเล่มน่าจะดี

จึงขอเริ่มตั้งแต่พระเจ้ามิลินท์เสด็จไปยังที่อยู่ของพระนาคเสน พร้อมด้วยปวงอำมาตย์และฝูงชน


เปิดประเด็นสนทนา:ปัญหาพระนาคเสน

เมื่อพระเจ้ามิลินท์เสด็จไปถึง ทรงปราศรัยกับพระนาคเสนแล้ว จึงมีพระราชดำรัสว่า ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะสนทนากับพระคุณเจ้า
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ขอพระองค์ทรงตรัสมาเถิด อาตมภาพก็ใคร่จะฟังอยู่

ม. ข้าพเจ้าพูดแล้ว พระคุณเจ้าฟังเอาเถิด
น. อาตมภาพฟังแล้ว พระองค์ตรัสมาเถิด

ม. พระคุณเจ้าฟังได้ยินว่ากระไร
น. พระองค์ตรัสมาว่ากระไร

ม. ก็ข้าพเจ้าได้ถามพระคุณเจ้าแล้ว
น. อาตมภาพก็ได้ถวายวิสัชนาแล้ว

ม. พระคุณเจ้าวิสัชนามาว่ากระไร
น. พระองค์ตรัสถามว่ากระไร

เมื่อได้ฟังทั้งสองฝ่ายชิงไหวชิงพริบกันเช่นนั้น ประชาชนได้แซ่ซ้องสาธุการ พร้อมกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงตรัสถามปัญหาในทันทีนี้เถิด

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสถามว่า ดูก่อนพระคุณเจ้า ธรรมดาผู้จะสนทนากันควรรู้จักชื่อสกุลกันก่อน เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าขอทราบว่าพระคุณเจ้า ชื่ออะไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า อันชื่อของข้าพเจ้านั้น เพื่อนบรรพชิต เรียกว่านาคเสน แต่โยมทั้ง ๒ เรียกนาคเสนบ้าง วีรเสนบ้าง สุรเสนบ้าง สีหเสนบ้าง
ขอถวายพระพร อันชื่อเหล่านี้เป็นคำที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกกันเท่านั้น ตัวบุคคลอันพึงจะค้นได้ในชื่อหามีไม่


ทันใดนั้น พระเจ้ามิลินท์ได้ตรัสประกาศให้ประชาชนได้ยินทั่วกันว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นพยานจำคำพระนาคเสนไว้ ครั้นแล้วจึงหันมาตรัสกับพระนาคเสนต่อไปว่า
ดูก่อนพระคุณเจ้า ถ้าคนเราไม่มีตัวตนจริงอย่างพระคุณเจ้าว่า ใครเล่าถวายบาตรจีวรแก่พระคุณเจ้า ใครเป็นผู้ใช้สอยบาตรจีวรนั้น และหากใครฆ่าพระคุณเจ้าก็คงจะไม่บาป


ครั้นแล้ว พระเจ้ามิลินท์จึงได้ซักไซร้ไถ่ถามต่อไปว่า ที่พระคุณเจ้าแสดงชื่อว่านาคเสนนั้น อะไรเล่าเป็นนาคเสน
ผมหรือเป็นนาคเสน ซึ่งพระนาคเสนตอบว่า มิใช่ พระเจ้ามิลินท์จึงได้ตรัสถาม ไล่เลียงต่อไปถึง ขน เล็บ ฟัน หนังฯลฯ จนครบอวัยวะ ๓๒ แล้วไล่ต่อด้วยขันธ์ ๕ ตลอดจนสิ่งที่มิใช่ขันธ์ ๕
ซึ่งพระนาคเสนตอบปฏิเสธโดยตลอด


พระเจ้ามิลินท์ได้ที จึงตรัสเย้ยว่า ข้าพเจ้าถามไล่เลียงพระคุณเจ้าก็ไม่พบว่าอะไรเป็นนาคเสน พระคุณเจ้าคงพูดเหลวไหลเสียแล้ว

ก่อนที่พระนาคเสนจะถวายวิสัชนา ได้กล่าวปราศรัยว่า พระองค์เป็นกษัตริย์ เสด็จออกจากพระนครเวลาเที่ยง กรวดทรายตามทางกำลังร้อนจัด
ขอถวายพระพร พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาด้วยพระบาทหรือด้วยราชพาหนะ


พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า ข้าพเจ้ามาด้วยราชรถ

พระนาคเสนจึงทูลถามว่า ถ้าพระองค์เสด็จมาด้วยราชรถ ขอพระองค์ตรัสบอกแก่อาตมาว่า อะไรเป็นรถ งอนหรือเป็นรถ
ซึ่งพระเจ้ามิลินท์ตอบว่า มิใช่ พระนาคเสนจึงได้ถามไล่เลียงต่อไปถึงเพลา แอก และองค์ประกอบอย่างอื่น ตลอดจนสิ่งที่นอกเหนือจากองค์ประกอบเหล่านั้น
ซึ่งพระเจ้ามิลินท์ก็ตอบปฏิเสธโดยตลอด


พระนาคเสนจึงทูลว่า อาตมภาพทูลถามพระองค์ก็ไม่พบว่าอะไรเป็นรถ พระองค์ตรัสไม่สมกับพระดำรัสเบื้องต้น

ขณะนั้น ประชาชนต่างพากันแซ่ซ้องสาธุการถวายพระนาคเสน แล้วกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงตรัสแก้เสียบัดนี้เถิด

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า ดูก่อนพระนาคเสน คำว่ารถซึ่งข้าพเจ้าตอบพระคุณเจ้าในเบื้องแรกนั้น อาศัยทั้งงอนทั้งเพลา เป็นต้น รวมกันเข้า จึงมีชื่อเรียกเช่นนั้น
พระนาคเสนจึงทูลว่า ขอถวายพระพร พระองค์ตรัสถูกแล้ว หากแม้คำว่านาคเสนซึ่งเป็นชื่อของอาตมภาพก็เช่นกัน
อาศัยทั้งรูปและนามประชุมกันเข้า จึงมีชื่อเรียกเช่นนั้น แต่ว่าเมื่อพูดให้ถึงที่สุดหรือพูดโดยปรมัตถ์แล้ว ก็หามีตัวบุคคลให้พึงค้นในชื่อนั้นไม่


เมื่อพระนาคเสนได้แก้ปัญหาเช่นนี้แล้ว พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสชมเชยว่า น่าฟัง ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินได้ฟังดังนี้เลย พระคุณเจ้าวิสัชนาปัญหาได้ไพเราะจริง
หากว่าพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่ ก็คงจะประทานสาธุการเป็นแน่

ป้านุช 09-04-2009 23:30

จากนั้นพระเจ้ามิลินท์ได้ตรัสถามขึ้นใหม่ว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระคุณเจ้าบวชได้กี่ปีมาแล้ว
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร อาตมภาพบวชมาได้ ๗ ปีแล้ว

ม. อะไร เป็นจำนวน ๗ ปี ตัวพระคุณเจ้าหรือว่าการนับจำนวน

ขณะนั้น เงาของพระเจ้ามิลินท์ฉายอยู่ที่พื้นดินและในหม้อน้ำ

พระนาคเสนจึงทูลว่า นั่นเงาของพระองค์ปรากฏอยู่ที่พื้นดินและในหม้อน้ำ อาตมภาพขอทูลถามว่า พระองค์เป็นพระราชาหรือเงานั่นเป็นพระราชา

ม. ข้าพเจ้าสิเป็นพระราชา เงามิใช่พระราชา ด้วยว่าเงานั้นอาศัยข้าพเจ้าจึงปรากฏขึ้น
น. ขอถวายพระพร ฉันใดก็ฉันนั้น จำนวน ๗ ปีมีขึ้นก็เพราะนับแต่อาตมภาพบวชมาจนบัดนี้ วันคืนได้ล่วงไปเป็นจำนวนเท่านั้นปี

ม.พระคุณเจ้าช่างฉลาดจริงๆ

ป้านุช 10-04-2009 22:16

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระคุณเจ้าบวชด้วยประสงค์อะไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ประสงค์จะดับทุกข์และประสงค์จะให้เป็นประโยชน์สุขแก่คนทั่วไป

ม. ถ้าเช่นนั้น พระคุณเจ้าจะยอมสละเวลาพูดกับข้าพเจ้าได้หรือไม่
น. ถ้าพระองค์ตรัสอย่างบัณฑิต อาตมภาพก็จักพูดด้วยได้ ถ้าตรัสอย่างพระเจ้าแผ่นดิน อาตมภาพก็พูดด้วยไม่ได้

ม. บัณฑิตพูดกันอย่างไรเล่าพระคุณเจ้า
น. บัณฑิตเมื่อพูดกัน ย่อมผูกเป็นปัญหาถามกันบ้าง แก้ปัญหากันบ้าง พูดขู่กันบ้าง พูดแข่งกันบ้าง ยอมรับกันบ้าง แต่บัณฑิตย่อมไม่โกรธกันเพราะการโต้เถียงนั้น

ม. แล้วพระเจ้าแผ่นดินเล่า พูดอย่างไร
น. ขอถวายพระพร พระเจ้าแผ่นดินเมื่อทรงออกความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ผู้ใดทูลคัดค้าน ก็ลงพระราชอาญาแก่ผู้นั้น พระเจ้าแผ่นดินส่วนมากตรัสอย่างนี้

ม. เอาเถิด ข้าพเจ้าจักพูดอย่างบัณฑิต จะไม่พูดอย่างพระเจ้าแผ่นดิน ขอพระคุณเจ้าจงพูดตามสบายเหมือนพูดกับสามเณรหรือคนรักษาวัด อย่าได้มีความเกรงกลัวข้าพเจ้าเลย
น. ขอถวายพระพร เป็นพระมหากรุณายิ่ง

ม. ข้าพเจ้าขออนุญาตซักถามพระคุณเจ้าจะได้หรือไม่
น. ขอพระองค์ตรัสถามมาเถิด

ม. ข้าพเจ้าได้ถามพระคุณเจ้าแล้ว
น. อาตมภาพก็ได้ถวายวิสัชนาแล้ว

ม. พระคุณเจ้าวิสัชนามาว่าอย่างไร
น. พระองค์ตรัสถามมาว่าอย่างไร

ม.พระคุณเจ้านี่ช่างสามารถจริง

ป้านุช 10-04-2009 22:21

เมื่อได้โต้ตอบกันไปครู่ใหญ่ พระเจ้ามิลินท์ทรงพระราชดำริว่า พระภิกษุรูปนี้ปรีชายิ่ง หากเวลาหมดลงเสียแล้ว เราเองยังมีคำถามอยู่อีกมาก
หากสมควรเก็บไว้สนทนาในวันต่อไป จึงตรัสลาพระเถระเจ้า พร้อมสั่งให้อำมาตย์อาราธนาพระนาคเสนเข้าไปในพระราชวังในวันรุ่งขึ้น


เมื่อพระนาคเสนไปถึงพระราชวัง พระเจ้ามิลินท์ทรงประเคนอาหารเลี้ยงและพระราชทานผ้าไตร
จากนั้นได้ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน เราทั้งสองจะพูดเรื่องอะไรกันดี


พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร การพูดกันนี้ก็มีความประสงค์อยู่แต่เนื้อความ เพราะฉะนั้น ขอทรงตรัสแต่เนื้อความเถิด

ในวันนั้นและวันต่อ ๆ ไป พระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสนจึงกระทำการสนทนาในข้อธรรมต่าง ๆ ดังนี้

ป้านุช 10-04-2009 22:24

๑.นามรูป

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน “นามรูป” นั้น อะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป
พระนาคเสนทูลตอบว่า ธรรมชาติที่ละเอียดไม่มีตัว เช่น จิต (หรือวิญญาณ) เจตสิก (ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร) นี้เป็นนาม
ส่วนธรรมชาติที่หยาบกว่าและอาจรับทราบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นรูป


ม. เพราะเหตุไรนามอย่างเดียวหรือรูปอย่างเดียวจึงเกิดขึ้นไม่ได้
น. เพราะต่างอิงอาศัยซึ่งกันและกันจึงเกิดขึ้น

ม. พระคุณเจ้าจงหาตัวอย่างมาเปรียบเทียบ
น. ขอถวายพระพร เหมือนไก่ก่อนเกิดเป็นลูกไก่ ต้องเป็นตัวอ่อนมาก่อนหนึ่ง ต้องเป็นไข่มาก่อนหนึ่ง
ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปก็ฟักออกเป็นลูกไก่ไม่ได้ฉันใด “นามรูป” ก็ฉันนั้น คือต้องอิงอาศัยกันทั้งนามและรูปจึงจะเกิดขึ้นเป็น “นามรูป” ได้ (นามรูปปัญหา)


ม. ที่พระคุณเจ้าว่านี้ ชอบแล้ว

ป้านุช 11-04-2009 20:32

๒. กิจของนามรูป

ม. การได้เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้รับสัมผัส เหล่านี้เกิดแต่ใจอย่างเดียวหรือเกิดจากที่มาต่างกัน
น. มิได้เกิดแต่ใจอย่างเดียว ที่ได้เห็นรูปเพราะรูปกระทบตา ที่ได้ยินเสียงเพราะเสียงกระทบหู ที่ได้กลิ่นเพราะกลิ่นกระทบจมูก ที่ได้ลิ้มรสเพราะรสกระทบลิ้น
ที่ได้รับสัมผัสเพราะวัตถุภายนอกถูกต้องกาย ขอถวายพระพร เมื่อกิจเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว จึงมีรายงานไปยังใจให้กระทำกิจของตน
ได้แก่ การเทียบเคียงรายงานใหม่กับรายงานเก่า แล้วพิจารณาจัดการกับการรับรู้ที่เกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้ (ปัญจายตนกัมมนิพพัตตปัญหา)


ม. การรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เกิดขึ้นที่ใด การรับรู้ทางใจ ก็เกิดขึ้นที่นั้นหรือ
น. ขอถวายพระพร ย่อมเป็นเช่นนั้น

ม. อย่างไหนเกิดก่อน อย่างไหนเกิดหลัง
น. วิญญาณ ๕ (การรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ) เกิดก่อนมโนวิญญาณ (การรับรู้ทางใจ)

ม. วิญญาณ ๕ สั่งมโนวิญญาณไว้หรือว่าให้ตามไปเกิดด้วยกัน
น. หามิได้ หากมโนวิญญาณมีลักษณะเหมือนที่ลุ่ม

ม. มีลักษณะเหมือนที่ลุ่มเป็นอย่างไร
น. ขอถวายพระพร ฝนตกน้ำจะไหลไปทางไหน

ม. ที่ลุ่มอยู่ทางใด น้ำก็ไหลไปทางนั้น
น. ฝนตกครั้งที่สองอีก น้ำจะไหลไปทางไหน

ม. น้ำคราวก่อนไหลไปทางไหน คราวหลังก็ไหลไปทางนั้น
น. ขอถวายพระพร น้ำคราวก่อนสั่งน้ำคราวหลังไว้หรือว่าให้ไหลตามไป หรือว่าน้ำคราวหลังนัดน้ำคราวก่อนว่าจะไหลไปตาม

ม. หามิได้ การที่น้ำสองคราวไหลไปรวมกันเพราะทางนั้นเป็นที่ลุ่ม
น. ฉันใดก็ฉันนั้น วิญญาณ ๕ เหมือนดังน้ำ คือเกิดขึ้นแล้วก็ไหลไปหามโนวิญญาณ
ทั้งนี้ก็เพราะมโนทวารมีหน้าที่รับรู้พิจารณาอารมณ์ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย น้อมเหนี่ยวไว้ เพื่อกระทำให้แจ้งอีกชั้นหนึ่ง (จักขุวิญญาณ มโนวิญญาณปัญหา)


ขอถวายพระพร อาศัยรูปกระทบตา เกิดการรับรู้ขึ้นเรียกจักขุวิญญาณ, อาศัยเสียงกระทบหู เกิดการรับรู้ขึ้นเรียกโสตวิญญาณ,
อาศัยกลิ่นกระทบจมูก เกิดการรับรู้ขึ้นเรียกฆานวิญญาณ, อาศัยรสกระทบลิ้น เกิดการรับรู้ขึ้นเรียกชิวหาวิญญาณ, อาศัยสิ่ง (โผฏฐัพพะ) กระทบกาย เกิดการรับรู้ขึ้นเรียกกายวิญญาณ,
อาศัยนามธรรมต่าง ๆ เกิดกับใจ เกิดการรับรู้ขึ้นเรียกมโนวิญญาณ ในขณะที่วิญญาณเกิดขึ้นนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิตก วิจาร ก็เกิดร่วมขึ้นด้วยเช่นกัน (เวทคูปัญหา)

ป้านุช 11-04-2009 20:39

ม. วิญญาณมีลักษณะอย่างไร
น. วิญญาณมีลักษณะรู้แจ้ง เหมือนคนยืนอยู่ที่สี่แยกย่อมรู้ย่อมเห็นคนที่เดินผ่านไปมา
ฉะนั้น เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียงเป็นต้น ก็ย่อมเกิดอาการรู้ทันทีว่านั่นรูป นั่นเสียง (วิญญาณลักขณปัญหา)


ม. ผัสสะมีลักษณะอย่างไร
น. ผัสสะมีลักษณะประจวบ เช่นตาเห็นรูปเกิดความรู้สึกทางตา ขณะที่ทั้ง ๓ ประจวบกันเข้า ขณะนั้นเป็นผัสสะ

ม. พระคุณเจ้าจงเปรียบเทียบให้ฟัง
น. เหมือนแกะสองตัวชนกัน ตัวหนึ่งเหมือนตา อีกตัวหนึ่งเหมือนรูป อาการชนเทียบได้กับผัสสะ หรือเหมือนมือ ๒ ข้างประกบกัน
มือข้างหนึ่งเหมือนตา มืออีกข้างเหมือนรูป อาการประกบเทียบได้กับผัสสะ (ผัสสลักขณปัญหา)


ม. เวทนาเล่ามีลักษณะอย่างไร
น. เวทนามีลักษณะรู้สึกและเสพเสวย เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง หรือเฉย ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง

ม. พระคุณเจ้าจงยกตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง
น. เหมือนข้าราชการทำความดีจนได้รับบำเหน็จต่าง ๆ เมื่อข้าราชการผู้นั้นรำพึงถึงการกระทำดีและบำเหน็จที่ตนได้รับจนรู้สึกอิ่มใจ
ความรู้สึกนั้นเป็นสุขเวทนา (เวทนาลักขณปัญหา)


ม. สัญญาเล่า ลักษณะอย่างไร
น. มีลักษณะกำหนดรู้และจำได้

ม. กำหนดรู้และจดจำอะไรได้
น. กำหนดจำลักษณะรูปพรรณสัณฐานและบัญญัติของสิ่งต่าง ๆ ได้ อุปมาดังเจ้าพนักงานเข้าไปในพระคลังหลวง เห็นเครื่องราชูปโภค
ก็หมายจำไว้เป็นอย่าง ๆ แม้ภายหลังจะไม่ได้เข้าไปดู ก็จำได้ นึกได้ถึงรูปร่างสีสันของเครื่องราชูปโภคเหล่านั้น (สัญญาลักขณปัญหา)


ม. เจตนาเล่า มีลักษณะอย่างไร
น. มีลักษณะจงใจและปรุงแต่งขึ้น

ม. พระคุณเจ้าจงเปรียบให้ฟัง
น. เหมือนบุคคลปรุงยาพิษแล้วดื่มเองด้วย ให้คนอื่นดื่มด้วย ตัวเขาเองจึงเป็นทุกข์ ผู้อื่นก็เป็นทุกข์ หรือเหมือนบุคคลปรุงอาหารด้วยน้ำผึ้ง น้ำอ้อยและนมเนย
ให้ตนเองบริโภค แล้วให้คนอื่นบริโภคด้วย ตัวเขาเองก็เป็นสุข ผู้อื่นก็เป็นสุข
หรือเหมือนแพทย์ตรวจอาการของโรคทราบตลอดแล้ว จึงหยิบเอาตัวยาต่าง ๆ มาปรุงขึ้นรักษาโรคฉันใด
เจตนาย่อมคิดอารมณ์ที่ข้องอยู่ในใจ แล้วปรุงขึ้นเป็นโครงการฉันนั้น (เจตนาลักขณปัญหา)


(หมายเหตุ ความย่อหน้านี้ ปรากฏเฉพาะใน “ปัญหาพระยามิลินท์” น.๕๑ เท่านั้น แต่ไม่ปรากฏใน “มิลินท์ปัญหา” สำนวนแปลอื่น ๆ )

ม. วิตกมีลักษณะอย่างไร
น. มีลักษณะติดไปกับจิต คือนึกจับหรือตริในสิ่งที่เจตนาปรุงขึ้น อุปมาดังช่างไม้ที่เข้าหน้าไม้ได้สนิท (วิตักกลักขณปัญหา)

ม. วิจารเล่า มีลักษณะอย่างไร
น. มีลักษณะตามเคล้าอารมณ์ คือตรองเรื่องที่วิตกยกขึ้นหรือจับอยู่ อุปมาวิตกดังอาการเคาะระฆัง
อุปมาวิจารดังเสียงครางของระฆังภายหลังที่ถูกเคาะแล้ว (วิจารลักขณปัญหา)

ป้านุช 13-04-2009 23:08

ม. นามธรรมต่าง ๆ ที่เกิดประชุมกันเข้าในขณะหนึ่ง จะแจงออกมาให้เห็นชัด ๆ ว่า ขณะนี้เป็นวิญญาณ นี้เป็นผัสสะ นี้เป็นเวทนา สัญญา เจตนา วิตก วิจารได้หรือไม่
น. ขอถวายพระพร ยากที่จะแจงเช่นนั้นได้ อุปมาดังของเสวยที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จะให้เจ้าพนักงานครัวแยกของที่มีรสเค็ม รสเปรี้ยว รสหวานออกมาถวายอีกไม่ได้ อย่างไรก็ตาม
แม้นามธรรมเหล่านี้จะประชุมกันเข้าอย่างรวดเร็วประหนึ่งว่าเกิดพร้อมกันจนยากจะแยกให้เห็นชัด แต่ยังคงปรากฏลักษณะของตนที่พอให้กำหนดได้(เอกภาวคตปัญหา)


ม. พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว

๓.ไตรลักษณ์

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สิ่งที่ไม่มีในโลกนี้เลย ได้แก่อะไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร สิ่งนั้นคือนามรูปและรูปไม่ประกอบนามซึ่งเกิดจากส่วนย่อย ๆ รวมกันขึ้น
คงที่เที่ยง ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นชิ้นเป็นอันอยู่เช่นนั้น ไม่ตกอยู่ใต้ความบีบคั้นขัดแย้ง เป็นตัวเป็นตน ขอถวายพระพร สิ่งซึ่งมีลักษณะเช่นนี้ไม่มีในโลก (โลเกนัตถิภาวปัญหา)

ม. เข้าใจละ

ป้านุช 15-04-2009 23:11

สังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด บุญกับบาป

๑.สังสารวัฏและการเวียนว่ายตายเกิด
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สังสารวัฏได้แก่อะไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ได้แก่การเวียนเกิดเวียนตาย

ม. พระคุณเจ้าจงหาตัวอย่างมาเปรียบเทียบ
น. เหมือนชาวสวนปลูกมะม่วงไว้ ครั้นมะม่วงออกผลก็เก็บมารับประทาน
เสร็จแล้วก็เอาเมล็ดนั้นเพาะปลูกใหม่ ถึงคราวเกิดผล ก็นำมารับประทานแล้วปลูกใหม่ต่อ ๆ ไปอีก
สังสารวัฏก็มีอาการหมุนเวียนเช่นนั้น คือนับแต่เราเกิดมาเป็นนามรูป เราก็ตั้งต้นเพาะความดีความชั่ว
เป็นตัวบุญ ตัวบาปขึ้นเป็นเหตุ แล้วเราก็ต้องรับผลของความดีความชั่วนั้น
ซึ่งจะช้าหรือเร็วขึ้นกับอำนาจบาปบุญ ทั้งนี้ ผลที่เราได้รับอาจจูงใจให้เราเพาะเหตุต่อไปอีก
เหมือนคนรับประทานผลมะม่วงแล้วก็นำเมล็ดไปเพาะเป็นต้นหมุนเวียนต่อไปไม่รู้จบสิ้น (สังสารวัฏปัญหา)


ม. อะไรเป็นเหตุให้นามรูปต้องเกิดต่อไปอีกนาน
น. เหตุที่ทำให้นามรูปต้องเกิดต่อไปอีกนานก็คือ ความไม่รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ ๔ กล่าวคือ
ไม่รู้ว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อะไรเป็นความดับทุกข์ อะไรเป็นทางให้ถึงความดับทุกข์
แม้จะรู้สิ่งเหล่านี้โดยพิจารณาเห็นในชั่วขณะหนึ่ง ๆ ก็ยังเรียกว่าไม่รู้จริง เพราะความรู้นั้นมิได้ประจำจิตอยู่ตลอดเวลา
เมื่อไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔ คนและสัตว์ทั้งหลายจึงทำบุญและบาป เป็นเหตุให้กิดปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งเปรียบเหมือนรากแก้วของต้นไม้
ทำให้เกิดนามรูปซึ่งแตกกิ่งก้านเป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทำหน้าที่เป็นประตูรับอารมณ์ ๖

นอกจากนี้ เมื่อไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ก็ให้ยึดสิ่งต่าง ๆ เอาว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา
เมื่อประสบสิ่งชอบใจ รู้สึกยินดีก็เกิดความติดใจ เมื่อประสบสิ่งแสลงใจ รู้สึกทุกข์ ก็เกิดความปรารถนาจะหลีกหนีไปให้พ้น
จึงเป็นเหตุให้เกิดการดิ้นรนแสวงหารวมทั้งยึดถือในอุบายที่จะช่วยให้ตนสมประสงค์ในการได้มาหรือหลีกหนีไป ก่อเป็นกุศลและอกุศลหนุนเนื่องให้เกิดเป็นนามรูปต่อไปอีก
ขอถวายพระพร ตราบเท่าที่ยังไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ตราบนั้นนามรูปก็ยังคงปรากฏมีอยู่เช่นนี้
โดยการเกิดดับ ๆ ของนามรูปที่ล่วง ๆ มาแล้วนั้น นานจนเบื้องต้นไม่ปรากฏ (อัทธานปัญหาและปุริมโกฏิปัญหา)


ม. ความยาวนานของการเวียนเกิดเวียนตายเท่ากันหมดในหมู่คนและสัตว์ทั้งหลายหรือ
น. บางพวกก็นาน บางพวกก็ไม่นาน

ม. พวกไหนนาน พวกไหนไม่นาน
น. ผู้มีกิเลสคือเครื่องทำใจให้หมองอยู่ จะต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีกนาน ส่วนท่านที่บั่นทอนกิเลสซึ่งเป็นเหตุทำให้ยืดยาวนั้นลงได้บ้าง
ก็ย่นเวลาเกิดเวลาตายข้างหน้าให้สั้นเข้าได้ (ทีฆมัทธานปัญหา)


ม.ช่างล้ำลึกจริง

ป้านุช 15-04-2009 23:16

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน นามรูปเดิมนี้หรือ จักกลับมาเกิดอีก
พระนาคเสนทูลตอบว่า มิใช่นามรูปนี้ หากเป็นนามรูปอีกอันหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเพราะบุญบาป กุศล อกุศลที่นามรูปนี้ได้กระทำไว้

ม. ถ้ามิใช่นามรูปนี้ไปเกิดแล้ว ก็เป็นอันว่าหนีบาปกรรมที่ทำไว้ในชาตินี้พ้นสิพระคุณเจ้า
น. ถ้าไม่บังเกิดต่อไปอีก ก็เป็นอันหนีพ้น แต่ถ้ายังต้องมาเกิดอีก ก็หนีไม่พ้น

ม. พระคุณเจ้าจงเปรียบให้ฟัง
น. เหมือนคนก่อไฟผิงในฤดูหนาว แล้วลืมดับไฟ ไฟนั้นก็ลุกลามไปไหม้ไร่นาของผู้อื่น
เมื่อคดีถึงโรงศาล จำเลยแก้ตัวว่า ไฟที่เขาก่อขึ้นเป็นคนละกองกับที่ลามไปไปไหม้ไร่นาของโจทก์
ขอถวายพระพร เมื่อจำเลยแก้ตัวต่อศาลเช่นนี้ ศาลจะระงับไม่ลงโทษจำเลยหรือไม่


ม. จะให้งดได้อย่างไรเล่า เพราะไฟที่จำเลยก่อไว้นั้นเป็นต้นไฟ ตนเลินเล่อปล่อยไว้ จึงลุกลามต่อไป ศาลจึงควรตัดสินลงโทษจำเลยได้
น. ฉันใดก็ฉันนั้น แม้นามรูปนี้จะแปรไปเป็นนามรูปอื่น บาปกรรมก็ตามลงโทษนามรูปหน้าเช่นกัน
ทั้งนี้ เพราะนามรูปนี้กระทำบาปบุญซึ่งเป็นเหตุให้มีนามรูปอื่นขึ้นแทน นามรูปอื่นจึงหนีบาปกรรมไม่พ้น (นามรูปปฏิสนธิคหณปัญหา)


ม. นามรูปนี้และนามรูปอื่นเชื่อมโยงกันได้อย่างไร พระคุณเจ้าจงหาตัวอย่างมาเปรียบเทียบ
น. เหมือนเมล็ดต้นไม้ แรกปลูกไม่มีดอก ต่อมามีลำต้น เกิดมีใบมีดอก ในที่สุดใบดอกก็ร่วงหล่นไป เกิดใบดอกใหม่ขึ้นแทน
นามรูปก็เช่นเดียวกับใบไม้ดอกไม้ เดิมไม่ปรากฏ แต่เพราะมีบุญบาปซึ่งตนได้กระทำไว้ก่อนเป็นเหตุอยู่ จึงทำให้เกิดลำต้นซึ่งแตกใบผลิดอกออกมารุ่นแล้วรุ่นเล่า
ฉันใดก็ฉันนั้น นามรูปนี้และนามรูปอื่นก็เชื่อมต่อกันได้ผ่านลำต้นคือบุญบาป ฉะนี้ (ปุริมโกฏิปัญหา)


พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ที่ตายไปแล้วกลับไปเกิดอีก เขาจะยังคงเป็นผู้นั้น หรือว่าจะเปลี่ยนไปเป็นอีกคนหนึ่ง
น. จะว่าเป็นผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นอีกคนก็ไม่ใช่

ม. ขอพระคุณเจ้าจงเปรียบให้ฟัง
น. โคมไฟที่จุดแต่หัวค่ำแล้วตามไว้จนถึงรุ่งเช้า เปลวไฟในยามที่ ๑ กับในยามที่ ๒ เป็นอันเดียวกันหรือมิใช่

ม. ไม่ใช่
น. หรือเปลวไฟในยามทั้งสองเป็นเปลวไฟคนละชนิด

ม. หามิได้
น. ความสืบเนื่องแห่งรูปธรรมนามธรรมก็ฉันนั้น อันหนึ่งเกิดดับ อีกอันหนึ่งก็เกิดขึ้นแทน สืบเนื่องกันเรื่อย ๆ ไป
เพราะฉะนั้นผู้ที่ตายแล้วกลับไปเกิดอีก จะว่าเป็นผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นอีกคนหนึ่งก็ไม่ใช่ (ธัมมสันตติปัญหา)


ม. พระคุณเจ้าเปรียบได้น่าฟัง

ป้านุช 15-04-2009 23:35

๒. การเกิด-การตาย
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สัตว์ทุกจำพวกต่อเมื่อถึงวาระจึงตาย หรือว่าไม่ถึงวาระก็ตายเหมือนกัน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ย่อมมีทั้งสองประการ อุปมาดังผลไม้ซึ่งหล่นจากต้นย่อมมีทั้งสุกและดิบ
ผลที่สุกแล้วไม่มีปัญหา แต่ผลที่ยังดิบอยู่เป็นเพราะเหตุใดจึงหล่น


ม. เป็นเพราะถูกหนอนไชบ้าง นกจิกกินเล่นบ้าง ถูกลมแรงพัดหล่นบ้าง
น. ขอถวายพระพร ผลไม้สุกที่หล่นก็เหมือนคนที่ตายโดยถึงอายุขัย ส่วนผลไม้ดิบที่หล่นเปรียบเหมือนคนที่ตายโดยยังไม่ถึงวาระ

ม. แต่ข้าพเจ้าเห็นว่า จะตายเมื่อใดหรือเพราะประการใด ก็เรียกว่าตายโดยวาระทั้งนั้น
น. หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราเหตุแห่งความตายอาจจำแนกได้เป็น ๘ ประการ คือ
๑. โรคมีที่มาจากลม
๒. โรคมีที่มาจากช่องท้อง
๓. โรคมีที่มาจากเสมหะ
๔. โรคมีที่มาจากประสาท
๕. ความเปลี่ยนแปลงของฤดู
๖. บริหารอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ
๗. ความเพียรของผู้อื่น และ
๘. ผลของบุพกรรม เว้นแต่ผลของบุพกรรม ความตายด้วยเหตุอื่น ๆ ถือเป็นการตายที่ยังไม่ถึงวาระ


ม. แต่ความตายจากเหตุอื่นทั้ง ๗ ก็อาจถือเป็นผลจากบุพกรรมได้มิใช่หรือ ดังนั้น จะตายอย่างไรก็ถือเป็นการตายตามวาระทั้งนั้น
น. อาตมภาพขอยกตัวอย่างมาเปรียบถวาย ไฟที่ดับเพราะสิ้นเชื้อถือเป็นการดับไปตามวาระใช่หรือไม่

ม. ใช่
น. ถ้าไฟยังลุกโชนอยู่ แต่เผอิญมีฝนตกลงมาจนไฟดับ จะถือว่าไฟดับตามวาระได้หรือไม่

ม.ไม่ได้ เพราะไฟยังมีเชื้ออยู่ จึงควรลุกต่อไปได้ตามปกติ แต่เหตุที่ดับเพราะมีฝนตกรดลงมา
น. ขอถวายพระพร ผู้ที่ตายด้วยเหตุ ๗ ประการเบื้องต้น ก็เช่นเดียวกับไฟที่ดับลงทั้ง ๆ ที่ยังมีเชื้ออยู่
เพราะหากไม่มีเหตุมาตัดรอน ชีวิตก็ย่อมยืนยาวต่อไปจนถึงอายุขัย ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่าผู้ที่ตายด้วยเหตุหนึ่งใน ๗ อย่างข้างต้น มิได้ตายตามวาระ
ส่วนผู้ที่ตายเพราะเหตุแห่งอายุขัยดังไฟสิ้นเชื้อ ถือเป็นการตายตามวาระ (กาลากาลมรณปัญหา)

ป้านุช 15-04-2009 23:38

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สัตว์เมื่อจะเข้าถือปฏิสนธิในครรภ์มารดา เข้าทางไหน
พระนาคเสน ทูลตอบว่า ขอถวายพระพร หาเป็นเช่นที่พระองค์ตรัสถามไม่

ม. ถ้าเช่นนั้น พระคุณเจ้าจงยกตัวอย่างมาเปรียบเทียบ
น. ขอพระองค์ทรงส่งพระหฤทัยเข้าไปนึกถึงแก้วแหวนเงินทองในหีบนั่น

ม. ส่งเข้าไปแล้ว
น. ขอถวายพระพร พระองค์ทรงส่งพระหฤทัยเข้าไปทางไหน

ม. หามีช่องทางให้จิตส่งเข้าไปไม่ แต่ที่ส่งจิตเข้าไปจนเห็นแก้วแหวนเงินทองในหีบนั้นได้ก็เพราะจิตหมายรู้ตามที่ได้ประจักษ์มาก่อนแล้ว
น. ฉันใดก็ฉันนั้น สัตว์และบุคคลเมื่อจะเกิดในท้องมารดาก็มีแต่จิตที่เรียกว่า “ปฏิสนธิจิต” หรือ “ปฏิสนธิวิญญาณ” ที่พร้อมจะเข้าไปปฏิสนธิ
ในขณะที่เข้าไปในครรภ์มารดานั้น ก็เข้าไปในอาการที่พระองค์ทรงส่งพระหฤทัยเข้าไปในหีบนั่น หาได้มีช่องทางหนึ่งใดสำหรับให้จิตเข้าไปถือปฏิสนธิไม่ (มาตุกุจฉิปัญหา)


ม. เข้าใจละ

ป้านุช 15-04-2009 23:42

๓. บุญกับบาป

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน บุญกับบาปสิ่งไหนจะดูดดื่มกว่ากัน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร บุญดูดดื่มกว่ากัน
ม. ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
น. ขอถวายพระพร บาปย่อมมีผลเป็นทุกข์ ผู้กระทำบาปจึงถูกความทุกข์เผาผลาญให้ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอ ใจย่อมระอาต่อการกระทำบาปนั้นต่อไป
ส่วนบุญย่อมมีผลเป็นความสุขกายเย็นใจ จึงเป็นเหตุชวนให้ผู้ที่ได้รับผลพยายามสั่งสมต่อไป เพราะบุญมีผลเป็นที่จับใจของผู้กระทำเช่นนี้ จึงดูดดื่มกว่า (บาปปุญญพหุการปัญหา)


ม. บุญกับบาป สิ่งไหนจะมีกำลังมากกว่า
น. บุญมีกำลังมากกว่า

ม. เกรงจะมิใช่เช่นนั้นสิพระคุณเจ้า เพราะตามที่ได้ยินมา คนทำบาปย่อมได้รับผลเผ็ดร้อนต่าง ๆ
และโดยมากได้รับผลในปัจจุบัน ไม่ค่อยได้ยินว่าคนทำบุญได้รับผลทันตา

น. ตัวอย่างผู้ทำบุญที่ได้รับผลทันทีมีอยู่ แต่จะขอทูลชี้แจงว่าเหตุที่บุญมีผลมากกว่า จึงให้ผลช้า
ส่วนบาปมีผลน้อยกว่าเบากว่าจึงให้ผลเร็ว อุปมาดังข้าวหนักปลูกแล้วให้ผลช้าแต่ให้ผลมาก ส่วนข้าวเบาให้ผลเร็วแต่ให้ผลน้อย


ม. ข้าพเจ้ายังคงเห็นแย้ง ด้วยตัวอย่างทางโลกมีอยู่มากมายที่คนทำผิดกฎหมายย่อมถูกลงโทษโดยเร็ว
น. แม้โทษนั้นจะเป็นผลของบาปก็จริงอยู่ แต่ตัวอย่างที่ยกมาไม่สามารถจะแสดงได้ว่าบาปมีกำลังมากกว่าบุญ
เพราะกฎหมายส่วนมากมิได้ระบุผลที่คนทำบุญจะพึงได้รับ

ป้านุช 16-04-2009 22:49

นิพพาน พระอริยบุคคล และพระพุทธเจ้า

๑.นิพพาน

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สิ่งที่เกิดแต่กรรม แต่เหตุ แต่ฤดู มีให้เห็นให้คิดเข้าใจได้
แต่สิ่งที่ไม่เกิดแต่กรรม แต่เหตุ แต่ฤดู อย่างหนึ่งอย่างใดมีบ้างหรือไม่

พระนาคเสนตอบว่า ขอถวายพระพร มี ได้แก่ อากาศ ๑ พระนิพพาน ๑

ม. กล่าวถึงอากาศ ข้าพเจ้าเห็นด้วย แต่พระนิพพานนั้น ไม่น่าเป็นอย่างพระคุณเจ้าว่า เพราะพุทธพจน์มีอยู่ชัดเจนว่า
พระนิพพานย่อมมีมรรคเป็นเหตุให้เกิด หรือมรรคเป็นเหตุกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หรือ พระคุณเจ้ากำลังกล่าวตู่พระพุทธพจน์ เมื่อไม่รู้ก็จงบอกว่าไม่รู้


น. ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์มีอยู่เช่นนั้นจริง แต่หาได้หมายความว่า พระนิพพานเกิดแต่เหตุคือมรรคไม่
มรรคนั้นทำพระนิพพานให้แจ้ง แต่ไม่อาจแสดงเหตุที่อาศัยให้เกิดพระนิพพานได้ เพราะพระนิพพานเป็นอสังขตธรรม
ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง รู้ไม่ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย จะพึงรู้พึงเห็นได้ก็เฉพาะแต่พระอรหันต์ผู้มีจิตบริสุทธิ์สงบและละเอียดเท่านั้น (นิพพานอัตถิภาวปัญหา)


ม. ธรรมดาสิ่งต่าง ๆ ย่อมมีที่ตั้ง เช่น นาเป็นที่ตั้งแห่งข้าวเปลือก ดอกไม้เป็นที่ตั้งแห่งกลิ่น
หากพระนิพพานไม่มีที่ตั้ง พระนิพพานก็เป็นอันไม่มี ผู้ที่พยายามกระทำพระนิพพานให้แจ้งก็ไร้ประโยชน์เปล่า

น. ขอถวายพระพร พระนิพพานมีอยู่จริง แต่ที่ตั้งแห่งพระนิพพานไม่มี อุปมาดังไฟที่ปกติไม่ปรากกฎที่ตั้ง
แต่เมื่อบุคคลเอาไม้มาสีกัน ไฟก็เกิดขึ้นได้ พระนิพพานก็เช่นเดียวกันคือไม่ปรากฏที่ตั้ง แต่เมื่อบุคคลพยายามบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ให้แก่กล้าแล้ว พระนิพพานก็เกิดมีขึ้นได้เช่นไฟนั้น (นิพพานปัฏฐานปัญหา)


ม .พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว

ป้านุช 16-04-2009 22:55

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระนิพพานมีความสุขอย่างเดียวหรือมีความทุกข์ปนอยู่ด้วย
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระนิพพานมีแต่ความสุขล้วน ไม่มีความทุกข์เจือปนเลย


ม. คิดว่ามิใช่เช่นนั้น เพราะสังเกตดูคนที่มุ่งหวังพระนิพพานต้องลำบากกาย ต้องสำรวมอิริยาบถ
ต้องระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องขัดเกลาจิตใจให้ผ่องใส เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอาการแห่งความทุกข์ ลำบากทั้งนั้น

น. ขอถวายพระพร อาตมาภาพขอทูลถามพระองค์บ้างว่า การเสวยราชสมบัติได้รับแต่ความสุขอย่างเดียวหรืออย่างไร

ม. ก็เป็นสุขดี ไม่เห็นทุกข์ยากลำบากอะไร
น. เมื่อชนบทกำเริบ มีการสงคราม พระองค์ต้องกรีฑาทัพไปประทับแรมตามป่าดง ถูกเหลือบยุงและลมแดดเบียดเบียน เป็นต้น นั้นเป็นทุกข์มิใช่หรือ

ม. ก็เป็นความทุกข์สิพระคุณเจ้า แต่จะเอามาปะปนกับความสุขในราชสมบัติไม่ได้
เพราะการกระทำนั้น ๆ ทำเพื่อความมั่นคงในการหาความสุขในราชสมบัติต่างหาก

น.ฉันใดก็ฉันนั้น การที่ต้องสำรวมอิริยาบถ ต้องระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องขัดเกลาจิตใจให้ผ่องใสนั้น ก็เพื่อความมั่นคงในการแสวงหาความสุขคือพระนิพพาน
เมื่อผู้มุ่งหวังพระนิพพานชำระสันดานของตนให้ปราศจากอกุศลอันทำให้จิตหม่นหมอง เมื่อนั้นเป็นอันได้ประสบสุขคือพระนิพพาน
เนื่องด้วยพระนิพพานเป็นธรรมชาติหมดจดจากบาปธรรมอันเป็นเหตุแห่งตัวทุกข์และความเศร้าหมอง
จึงมีแต่ความสุขล้วนไม่มีความทุกข์เจือปนเลย (นิพพานอทุกขมิสสภาวปัญหา)


ม. พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว

ป้านุช 23-04-2009 23:47

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ความดับกองทุกข์ได้ทั้งหมดคือพระนิพพาน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ถูกแล้ว

ม. ดับอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าพระนิพพาน
น. ดับจนหาเชื้อที่จะก่อให้ลุกลามอีกไม่ได้ จึงจะชื่อว่าพระนิพพาน
ขอถวายพระพร อันผู้ที่ปล่อยใจไปตามอารมณ์ที่ผ่านมาย่อมถูกความทุกข์เผาผลาญให้หม่นไหม้
ส่วนบุคคลที่มีใจหนักแน่น แม้จะมีอารมณ์ที่ร้อนรนมากระทบ ก็ไม่ปล่อยใจให้หมกไหม้อยู่ในกองทุกข์เช่นนั้น
ย่อมดับเสียได้ด้วยคิดเห็นว่า คติของธรรมดามีอยู่อย่างนั้น จนอารมณ์ร้อนมอดลงไปเอง (นิโรธนิพพานปัญหา)


ม. ถ้าเช่นนั้น บุคคลที่มีใจหนักแน่นย่อมได้พระนิพพานด้วยกันทุกคนหรือ
น.ได้เฉพาะผู้ที่เดินถูกทางเท่านั้น

ม. การเดินถูกทางนั้นกระทำอย่างไร
น. การเดินถูกทางนั้น เบื้องต้นต้องทำความเห็นให้ตรงเสียก่อน คือให้เห็นทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางเดินไปดับทุกข์ ว่า มีอยู่อย่างไร
จากนั้น จึงใช้ความเห็นชอบนี้นำความคิด คำพูดและการกระทำให้เดินตรงไป ขณะเดินก็ต้องพยายามนึกมุ่งต่อที่ ๆ หมายไว้ให้แน่วแน่อยู่ที่เดียว
ขอถวายพระพรผู้ที่เดินถูกทางเช่นนี้ ย่อมได้พระนิพพาน (นิพพานนลภนปัญหา)


ม. ฐานะที่บุคคลซึ่งประสงค์จะเดินถูกทางต้องตั้งอยู่นั้น มีหรือไม่ และถ้ามีเป็นอย่างไร
น. มี ฐานะนั้นได้แก่ ศีล เมื่อบุคคลตั้งมั่นอยู่ในศีลแล้ว กระทำใจโดยอุบายอันแยบคาย แม้ว่าจะอยู่ในที่ใด ๆ
ก็ย่อมจะกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ (นิพพานปัฏฐานปัญหา)


ม.จะกระทำพระนิพพานให้แจ้งนั้น กระทำด้วยอาการอย่างไร
น. ขอถวายพระพร พระนิพพานเป็นธรรมสงบระงับ มีความสุขอย่างประณีต ผู้ปฏิบัติชอบพึงพิจารณาสังขารตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
โดยย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ด้วยปัญญา

การที่จะกระทำพระนิพพานให้แจ้งนั้น ต้องพิจารณาความเป็นไปของสังขารทั้งหลาย คือความเกิดและความดับ จนเห็นว่าไม่มีสิ่งใดจะยึดถือเป็นตัวเป็นตนได้ในสังขารเหล่านั้น
ครั้นแล้วย่อมบังเกิดความหน่ายในภพทั้ง ๓ (คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ)
เมื่อบุคคลกระทำการพิจารณาเช่นนี้อยู่เนือง ๆ จิตย่อมหมดความยินดีที่จะเวียนว่ายตายเกิดต่อไป รวมทั้งย่อมเลื่อมใสในความระงับดับสังขารตลอดจนความระงับในเหตุคือ กิเลสตัณหาทั้งหลาย เมื่อประคองจิตเช่นนี้ให้มั่นด้วยสติและวิริยะจนพระอริยมรรคบังเกิด เมื่อนั้นย่อมเรียกได้ว่า บุคคลกรทำพระนิพพานให้แจ้ง (นิพพานสัจฉิกรณปัญหา)


ม.เข้าใจละ

เถรี 24-04-2009 00:13

อ้างอิง:

ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ตัวแสบจำเป็น (โพสต์ 4112)
ซื้อมา ๑ เล่ม จากวัดท่าซุงเมื่อนานมาแล้ว
ยังไม่สามารถอ่านจนจบได้เลย
เรานี่ช่างด้อยปัญญานักหนอ อ่านแล้วไม่เข้าใจเลย

ค่อย ๆ อ่านจ้ะพี่หยก แล้วจะสนุกและได้อรรถรสมาก
ฉบับของวัดท่าซุงนั้น เขารวบรวมมาจากหนังสือธัมมวิโมกข์ อ่านได้ง่ายกว่าของที่อื่นแล้ว เพราะมีการอธิบายความต่อท้ายในแต่ละปัญหาด้วย นอกจากนี้ยังมีประวัติของบุคคลต่าง ๆ เพิ่มเติมมา โดยที่เราไม่ต้องไปควานหาเองเลยค่ะ :4672615:

ป้านุช 26-04-2009 22:40

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ก็ผู้ที่ยังไม่ได้พระนิพพาน จะรู้หรือไม่ว่าพระนิพพานเป็นสุข
พระนาคเสนทูลตอบว่า รู้

ม. รู้ได้อย่างไร
น. อาตมภาพขอทูลถามบ้างว่า คนที่มีร่างกายบริบูรณ์ จะรู้หรือไม่ว่าการตัดมือตัดเท้าเป็นความเจ็บปวด

ม. รู้สิพระคุณเจ้า
น. รู้ได้ด้วยอะไร

ม. รู้ได้ด้วยฟังเสียงครวญครางหรือเห็นอาการดิ้นรนของคนที่ถูกตัดมือตัดเท้า
น. ฉันใดก็ฉันนั้น ผู้ที่ยังมิได้พระนิพพานเมื่อได้เห็นกิริยามารยาท หรือได้ยินได้ฟังถ้อยคำของท่านที่ได้พระนิพพานแล้ว ก็หยั่งรู้ได้ว่าพระนิพพานเป็นสุข (นิพพานสุขภาวชานนปัญหา)

ม. ชอบแล้ว

ป้านุช 26-04-2009 22:48

๒.พระอริยบุคลและพระอรหันต์

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน อันผู้ที่ตายไปแล้วมีบ้างหรือไม่ที่จักไม่กลับมาเกิดอีก
พระนาคเสนทูลตอบว่า มี ผู้ที่จักกลับมาเกิดอีกก็มี ผู้ที่จักไม่กลับมาอีกก็มี

ม. ใครที่จักกลับมาเกิดอีก ใครจักไม่กลับมาเกิดอีก
น. ผู้ที่มีกิเลสจักกลับมาเกิดอีก ผู้ที่สิ้นกิเลสแล้วจักไม่กลับมาเกิดอีก

ม. ตัวท่านเล่า จักกลับมาเกิดอีกหรือไม่
น. หากอาตมภาพยังมีอุปาทาน (ความถือมั่นด้วยกิเลส)อยู่ ก็จักกลับมาเกิดอีก หากไม่มีอุปาทาน ก็จักไม่กลับมา (ปฏิสนธิคหณปัญหา)

ม. ผู้ที่ไม่ต้องมาเกิดอีกนั้น เขาจะรู้ตัวหรือไม่ว่าเขาจักไม่มาเกิดอีก
น. รู้ เพราะรู้ตัวอยู่ว่า ตนได้ทำให้สิ่งซึ่งเป็นเหตุให้เกิดหมดสิ้นแล้ว อุปมาเหมือนชาวนาที่เก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งเพื่อบริโภคโดยไม่ทำนาเพิ่มอีก
ยุ้งฉางของเขาจักไม่เต็มขึ้นเพราะตัวเขาหยุดทำนาแล้ว (นัปปฏิสนธิคหณชานนปัญหา)


ม. ผู้ที่จักต้องบังเกิดต่อไป เขารู้ตัวหรือไม่ว่าจักต้องไปเกิดอีก
น. รู้ อุปมาเหมือนชาวนาเมื่อหว่านข้าวลงในพื้นนาแล้ว ฝนโปรยปรายมา ก็ย่อมรู้ว่าข้าวปลูกจักงอกงาม ผู้ที่บังเกิดต่อไป ก็รู้ตัวเช่นนั้นเหมือนกัน
เพราะว่าบุญบาปซึ่งเป็นเหตุให้เกิด ตนยังเพาะยังทำอยู่ (อุปปัชชนชานนปัญหา)


ม. ผู้ที่จักไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ระหว่างมีชีวิตอยู่ จะรู้สึกต่อความลำบากหรือไม่
น. บางส่วนก็รู้สึก บางส่วนก็ไม่รู้สึก

ม. ส่วนไหนรู้สึก ส่วนไหนไม่รู้สึก
น. ร่างกายของท่านรู้สึกต่อความลำบาก แต่ใจของท่านไม่รับรู้ความลำบาก กล่าวคือ ความลำบากกาย เช่น เมื่อยขบ หิว กระหาย
หรือโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ยังคงเกิดแก่ท่าน เสียดแทงร่างกายท่านอยู่ตามธรรมดา แต่ท่านไม่มีความลำบากใจ ทุกข์ใจ
เนื่องจากท่านได้ทำเหตุแห่งความลำบากใจให้สิ้นเชื้อแล้ว ดังพระพุทธเจ้าตรัสไว้ใจความว่า
ผู้ที่สิ้นกิเลสคือเหตุให้ใจเศร้า ยังคงมีแต่กายิกทุกข์ คือทุกข์ประจำร่างกายเท่านั้น ส่วนเจตสิกทุกข์หรือความทุกข์ใจเป็นอันไม่มีแล้ว


ม. เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนท่านจึงไม่รีบนิพพานหนีความลำบากเสียเล่า
น. เพราะเหตุว่า ใจของท่านเหล่านั้น มิได้เกาะเกี่ยวอยู่ที่ความลำบาก
โดยพิจารณาเห็นว่า ความลำบากเหล่านั้นเป็นอาการประจำของร่างกาย
เมื่อมีเกิดมีแก่แล้ว ก็ต้องมีความไข้ ความเจ็บ เมื่อยขบ หิว กระหาย เป็นธรรมดา

อนึ่ง ท่านเหล่านั้นไม่เร่งกาลเวลา ด้วยทำใจอยู่เสมอว่า จะทำประโยชน์สุขให้แก่ตนและผู้อื่นทุก ๆ ขณะไป
ดังพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ว่า จะยังมีชีวิตอยู่ก็ดี จะตายเสียก็ดี ไม่เป็นเหตุให้ดีใจหรือเสียใจ แต่ว่าเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็จะทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อไป (ปรินิพพานปัญหา)


ม. พระคุณเจ้าว่านี้จับใจ

ป้านุช 27-04-2009 21:36

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน หากเป็นดังที่พระคุณเจ้าว่าไว้คือพระอรหันต์ไม่มีความทุกข์ใจ
มีแต่ความทุกข์ประจำร่างกายเท่านั้น ก็หมายความว่าท่านบังคับร่างกายไม่ได้สิ

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ก็เป็นอย่างนั้น
กล่าวคือ ความรู้สึกหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ หาวนอน แก่ เจ็บ ตาย
อาการเหล่านี้ ท่านบังคับไม่ได้เพราะว่าเป็นอาการประจำของร่างกาย เมื่อร่างกายยังมีอยู่
อาการเหล่านี้ก็ยังต้องมีอยู่ด้วย


ม. ถ้าอย่างนั้น ไฉนท่านจึงสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้เล่า
น. ขอถวายพระพร แม้ความเป็นไปแห่งร่างกายตามธรรมดา จะมิได้ตกอยู่ในอำนาจของอะไรทั้งหมด
แต่อาการเคลื่อนไหวทุก ๆ ส่วนของร่างกายย่อมอยู่ในความรับผิดชอบแห่งใจชอบของท่าน
ท่านจึงกระทำให้อยู่ในอาการปกติเรียบร้อยได้


ม. เข้าใจละ แต่สงสัยว่าเหตุใดความทุกข์ใจจึงมีแก่ปุถุชน
น. เพราะปุถุชนปล่อยใจไปรับรู้สึกต่ออาการผันแปรของร่างกาย
เมื่อเป็นเช่นนั้น อาการหนาว ร้อน หิว กระหาย ฯลฯ ก็ตามบีบหัวใจมากน้อยสุดแต่ความไหวรับรู้สึก
และนอกจากอาการประจำร่างกายเหล่านี้แล้ว
จิตของปุถุชนยังปรุงแต่งอารมณ์ต่าง ๆ ที่คอยกระทบใจให้รู้สึกบอบช้ำลงไปอีก


ขอถวายพระพร เหตุที่เป็นดังนี้ก็เพราะปุถุชนมิได้ฝึกหัดใจ
มิได้หัดพิจารณาให้เห็นแจ้งในความผันแปร ซึ่งเป็นธรรมดาแห่งร่างกายและสังขารอื่น ๆ
ปุถุชนจึงคุมใจไว้ไม่อยู่ ซึ่งทำให้เกิดความทุกข์ใจนอกเหนือจากทุกข์กาย (อรหโตกายิกเจตสิกเวทนาปัญหา)


ม. เป็นเพราะเหตุใด พระอรหันต์จึงไม่มีความทุกข์ใจเช่นปุถุชน
น. เป็นเพราะท่านมีสติสัมปชัญญะกำกับใจอยู่เสมอ สามารถกำหนดรู้อารมณ์ที่ผ่านมายังใจว่ามีเหตุมีผลเป็นอย่างไร
ถ้าเป็นอารมณ์ที่จะทำให้เกิดความทุกข์ ท่านก็ไม่ปล่อยใจให้นอนอยู่ในอารมณ์เช่นนั้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ อารมณ์ที่เป็นแดนเกิดแห่งความทุกข์ก็ไม่อาจบีบใจท่านได้
ขอถวายพระพร เหตุดังนี้ที่ทำให้พระอรหันต์ไม่มีความทุกข์ใจ(กายิกเจตสิกเวทนายนานากรณปัญหา)


ม. พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว

ป้านุช 27-04-2009 21:41

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระอรหันต์ท่านเผลอสติบ้างหรือไม่
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระอรหันต์ท่านไม่เผลอสติ เพราะท่านมีสติกำกับใจอยู่เสมอ(อรหันตสัมโมหปัญหา)

ม. ถ้าเช่นนั้นพระอริยบุคคลต่าง ๆ (พระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกิทาคามี และพระโสดาบัน) ซึ่งทรงญาณและปัญญา (ความหยั่งรู้ ) นั้น จะหลงหรือไม่
น. หลงในบางที่ ไม่หลงในบางที่

ม. ที่ใดหลง ที่ใดไม่หลง
น. ขอถวายพระพร หลงในวิชาที่ยังไม่เคยเรียน ในทิศที่ยังไม่เคยไป ในชื่อหรือบัญญัติที่ไม่เคยรู้ และในภาษาที่ไม่เคยฟัง

ม. ก็ในที่เช่นใดเล่า ที่ท่านไม่หลง
น. ที่ใดมีอาการไม่เที่ยง แปรผัน เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ในที่เช่นนั้น ท่านไม่หลง

ม. ความหลงของท่านผู้นั้นไปอยู่เสียที่ไหน
น. ขอถวายพระพร เมื่อญาณหรือปัญญาเกิดขึ้น ความหลง (โมหะ) ก็หายไป อุ
ปมาดังคนส่องไฟไปในที่มืด ทันใดนั้นความมืดก็หาย ปรากฏเป็นความสว่างขึ้นแทน
ญาณก็เช่นเดียวกับแสงไฟ เกิดขึ้นเมื่อใด ความหลงความไม่รู้ก็หายไปเมื่อนั้น


ม. ส่วนปัญญาเล่าไปอยู่เสียแห่งใด
น. ขอถวายพระพร ปัญญาเมื่อกระทำกิจของตนแล้วก็หายไปในที่นั้น
คงยังปรากฏอยู่แต่วิชชา คือความรู้ชัดในความแปรปรวน ความเป็นทุกข์ และความมิใช่ตัวตน
อุปมาดังคนเขียนหนังสือในเวลากลางคืน ครั้นเขียนเสร็จก็ดับไฟนอน ไฟเป็นอันดับหายไป
แต่ตัวอักษรที่ได้เขียนไว้ยังปรากฏอยู่ ปัญญาก็ฉันนั้น เมื่อทำกิจของตนเสร็จก็หายไป
เหลือไว้แต่วิชชา คือความรู้แจ้งประจักษ์ในอาการที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเท่านั้น (ปัญญา ณิรุชณปัญหา)


ม. พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว

ทิดตู่ 29-04-2009 01:05

ทำให้นึกถึงที่พระนาคเสน ตอบกลับพระเจ้ามิลินท์ว่า

ม. ถ้าเช่นนั้นพระอริยบุคคลต่าง ๆ (พระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกิทาคามี และพระโสดาบัน) ซึ่งทรงญาณและปัญญา (ความหยั่งรู้ ) นั้น จะหลงหรือไม่
น. หลงในบางที่ ไม่หลงในบางที่

ม. ที่ใดหลง ที่ใดไม่หลง
น. ขอถวายพระพร หลงในวิชาที่ยังไม่เคยเรียน ในทิศที่ยังไม่เคยไป ในชื่อหรือบัญญัติที่ไม่เคยรู้ และในภาษาที่ไม่เคยฟัง

ม. ก็ในที่เช่นใดเล่า ที่ท่านไม่หลง
น. ที่ใดมีอาการไม่เที่ยง แปรผัน เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ในที่เช่นนั้น ท่านไม่หลง
:d16c4689:

ป้านุช 29-04-2009 12:13

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน มีคำกล่าวว่า เมื่อฆราวาสได้เป็นพระอรหันต์
ย่อมมีทางเลือกให้เพียงสอง คือหากไม่บวชในวันนั้น ก็จะนิพพานในวันนั้น
ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว หากฆราวาสนั้นหาอุปัชฌาย์หรือเครื่องบริขารไม่ทัน ก็มิต้องนิพพานเสียหรือ

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ก็นิพพาน

ม. ถ้าเป็นเช่นนั้น จะมิใช่ว่า พระอรหัตตผลได้บั่นทอนชีวิตของท่านเหล่านั้นหรอกหรือ
น. การที่เป็นดังนั้น หาใช่พระอรหัตตผลบั่นทอนไม่ แต่เป็นเพราะเพศฆราวาสไม่มีกำลังจะทรงคุณธรรมอันสูงสุดนั้นได้
อุปมาดังผู้บริโภคอาหารบริสุทธิ์ แต่บริโภคมากเกินส่วน ไฟธาตุย่อยไม่ไหว
การบริโภคนั้นก็ย่อมให้โทษแก่ร่างกาย ขอถวายพระพร นี่จะจัดว่าเป็นโทษของอาหารจะได้หรือไม่


ม. จัดเป็นโทษของอาหารไม่ได้เพราะอาหารนั้นบริสุทธิ์ แต่ต้องจัดว่าเป็นโทษของการบริโภค เพราะมากเกินไปจนไฟธาตุย่อยไม่ไหว
น. ฉันใดก็ฉันนั้น การที่ฆราวาสต้องนิพพาน ก็เพราะเพศฆราวาสไม่มีกำลังจะสามารถทรงพระอรหัตตผล ซึ่งเป็นคุณธรรมอันบริสุทธิ์ไว้ได้
ดังนั้น จะว่าพระอรหัตตผลบั่นทอนชีวิตฆราวาสผู้บรรลุแล้วหาได้ไม่ (คิหิอรหัตตปัญหา)


ม. พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว

ป้านุช 29-04-2009 12:18

๓.พระพุทธเจ้า

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระคุณเจ้าเคยเห็นพระพุทธเจ้าหรือไม่
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่เคยเห็น

ม. อาจารย์ของพระคุณเจ้าเล่า ได้เห็นพระองค์หรือไม่
น. อาจารย์ของอาตมภาพก็ไม่ได้เห็น

ม. ถ้าอย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็ไม่มี
น. ขอถวายพระพร พระองค์เคยเสด็จไปทอดพระเนตรสะดือทะเลที่กลางทะเลหรือไม่

ม. ข้าพเจ้าไม่เคยไปดู
น. พระชนกของพระองค์เล่า ได้เสด็จไปทอดพระเนตรบ้างหรือไม่

ม. พระชนกของข้าพเจ้าก็ไม่เคยเสด็จไปทอดพระเนตร
น. ถ้าอย่างนั้น สะดือทะเลก็ไม่มีมิใช่หรือ

ม. มีสิพระคุณเจ้า เป็นแต่พระชนกและข้าพเจ้าไม่เคยไปดูไปเห็นมา
น. ฉันใดก็ฉันนั้น อาจารย์และอาตมภาพไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้า เพราะเกิดไม่ทัน แต่ว่าพระพุทธเจ้ามีจริง
เหตุที่พึงจะนำมาพิสูจน์ในข้อนี้ คือโลกุตรธรรมที่พระองค์สั่งสอน ซึ่งพ้นวิสัยที่คนสามัญจะพึงคิดเห็นได้เอง
ต้องเฉพาะแต่ผู้ที่ได้อบรมความดีจนสติปัญญาแก่กล้าเท่านั้น จึงจะเป็นผู้รู้เห็นซึ่งธรรมอันประณีตเหล่านี้
ขอถวายพระพร เหตุว่ามีโลกุตรธรรมเป็นพยาน จึงได้รู้ว่าผู้ตรัสรู้ซึ่งได้พระนามว่าพระพุทธเจ้านั้นมีจริง (พุทธอัตถินัตถิภาวปัญหา)


ม. พระคุณเจ้าว่านี้ชอบแล้ว


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:55


ค้นหาในเว็บวัดท่าขนุน

เว็บวัดท่าขนุน Powered by vBulletin
Copyright © 2000-2010 Jelsoft Enterprises Limited.
ความคิดเห็นส่วนตัวทุก ๆ ข้อความในเว็บบอร์ดนี้ สงวนสิทธิ์เฉพาะเจ้าของข้อความ ไม่อนุญาตให้คัดลอกออกไปเผยแพร่ นอกจากจะได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของข้อความอย่างชัดเจนดีแล้ว