PDA

View Full Version : ภาพจักชัดหรือไม่ชัดไม่สำคัญ


ลัก...ยิ้ม
21-07-2010, 16:16
ภาพจักชัดหรือไม่ชัดไม่สำคัญ
ขอให้ใช้อารมณ์ปักตรงต่อพระนิพพานก็แล้วกัน


เมื่อวันอังคารที่ ๑๐ ก.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนไว้ ดังนี้

๑. “ร่างกายยิ่งเหนื่อยมากเท่าไหร่ ก็สมควรจักยิ่งซ้อมตาย ทิ้งร่างกายมากขึ้นเท่านั้น”

๒. “อารมณ์จับภาพพระนิพพาน แม้จักไม่แจ่มใสตามปกติ ก็จงพยายามกำหนดจิตขึ้นมาอยู่บนวิมานแห่งนี้ ภาพจักชัดหรือไม่ชัดไม่สำคัญ ขอให้ใช้อารมณ์ปักตรงต่อพระนิพพานก็แล้วกัน”

๓. “กิจการงานที่เจ้าทำ ก็ถือได้ว่าเป็นกิจพระพุทธศาสนา จงมีความภูมิใจ หากร่างกายมันจักตายลง ในขณะเหน็ดเหนื่อยในหน้าที่การงานนี้ ก็ถือว่าเพื่อพระพุทธศาสนา เป็นความดีที่เจ้าได้ทำอยู่ ตายก็ตายอยู่กับความดี จักตายครั้งสุดท้ายเพื่อพระนิพพาน หรือเพื่อความไม่เกิดไม่ดับอีก”

๔. “อย่าทำงานเหนื่อยแล้วทำจิตให้บ่น ทำเช่นนั้นเจ้าจักขาดทุน การบ่นเป็นอารมณ์ปฏิฆะ จัดเป็นอารมณ์ไม่พอใจ จงดูและกำหนดรู้ให้ดี ๆ จึงจักละซึ่งอารมณ์กามฉันทะและปฏิฆะได้”

๕. “พยายามละอารมณ์บ่นให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจักเป็นมโนกรรมหรือวจีกรรม บ่นเมื่อไหร่ถือว่าเจ้าพ่ายแพ้ต่ออารมณ์ปฏิฆะเมื่อนั้น เวลานี้รบกับอารมณ์ จักต้องตั้งใจต่อสู้กับอารมณ์ของจิตให้ดี ๆ ไม่ใช่สู้แบบไม่รู้จักหน้าค่าตาของศัตรู จักถูกเขาเอาดาบฟันตายอยู่รอมร่อแล้ว ยังมองไม่เห็นภัยของศัตรูอีก”

๖. “แยกแยะอารมณ์ให้ถูกตลอดวัน ตลอดเวลา อย่าเผลอ จักบอกว่าไม่รู้ไม่ได้ อารมณ์ของตน ตนเองไม่รู้ แล้วจักให้ใครที่ไหนช่วยรู้ได้ เมื่อรู้เองไม่ได้ ก็แก้ไขอารมณ์จิตของตนเองไม่ได้เหมือนกัน ชาตินี้ทั้งชาติเจ้าอย่าหวังได้พระอนาคามีผล ก็ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป อย่างนี้จักดีหรือ”

ลัก...ยิ้ม
22-07-2010, 10:57
๗. “กลัวการเกิดให้มาก ๆ อย่ากลัวความตาย อย่ากลัวความเหนื่อย อย่ากลัวความเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นอริยสัจ เป็นทุกขสัจของการมีอัตภาพร่างกายเป็นกฎของธรรมดา”

๘. “จงกำหนดจิตยอมรับกฎของธรรมดาหรืออริยสัจนี้เป็นชาติสุดท้าย ให้รู้จักเข็ดทุกข์อยู่ในจิต ไม่ขอกลับมาเกิดให้พบทุกข์เยี่ยงนี้อีก”

๙. “อย่าบ่นเมื่อทุกข์มาเยือน อย่าลิงโลดเมื่อสุขทางโลกมาเยือน จงพยายามทรงอารมณ์จิต ให้เบื่อหน่ายในอารมณ์กามฉันทะและปฏิฆะนั้น ๆ และทรงพรหมวิหาร ๔ ให้จิตมีกำลัง วางทุกข์ วางสุขนั้น ๆ โดยมีความรัก ความสงสารจิต ของตนเองเป็นประการสำคัญ”

๑๐. “หมั่นทรงอารมณ์เฉยเข้าไว้ *ใหม่ ๆ อาจจะทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็อย่าท้อแท้ใจ เฉยน้อย ๆ จักเป็นอารมณ์เฉยใหญ่ได้ในภายภาคหน้า* จนกระทั่งเข้าสู่สังขารุเบกขาญาณได้ในที่สุด”

๑๑. “อย่าลืมนึกถึงความตายเข้าไว้เสมอ เป็นการตัดอารมณ์กามฉันทะและปฏิฆะเข้าไว้ หากเจ้าคิดว่าร่างกายจักตายในขณะจิตนี้เสียอย่าง อารมณ์จักระงับได้ง่าย เพราะมัวแต่ตกเป็นทางของอารมณ์ ตายไปก็ไม่ถึงพระนิพพาน”

๑๒. “อย่าลืมคิดตามนี้ให้จิตมันชิน จักได้คลายความประมาทในธรรมที่เข้ามากระทบลงได้”

ลัก...ยิ้ม
22-07-2010, 10:58
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๖
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

หมายเหตุ คำว่า "สังขารุเบกขาญาณ" และ "สังขารุเปกขาญาณ".....ใช้ได้ทั้งคู่ ป.ปลามาจากบาลี บ.ใบไม้ มาจากภาษาไทย