PDA

View Full Version : พุทธคุณ ๕๖ ห้อง


วาโยรัตนะ
17-02-2009, 19:41
พุทธคุณ ๕๖ ห้อง มีอะไรซ่อนอยู่

กระผมตั้งใจ เก็บเกี่ยวเอาสิ่งที่แฝงอยู่ในบทพุทธคุณ มาแยกแยะตามตำราที่ได้ศึกษามา ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ได้อ่านที่"คุณอาคนเก่า"เขียนถึง

บทนารายณ์ต่าง ๆ แล้วมันนึกออกว่าควรจะเอาเรื่องนี้มาเผยแพร่ออกไป ตามตำราที่กระผมค้นคว้ามา และ ขออ้างอิงไปยังสหธรรมมิกผู้พี่ คือ "เจ้าพระยา(กรุงเก่า)" ก็เคยได้พิมพ์รจนาเอาไว้ในเว็บ ถ้ำเมืองนะ ที่ผ่านมาแล้ว

แลขออนุญาต เอ่ยนามหนังสือแลเอกสารอ้างเพื่อเป็นการแสดงความนบนอบแต่ครูบาอาจารย์ ผู้รจนาเรียบเรียงสืบกันมาตลอดจนบางส่วนนั้น

๑. ตำราพระเวทพิสดาร อ.เทพย์ สาริกบุตร (มีภาค ๑ ภาค๒)
๒. เพ็ชรรัตน์มหายันต์ ๑๐๘ อ.อุรคินทร์ วิริยะบูรณะ
๓. ๑๐๘ ยันต์ อ.อุรคินทร์ วิริยะบูรณะ
๔. พุทธเวทย์มหามนต์ อ.อ้น อริยวํโส
๕. อิติปิโสรัตนมาลา ฉบับชำระใหม่ ๒๕๑๒ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม
และข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ บ้างพอสมควรเท่าที่จะพึ่งหาพบตามวาระต่าง ๆ
จึงขอขมาต่อพระรัตนตรัยและครูบาอาจารย์ทั้งหลายหากมีความผิดพลาดประการใด ๆ ก็ตาม และหวังว่าจะมีประโยชน์ทางธรรมแก่ท่านทั้งหลาย ณ ที่นี้ ไม่มากก็น้อยขอรับ

วาโยรัตนะ
17-02-2009, 19:49
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

รวมแล้วมี ๕๖ คำ

บทสรรเสริญ พระพุทธคุณแปลได้ดังนี้
อิติปิโส ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๑. อรหัง ทรงเป็นพระอรหันต์ ห่างไกลจากกิเลส
๒. สัมมาสัมพุทโธ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ
๓. วิชชาจรณสัมปันโน ทรงถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ
๔. สุคโต ทรงเป็นผู้เสด็จไปดี
๕. โลกวิทู ทรงเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโลก
๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ ทรงเป็นผู้ฝึกคนอย่างยอดเยี่ยม
๗. สัตถา เทวมนุสสานัง ทรงเป็นศาสดาของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
๘. พุทโธ ทรงเป็นผู้ตื่นแล้ว (ทรงเป็นผู้ตื่นแล้ว จากกิเลสนิทรา)
๙. ภควา ทรงเป็นผู้จำแนกธรรม

วาโยรัตนะ
17-02-2009, 19:58
อนุสสติ ๑๐

อนุสสติ คือ อารมณ์ควรระลึก ๑๐ ประการ

๑. พุทธานุสติ ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า

๒. ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม

๓. สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์

๔. สีลานุสติ ระลึกถึงศีลของตน คือ ตรวจดูศีลที่ตนสมาทานไว้แล้ว ว่ามีข้อใดขาดหรือด่างพร้อยบ้าง ถ้าพบข้อที่ขาดหรือด่างพร้อยก็ผูกใจไว้ว่า จะสำรวมระวังต่อไป เมื่อเห็นว่าศีลของตนบริสุทธิ์ผุดผ่อง ก็พึงปิติยินดี

๕. จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาคแล้ว ให้เกิดความอิ่มเอิบใจ นึกว่าเป็นโชคของเราแล้วที่ได้บริจาคทาน อันเป็นการขัดเกลากิเลสด้วยการบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น เมื่อระลึกได้อย่างนี้จนจิตเกิดความปีติ

๖. เทวตานุสติ ได้แก่การระลึกถึงคุณธรรมที่ทำให้คนเป็นเทพ ได้แก่ ศรัทธา ศีล การฟังธรรม ทานและปัญญา ระลึกว่าเทพทั้งหลายได้บำเพ็ญธรรมเหล่านี้มาจึงได้ความเป็นเทพ ตัวเราเองก็มีคุณธรรมเหล่านี้แล้ว ระลึกอย่างนี้แล้วย่อมเกิดความปีติ

๗. มรณานุสติ ได้แก่การนึกถึงความตาย ว่าเราเองจักต้องตาย เมื่อระลึกถึงความตายย่อมทำให้จิตได้ความสังเวช สลดใจ ตื่นจากความมัวเมา

๘. กายคตาสติ ได้แก่การระลึกถึงอวัยวะร่างกาย ตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ จนถึงอุจจาระปัสสาวะ ให้เห็นว่าร่างกายนี้เป็นของปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด ร่างกายของเราฉันใด ร่างกายของคนอื่นก็ฉันนั้น เมื่อระลึกอย่างนี้จิตจะเกิดเป็นความเบื่อหน่าย คลายความกำหนัดยินดีในร่างกาย จิตจะถอนตัวจากราคะ

๙. อานาปานุสติ คือ กำหนดลมหายใจของตนเอง เอาสติบังคับจิตให้จดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ ตรงที่ลมผ่านช่องจมูก จะใช้วิธีนับลมเข้าลมออกด้วยก็ได้ จะใช้คำบริกรรมควบกับลมเข้าลมออกก็ได้ เมื่อปฏิบัติดังนี้ จิตจะถอนตัวจากอารมณ์อย่างอื่น ลดความฟุ้งซ่าน

๑๐. อุปสมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระนิพพาน ได้แก่ ระลึกถึงความดีของพระนิพพาน กล่าวโดยย่อคือ นึกถึงความสุขอันเกิดจากความสิ้นกิเลส ว่าเป็นความสุขที่แท้จริง เพราะดับเสียได้ซี่งตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การนึกถึงคุณพระนิพพานย่อมทำให้จิตยินดีในการละกิเลสและเห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร

จากแนวสอนธรรมะ ตามหลักสูตรนักธรรมตรี เรียบเรียงโดย พันเอก ปิ่น มุทุกันต์ หน้า ๓๘๖ - ๓๙๑


พุทธานุสสติ ได้แก่การน้อมจิตรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าคือ ระลึกถึงความดีอันมีอยู่ในพระองค์ ซึ่งมีอยู่ ๙ ประการ ตามนัยพระบาลีพุทธานุสติปาฐะ คือ บทสวด อิติปิโส ภควาฯ

วาโยรัตนะ
17-02-2009, 20:01
จากบทพระพุทธคุณ

อิติปิโส ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๑. อรหัง ทรงเป็นพระอรหันต์ ห่างไกลจากกิเลส
๒. สัมมาสัมพุทโธ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ
๓. วิชชาจรณสัมปันโน ทรงถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ
๔. สุคโต ทรงเป็นผู้เสด็จไปดี
๕. โลกวิทู ทรงเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโลก
๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ ทรงเป็นผู้ฝึกคนอย่างยอดเยี่ยม
๗. สัตถา เทวมนุสสานัง ทรงเป็นศาสดาของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
๘. พุทโธ ทรงเป็นผู้ตื่นแล้ว (ทรงเป็นผู้ตื่นแล้ว จากกิเลสนิทรา)
๙. ภควา ทรงเป็นผู้จำแนกธรรม


การน้อมจิตรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
คือ ระลึกถึงความดีอันมีอยู่ในพระองค์
ซึ่งมีอยู่ ๙ ประการ ตามนัยพระบาลี

อิติปิโส ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๑. อรหัง : อะ
๒. สัมมาสัมพุทโธ : สัง
๓. วิชชาจรณสัมปันโน : วิ
๔. สุคโต : สุ
๕. โลกวิทู : โล
๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ : ปุ
๗. สัตถา เทวมนุสสานัง : สะ
๘. พุทโธ : พุ
๙. ภควา : ภะ

โบราณาจารย์ผู้ทรงคุณ ได้ทรงถอดหัวใจพุทธคุณทั้ง ๙ เป็นอักขระ ๙ ตัว คือ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ
ในการลงเลขยันต์ โบราณจารย์จะลงเลข ๙ แทนหัวใจพุทธคุณ ๙

วาโยรัตนะ
18-02-2009, 03:26
พุทธคุณ ๕๖

อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจรณสัมปันโน สุคโต
โลกะวิทู อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ
สัตถาเทวะ มนุสสานัง พุทโธ ภควาติ

มีจำนวนอักขระคำ ทั้งหมด ๕๖ อักขระ
เท่าที่ได้อ่านและศึกษาบ้าง โบราณจารย์ท่านได้รจนา
พรรณา พุทธคุณไว้มากมาย ดั่งที่รจนาใน อิติปิโสรัตนมาลา

บทอิติปิโส หรือที่บ้างเรียกบทพุทธคุณ
โบราณจารย์ ได้นำอักษร มาร้อยเรียง
ไว้พิสดาร ลึกซึ้ง มากมาย จนมิอาจนำมาสาธยายได้หมด
ตลอดจนความพิสดาร ซับซ้อน บางส่วน ได้สูญหายไปในช่วง
คราวครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา ไปเป็นจำนวนมาก

จำนวนอักขระคำ ในห้องพุทธคุณทั้งหมด ๕๖ อักขระ
โบราจารย์ได้ร้อยเรียง ด้วยวิธี รูปแบบ หลายหลาก
แล รจนาอุปเท่ห์ ของแต่คาบบาท แต่ละบท เพื่อให้
ศิษยานุศิษย์ ได้ภาวนา แลศึกษา ดังต่อไป

ในรูปผมนำแบบเรียนภาษาขอมมาให้ศึกษากัน เพื่อเป็นเครื่องประกอบและคงเป็นประโยชน์ต่อหลายๆท่านที่ต้องการศึกษา

วาโยรัตนะ
18-02-2009, 03:28
เนื่องจากพุทธคุณ ๕๖ ห้องมีนัยยะทางเลขวิธี
ที่แบ่งหารได้ด้วย ๘ แล ๗ ดังนั้น การลงพุทธคุณ
ทั้ง ๕๖ จึงพบเห็นการลงเป็นตารางยันต์ โดยบ้าง
ที่ลง แนวขวาง ๗ แนวดิ่ง ๘
แลก็พบ แนวขวาง ๘ แนวดิ่ง ๗ ด้วยเช่นกัน

รูปแบบการลงพุทธคุณทั้ง ๕๖ มีการลงแบบซ้ายไปขวา
ลงแบบ บนลงล่าง ลงแบบตารางหมากรุก ลงกระทู ๗ แบก
ลงด้วยอิติปิโสถอยหลัง การลงสลับพลิกแพลง ก็มีการสลับ
อิติปิโสถอยหลัง แนวขวาง ๗ หรือ ๘

แลบ้างจะมีการนำหัวใจอื่นๆ มาลงล้อมตารางยันต์
บ้างนำมาลงเป็นมุมทิศ อุดร หรดี ทักษิณ ฯ


ตัวอย่างการลงอิติปิโส ห้องพุทธคุณ

อิ . ติ . ปิ . โส . ภะ . คะ . วา
อะ . ระ . หัง . สัม . มา . สัม . พุท
โธ . วิช . ชา . จะ . ระ . ณะ . สัม
ปัน . โน . สุ . คุ . โต . โล . กะ
วิ . ทู . อะ . นุต . ตะ . โร . ปุ
ริ . สะ . ธัม . มะ . สา . ระ . ถิ
สัต . ถา . เท . วะ . มะ . นุส . สา
นัง . พุท . โธ . ภะ . คะ . วา .ติ (ลงซ้ายไปขวา)

อิ . ระ . ชา . คะ . ตะ . ระ . สา
ติ . หัง . จะ . โต . โร . ถิ . นัง
ปิ . สัม . ระ . โล . ปุ . สัต . พุท
โส . มา . ณะ . กะ . ริ . ถา . โธ
ภะ . สัม . สัม . วิ . สะ . เท . ภะ
คะ . พุท . ปัน . ทู . ทัม . วะ . คะ
วา . โธ . โน . อะ . มะ . มะ . วา
อะ . วิช . สุ . นุต . สา . นุส . ติ (ลงบนลงล่าง)

อิ . ถา . สะ . โร . ปิ . สุ . โธ
มา . ตะ . ติ . โน . พุท . ปุ . โส
สะ . ปัน . เท . โธ . มะ . วิ . คะ
นุ . สะ . นุ . วา . นัง . ภะ . ริ
สะ . ถิ . พุท . วะ . ภะ . โต . ชา
หัง . อะ . คะ . สา . ติ . สะ . คะ
ระ . ณะ . วิ . อะ . มะ . จะ . โล
ทู . สา . ระ . ระ . กะ . วา .ทะ (ลงแบบตาหมากรุกม้า)

ติ . วา . คะ . ภะ . โธ . พุท . นัง . สา
นุส . มะ . วะ . เท . ถา . สัต . ถิ . ระ
สา . มะ . ทัม . สะ . ริ . ปุ . โร . ตะ
นุต . อะ . ทู . วิ . กะ . โล . โต . คะ
สุ . โน . ปัน . สัม . ณะ . ระ . จะ . ชา
วิช . โธ . พุท . สัม . มา . สัม . หัง
ระ . อะ . วา . คะ . ภะ . โส . ปิ . ติ . อิ (อิติปิโสถอยหลัง)

วาโยรัตนะ
18-02-2009, 03:51
อานุภาพหมวดอิติปิโส

อิติปิโสบท จงกำหนดนามธงชัย
มั่นภาวนาใจอาจหาญกล้าไม่เกรงกลัว
ศัตรูและหมู่ร้ายไม่กล้ำกรายมาข่มเหง
ไปไหนคนยำเกรง พอเห็นหน้านึกปราณี
ตื่นนอนเวลาเช้าจงตักเอาซึ่งวารี
เสกด้วยคาถานี้ แล้วล้างหน้าเป็นมงคล
จะประเสริฐเกิดศิริ สวัสดิคงให้ผล
ลาภยศมาสู่ตน จัญไรพ้นกายาเอย

ตำราพระเวทพิสดาร ภาค ๑ อาจารย์เทพ สาริกบุตร หน้า ๑๓๑

อิติปิโสรัตนมาลา

พระพุทธคุณ ๕๖
อิ-ติ-ปิ-โส-ภะ-คะ-วา อะ-ระ-หัง-สัม-มา-สัม-พุท-โธ วิช-ชา-จะ-ระ-ณะ-สัม-ปัน-โน
สุ-คะ-โต-โล-กะ-วิ-ทู-อะ-นุต-ตะ-โร-ปุ-ริ-สะ-ทัม-มะ-สา-ระ-ถิ-สัต-ถา-เท-วะ-มะ-นุส-สา-นังพุท-โธ-ภะ-คะ-วา-ติ.


๑. อิ. อิฏโฐสัพพัญญุตัญญานัง อิจฉันโตอาสะวักขะยัง
อิฏฐังธัมมังอะนุปปัตโต อิทธิมันตังนะมามิหัง

อิ.ภาวนากัน ดาบหอกสรรพศาสตรา
ห่อนจะต้อง ณ กาย ให้แคล้วคลาดนิราศภัย

๒. ติ. ติณโณโยวัฏฏะทุกขัมหา ติณณังโลกานะมุตตะโม
ติสโสภูมีอะติกกันโต ติณณะโอฆังนะมามิหัง

ติ.ใน ณ บทนี้ จะชักชี้ให้เข้าใจ
กันผีปีศาจภัย บ่มิหลอกมิหลอนเลย

วาโยรัตนะ
18-02-2009, 09:27
๓. ปิ. ปิโยเทวะมะนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม
ปิโยนาคะสุปัณณานัง ปิณินทริยังนะมามิหัง

ปิ.ภาวนานึก สติตรึกอย่าทำเฉย
สาระพัดเมตตาเคย ได้ใช้ลองเป็นของดี

๔. โส. โสกาวิรัตตะจิตโตโย โสภะนาโมสะเทวะเก
โสกัปปัตเตปะโมเทนโต โสภะวัณณังนะมามิหัง

โส.ภาวนากัน ศัตรูอันมุ่งราวี
ทุกข์โศกวิโยคมี พินาศสิ้นมลทินไกล

๕. ภะ. ภะชิตาเยนะสัทธัมมา ภัคคะปาเปนะตาทินา
ภะยะสัตเตปะหาเสนโต ภะยะสันตังนะมามิหัง

ภะ.ภาวนากัน ไข้เจ็บสรรโรคภัย
ศัตรูหมู่ร้ายใด มิอาจต่อรอราวี

๖. คะ. คะมิโตเยนะสัทธัมโม คะมาปิโตสะเทวะกัง
คัจฉะมาโนสิวังรัมมัง คะตะธัมมังนะมามิหัง

คะ.ภาวนาไว้ พยาธิภัยไม่ย่ำยี
บรรเทาสรรพโรคี ได้เคยภาวนากัน

๗. วา. วานานิกขะมิโยตัณหา วาจังภาสะติอุตตะมัง
วานะนิพพาปะนัตถายะ วายะมันตังนะมามิหัง

วา.ในบทนี้บอก ไม่ลวงหลอกดีขยัน
หมั่นภาวนากัน โจรผู้ร้ายมิได้กวน

๘. อะ. อะนัสสาสะกะสัตตานัง อัสสาสังเทติโยชิโน
อะนันตะคุณะสัมปันโน อันตะคามิงนะมามิหัง

อะ.ภาวนากัน เสือช้างอันจะรบกวน
มากน้อยนับประมวล อีกจระเข้และเหรา

๙. ระ. ระโตนิพพานะสัมปัตเต ระโตโยสัตตะโมจะเน
รัมมาเปตีธะสัตเตโย ระณะจัตตังนะมามิหัง

ระ.ภาวนากัน ศัตรูอันเหล่าพาล
คุณคนคุณผีสาง ระพัดสิ้นพนาศสูญ

๑๐. หัง. หัญญะติปาปะเกธัมเม หังสาเปติปะรังชะนัง
หังสะมานังมะหาวีรัง หันตะปาปังนะมามิหัง

หัง.ภาวนาเสก คุณาอเนกอนันต์พูล
สวัสดีเจริญจรูญ เมื่อเข้าสู่สงครามชัย

มีต่อนะครับ:96f0b971:

วาโยรัตนะ
18-02-2009, 09:41
๑๑. สัม. สังขะตาสังขะเตธัมเม สัมมาเทเสสิปาณินัง
สังสารังสังวิฆาเฏติ สัมพุทธันตังนะมามิหัง

สัม. ภาวนานึก ดีพิลึกท่านรำพรรณ์
สู่ศึกสงครามสรรพ์ อีกศัตรูไม่สู้หนี

๑๒. มา. มาตาวะปาลิโตสัตเต มานะถัทเธปะมัททิโต
มานิโตเทวะสังเฆหิ มานะฆาฏังนะมามิหัง

มา.ภาวนาไว้ หมั่นเสกใช้เป็นของดี
แก้คนใจแข็งมี มานะอ่อนผ่อนลงมา

๑๓. สัม. สัญจะยังปาระมีสัมมา สัญจิตะวาสุขะมัตตะโน
สังขารานังขะยังทิสวา สันตะคามิงนะมามิหัง

สัม.ในบทนี้ ตำรับชี้อย่ากังขา
เสกเสมอเมื่อกินยา ปัญญาดีทวีไว

๑๔. พุธ. พุชฌิตวาจะตุสัจจานิ พุชฌาเปติมะหาชะนัง
พุชฌาเปนตังสิวังมัคคัง พุทธะเสฏฐังนะมามิหัง

พุธ.ภาวนากัน เสนียดสรรพจัญไร
อุปเท่ห์สิ่งใด ๆ มิให้พ้องและพะพาน

๑๕. โธ. โธติราเคจะโทเสจะ โธติโมเหจะปาณินัง
โธตะเกลสังมะหาปุญญัง โธตาสะวังนะมามิหัง

โธ. ภาวนาไว้ กันภัยได้หลายประการ
แม้สุนัขที่ร้ายราน จะกัดขบไม่สพกาย

๑๖. วิช. วิเวเจติอะสัทธัมมา วิจิตะวาธัมมะเทสะนัง
วิเวเกฐิตะจิตโตโย วิทิตันตังนะมามิหัง

วิช.ในบทนี้ บรรยายชี้คุณาหลาย
กันศัตรูอันตราย พินาศแพ้มิแปรปรวน

๑๗. ชา. ชาติธัมโมชะราธัมโม ชาติอันโตปะกาสิโต
ชาติเสฏเฐนะพุทเธนะ ชาติมุตตังนะมามิหัง

ชา.ภาวนากัน คุณไสยสรรพทั้งมวล
ไม่มีมารบกวน กันกระทำไม่อำพราง

๑๘. จะ. จะเยติปุญญะสัมภาเร จะเยติสุขะสัมปะทัง
จะชันตังปาปะกัมมานิ จะชาเปนตังนะมามิหัง

จะ.พจน์บทยุคล ทำน้ำมนต์อุตมางค์
ประเปรยเกษาสาง อีกถ้อยความมิคร้ามใคร

๑๙. ระ. ระมิตังเยนะนิพพานัง รักขิตาโลกะสัมปะทา
ระชะโทสาทิเกลเสหิ ระหิตันตังนะมามิหัง

ระ.ภาวนากัน เสนียดสรรพจัญไร
ศัตรูหมู่โจรภัย บ่มิอาจมาเบียดเบียน

๒๐. ณะ. นะมิโตเยวะพรหเมหิ นะระเทเวหิสัพพะทา
นะทันโตสีหะนาทังโย นะทันตังตังนะมามิหัง

ณะ.บทนี้สำคัญ คุณานันต์ควรพากเพียร
ระงับโศกและโรคเตียน กันห่าลงไม่ปลงชนม์

วาโยรัตนะ
18-02-2009, 09:41
๒๑. สัม. สังขาเรติวิเธโลเก สัญชานาติอะนิจจะโต
สัมมานิพพานะสัมปัตติ สัมปันโนตังนะมามิหัง

สัม.นี้เป็นเอก รำถึงเสกคงเป็นผล
ใช้ทางเสน่ห์กล และเล่ห์ล้วนจะเหลือดี

๒๒.ปัน. ปะกะโตโพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐโสสะเทวะเก
ปัญญายะอะสะโมโหติ ปะสันนังตังนะมามิหัง

ปัน.บทนี้ภาวนา กันพาลาและภูติผี
ปีศาจเหล่ากาลี ไม่หลอนหลอกท่านบอกตรง

๒๓. โน. โนเทตินิระยังคันตุง โนจะปาปังอะการะยิ
โนสะโมอัตถิปัญญายะ โนนะธัมมังนะมามิหัง

โน.ภาวนาใช้ ลงของได้ตามประสงค์
กันสายฟ้าฟาดลง ในปฐพีไม่มีภัย

๒๔. สุ. สุนทะโรวะระรูเปนะ สุสะโรธัมมะภาสะเน
สุทุททะสังทิสาเปติ สุคะตันตังนะมามิหัง

สุ.ภาวนากัน อาวุธสรรพ์ใด ๆ
คุณว่านคุณยาไร แม้ต้องกายไม่วายปราณ

๒๕. คะ. คัจฉันโตโลกิยาธัมมา คัจฉันโตอะมะตังปะทัง
คะโตโสสัตตะโมเจตุง คะตัญญาณังนะมามิหัง

คะ.ภาวนาทำ น้ำมนต์ซ้ำประสนาน
ในของที่ต้องการ ซ้ำขายดีมีกำไร

๒๖. โต. โตเสนโตวะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเนสิเววะเร
โตสังอะกาสิชันตูนัง โตละจิตตังนะมามิหัง

โต.ภาวนาเสก ดีอย่างเอกอย่าสงสัย
เข้าหาเจ้านายใด ท่านโปรดปรานเป็นการดี

๒๗. โล. โลเภชะหะติสัมพุทโธ โลกะเสฏโฐคุณากะโร
โลเภสัตเตชะหาเปติ โลภะสันตังนะมามิหัง

โล.ภาวนาเป่า ศัตรูเหล่าที่ราวี
เห็นหน้ากลับปราณี ให้มีจิตคิดเมตตา

๒๘. กะ. กันโตโยสัพพะสัตตานัง กัตวาทุกขักขะยังชิโน
กะเถนโตมะธุรังธัมมัง กะถาสัณหังนะมามิหัง

กะ.ภาวนาซัด ข้าวสารเสกดีหนักหนา
ขับไล่ปีศาจ สาระพัดทั่วมันกลัวหนี

๒๙. วิ. วินะยังโยปะกาเสติ วิทธังเสตวาตะโยภะเว
วิเสสัญญาณะสัมปันโน วิปปะสันนังนะมามิหัง

วิ.ในบทนี่บ่ง ทั้งอยู่คงไม่ราคี
เสกข้าวกินเหลือดี อีกกันผีไม่สิงกาย

๓๐. ทู. ทูเสสัตเตปะหาเสนโต ทูรัฏฐาเนปะกาสะติ
ทูรังนิพพานะมาคัมมะ ทูสะหันตังนะมามิหัง

ทู.บทนี้ภาวนา ทางเมตตาดีมากหลาย
เป็นที่รักแก้หญิงชาย ทุกถ้วนหน้าประชาชน

วาโยรัตนะ
18-02-2009, 09:42
๓๑. อะ. อันตังชาติชะราทีนัง อะกาสิทิปะทุตตะโม
อะเนกุสสาหะจิตเตนะ อัสสาเสนตังนะมามิหัง

อะ.นี้ภาวนา หมั่นตรึกตราเป็นมงคล
ศัตรูแม้ไม่ได้ยล กลับยินดีแลปรีดา

๓๒. นุต. นุเทติราคะจิตตานิ นุทาเปติปะรังชะนัง
นุนะอัตถังมะนุสสานัง นุสาสันตังนะมามิหัง

นุต.บทนี้ก็ดีหลาย กันผู้ร้ายดีนักหนา
อีกสรรพโรคา พินาศหายไม่กรายกวน

๓๓. ตะ. ตะโนติกุสะลังกัมมัง ตะโนติธัมมะเทสะนัง
ตัณหายะวิจะรันตานัง ตัณหาฆาฏังนะมามิหัง

ตะ.ภาวนาเสก ใช้ปลุกเลขยันต์หลายขบวน
อีกเสกเครื่องครดควร เมื่อรบศึกเป็นมงคล

๓๔. โร. โรเสนโตเนวะโกเปติ โรเสเหวะนะกุชฌะติ
โรคานังราคะอาทีนัง โรคะหันตังนะมามิหัง

โร.ภาวนาใช้ เมื่อยามใคร่จรดล
เสกลงเครื่องคงทน ทั้งแก้กันสรรภัย

๓๕. ปุ. ปุณันตังอัตตะโนปาปัง ปุเรนตังทะสะปาระมี
ปุญญะวันตัสสะราชัสสะ ปุตตะภูตังนะมามิหัง

ปุ.ภาวนาดับ พิษตะขาบอันเกรียงไกร
แมลงป่องต้องเหล็กใน พิษถอนห่างบางบรรเทา

๓๖. ริ. ริปุราคาทิภูตังวะ ริทธิยาปะฏิหัญญะติ
ริตตังกัมมังนะกาเรตา ริยะวังสังนะมามิหัง

ริ.ภาวนามี อำนาจดียิ่งไม่เบา
ชายหญิงเห็นหน้าเรา นึกเกรงขามครั่นคร้ามกลัว

๓๗. สะ. สัมปันโนวะระสีเลนะ สะมาธิปะวะโรชิโน
สะยัมภูญาณะสัมปันโน สัณหะวาจังนะมามิหัง

สะ.นี้หมั่นระลึก ภาวนานึกไม่ชั่ว
เทวดารักษาตัว ศรีสวัสดิ์สถาพร

๓๘. ทัม. ทันโตโยสะกะจิตตานิ ทะมิตะวาสะเทวะกัง
ทะทันโตอะมะตังเขมัง ทันตินทริยังนะมามิหัง

ทัม.ภาวนาเสก นุ่งห่มผ้าเมื่อยามจร
เจริญศรีนิรันดร ทั้งโพกเศียรคุณอนันต์

๓๙. มะ. มะหุสสาเหนะสัมพุทโธ มะหันตังญาณะมาคะมิ
มะหิตังนะระเทเวหิ มะโนสุทธังนะมามิหัง

มะ.บทนี้ภาวนา เสกมาลาไว้ทัดกรณ์
เป็นศรีสง่านิรันดร เสน่ท์ทั่วทุกตัวคน

๔๐. สา. สารังเทตีธะสัตตานัง สาเรติอะมะตังปะทัง
สาระถีวิยะสาเรติ สาระธัมมังนะมามิหัง

สา.ภาวนากัน ฝังอาถรรพ์แลเวทมนต์
กันอาวุธเมื่อเข้ารณ ณะรงค์ดีมักมีชัย

วาโยรัตนะ
18-02-2009, 09:42
๔๑. ระ. รัมมะตาริยะสัทธัมเม รัมมาเปติสะสาวะกัง
รัมเมฐาเนวะสาเปนตัง ระณะหันตังนะมามิหัง

ระ.ภาวนาหมั่น ทุกอย่างสรรพสัตว์ใด
เสือช้างวัวควายไกล ไม่ทำร้ายและย่ำยี

๔๒. ถิ. ถิโตโยวะระนิพพาเน ถิเรฐาเนสะสาวะโก
ถิรังฐานังปะกาเสติ ถิตังธัมเมนะมามิหัง

ถิ.ภาวนาเสก ข้าวกินเอกเป็นอย่างดี
สารพัดคงทนมี ศรีสวัสดิ์ทุกอัตรา

๔๓. สัต. สัทธัมมังเทสะยิตวานะ สันตะนิพพานะปาปะกัง
สะสาวะกังสะมาหิตัง สันตะจิตตังนะมามิหัง

สัต.ภาวนากัน เมื่อนอนนั้นเป็นอัตรา
กันโจรเหล่าพาลา ไม่ทำร้ายนิราศพลัน

๔๔. ถา. ถานังนิพพานะสังขาตัง ถาเมนาธิคะโตมุนิ
ถาเนสัคคะสิเวสัตเต ถาเปนตังตังนะมามิหัง

ถา.ภาวนานึก เมื่อข้าศึกสงครามขัน
กันอาวุธและภยัน ตรายดีไม่มีภัย

๔๕. เท. เทนโต โย สัคคะนิพพานัง เทวะมะนุสสะปาณินัง
เทนตัง ธัมมะวะรัง ทานัง เทวะเสฏฐัง นะมามิหัง

เท.บทนี้ภาวนา เป็นคาถาเสกเทียนไชย
เป็นสวัสดิ์วิลัย แต่ล้วนเลิศเป็นมงคล


๔๖. วะ. วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง อะนาสะวัง
วันทิตัง เทวะพรหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง

วะ.ภาวนาใช้ เสกดอกไม้อย่าฉงน
ทัดกรรณ์เป็นมงคล ประชาชนมีเมตตา

๔๗. มะ. มะหะตาวิริเยนาปิ มะหันตังปาระมิงอะกา
มะนุสสะเทวะพรหเมหิ มะหิตันตังนะมามิหัง

มะ.ภาวนาดี เมื่อขับขี่ช้างอาชา
จรลีลงนาวา มีเดชล้ำไม่อำพราง

๔๘. นุส. นุนะธัมมังปะกาเสนโต นุทะนัตถายะปาปะกัง
นุนะทุกขาธิปันนานัง นุทาปิตังนะมามิหัง

นุส.ภาวนาบ่น ประเสริฐล้นอย่าอางขนาง
ชนช้างเดชอตุมางค์ สวัสดีมีชัย

๔๙. สา. สาวะกานังนุสาเสติ สาระธัมเมจะปาณินัง
สาระธัมมังมะนุสสานัง สาสิตันตังนะมามิหัง

สา.บทนี่เสกหมาก กินประเสริฐอย่าสงสัย
เสน่หาไม่ว่าใคร ได้เคยลองเป็นของดี

๕๐. นัง. นันทันโตวะระสัทธัมเม นันทาเปติมะหามุนิ
นันทะภูเตหิเทเวหิ นันทะนียังนะมามิหัง

นัง.บทนี้ใช้เสก สังวาลย์สวมเป็นราศี
เสกลูกประคำดี มีเดชล้ำเหลือรำพรรณ

วาโยรัตนะ
18-02-2009, 09:42
๕๑. พุท. พุชฌิตาริยะสัจจานิ พุชฌาเปติสะเทวะกัง
พุทธะญาเณหิสัมปันนัง พุทธังสัมมานะมามิหัง

พุท.ภาวนาใช้ กันภัยได้ทุกสิ่งสรรพ
ประเสริฐคุณานันต์ อุดมชี้คดีแสดง

๕๒. โธ. โธวิตัพพังมะหาวีโร โธวันโตมะละมัตตะโน
โธวิโตปาณินังปาปัง โธตะเกลสังนะมามิหัง

โธ.ภาวนาเสก กินยาเอกอย่าหน่ายแหนง
เสกปลุกเครื่องรางแรง พระเวทย์มนต์ดลบันดาล

๕๓. ภะ. ภะยะมาปันนะสัตตานัง ภะยังหาเปตินายะโก
ภะเวสัพเพอะติกกันโต ภะคะวันตังนะมามิหัง

ภะ.บทนี้ใช้เสก อาวุธถือดูอาจหาญ
แสนสวัสดิ์สำราญ นิราศภัยมิได้มี

๕๔. คะ. คะหิโตเยนะสัทธัมโม คะตัญญาเณนะปาณินัง
คะหะณิยังวะรังธัมมัง คัณหาเปนตังนะมามิหัง

คะ.ภาวนาใช้ เมื่อจะไปสู้พราห์มชี
ล้วนเสิศประเสริฐศรี ศิริสวัสดิ์เป็นมงคล

๕๕. วา. วาปิตังปะวะรังธัมมัง วานะโมกขายะภิกขุนัง
วาสิตังปะวะเรธัมเม วานะหันตังนะมามิหัง

วา.ภาวนานึก สติตรึกอย่าฉงน
สู่หาขุนนางยล มักเมตตาและกรุณา

๕๖. ติ. ติณโณโยสัพพะปาเปหิ ติณโณสัคคาปะติฏฐิโต
ติเรนิพพานะสังขาเต ติกขะญาณังนะมามิหัง

ติ.ภาวนากัน ทุกสิ่งสรรพอเนกคุณ
ทุกข์โศกโรคอดุล บันดาลดับระงับเอย



ฉัปปัญญาสะ พุทธะคาถา พุทธะคุณา สุคัมภิรา
เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.

อภิวาท, แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น , ผู้มีญาณวิเศษอันหลักแหลมคมกล้า พระพุทธคุณคาถารวม ๕๖ พระคาถา แสดงถึงพระพุทธคุณอย่างลึกซึ้ง ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธคุณทั้งหลาย ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ในกาลทั้งปวงตลอดกาลเป็นนิตย์ด้วย เทอญ ..

วาโยรัตนะ
18-02-2009, 23:22
บท อิติปิโส ถอยหลัง เมื่อสมัยพุทธกาล มีเหล่าพระสงฆ์อยู่กลุ่มหนึ่งได้ออกธุดงค์ไปในป่าเขาแห่งหนึ่งซึ่งเป็นป่าที่ว่ากันว่า
ไม่มีนักบุญท่านใดอยู่ได้นาน เพราะมักจะมีเหล่าอสูรกายมาหลอกหลอน ให้ตบะพังจนสติแตกอยู่ร่ำไป
พระสงฆ์กลุ่มนี้ได้ปักกลด และจำศีลอยู่ที่นั่น ซึ่งมีกันทั้งหมด ๘ องค์ ตกกลางคืน
เหล่าอสูรกายก็ออกฤทธิ์ ทั้งหัวเราะทั่วหุบเขา ทั้งแปลงเป็นผี ควักไส้พุง ตาถลน
ทั้งหมดกลัวสุดขีดแต่ได้ตั้งสติและสวดมนต์ โดยเฉพาะอิติปิโส แต่พอสวด
อสูรกายกลับกลายร่างเป็นยักษ์โล้น (ร่างแท้ ๆ) ปัดกลดกระเด็นไปคนละทิศละทาง
ทั้งหมดทุกท่านโกย..โกยเถอะโยม..ม และนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า ได้ให้บทสวด อิติปิโส แต่ให้สวดถอยกลับ เพื่อไปปลดปล่อยยักษ์ตนนั้นที่หวงที่
เหล่าพระสงฆ์เหล่านั้น ก็กลับไปที่เดิม ตกกลางคืน มาอีกหนักกว่าครั้งที่แล้ว
ทั้งพายุห่าฝนทั้งฟ้าผ่า และมันกำลังจะกระทืบไปที่เหล่าพระสงฆ์กลุ่มนั้น
ทั้งหมดห้อมล้อมและท่องอิติปิโสถอยหลัง ยักษ์ตนนั้น ปวดหัวทรมานอย่างแรง
จนต้องอ้อนวอนให้พระสงฆ์กลุ่มนั้นหยุดท่องคาถานี้ หัวหน้าคณะได้ให้ยักษ์สาบานด้วยวาจาสัตย์ว่าต้องไม่ทำร้ายใครอีก
และต้องจำศีลเพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารที่เป็นอยู่นี้ ยักษ์จึงตกลง..
และในที่สุดก็มาเป็นบทคาถาบทหนึ่งที่ไม่ใช่แค่คุ้มครองผู้สวดแล้ว
ยังป้องกันภัยอันตรายทั้งหลาย ยามจำเป็นต้องพักในที่ที่เราไม่คุ้นเคย...

คาถาบทนี้มี ๕๖ ตัว ให้ภาวนา ๓ หรือ ๗ คาบ ก่อนออกเดินทางไปสารทิศใด ๆ
จะแคล้วคลาดปราศจากทุกภัยพิบัติทั้งปวง หากภาวนาได้ครบ ๑๐๘ คาบติดต่อกัน
จะมีตัวเบา เดินตัวปลิว เสกหรือสะเดาะเคราะห์ สะเดาะกุญแจ หรือโซ่ตรวนของจองจำทั้งปวงได้สิ้น

คาถาอิติปิโสถอยหลัง

ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา
นุส มะ วะ เท ถา สัต ถิ ระ
สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ
นุต อะ ทู วิ กะ โล โต คะ
สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา
วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง
ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ ฯ

วาโยรัตนะ
18-02-2009, 23:24
พระอิติปิโส ๘ ทิศ

บทที่ ๑ ... อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา ... ทิศบูรพา บทนี้ชื่อ ธงชัยกระทู้เจ็ดแบก

บทที่ ๒ ... ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง ... ทิศอาคเนย์ บทนี้ชื่อ ฝนแสนห่า

บทที่ ๓ ... ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท ... ทิศทักษิณ บทนี้ชื่อ นารายณ์เคลื่อนสมุทร

บทที่ ๔ ... โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ ... ทิศหรดี บทนี้ชื่อ นารายณ์ถอนจักร์

บทที่ ๕ ... ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ ... ทิศประจิม บทนี้ชื่อ นารายณ์ขว้างจักร์ตรึงไตรภพ

บทที่ ๖ ... คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ ... ทิศพายัพ บทนี้ชื่อ นารายณ์พลิกแผ่นดิน

บทที่ ๗ ... วา โธ โน อะ มะ มะ วา ... ทิศอุดร บทนี้ชื่อ ตวาดฟ้า ป่าหิมพานต์

บทที่ ๘ ... อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ ... ทิศอิสาน บทนี้ชื่อ นารายณ์แปลงรูป


จำแนกกำลัง อุปเท่ห์ ตามวัน

บทที่ ๑ ประจำทิศบูรพา (ตะวันออก) คนเกิดวันจันทร์ สวดวันละ ๑๕ จบ ทางคงกระพัน

บทที่ ๒ ประจำทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) คนเกิดวันอังคาร สวดวันละ ๘ จบ ทางเมตตามหานิยม

บทที่ ๓ ประจำทิศทักษิณ (ใต้) คนเกิดวันพุธกลางวัน สวดวันละ ๑๗ จบ ใช้เสกปูนสูญฝี

บทที่ ๔ ประจำทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) คนเกิดวันเสาร์ สวดวันละ ๑๐ จบ ถอดถอนคุณไสยศาสตร์

บทที่ ๕ ประจำทิศประจิม (ตะวันตก) คนเกิดวันพฤหัส สวดวันละ ๑๙ จบ ทางเมตตามหานิยม

บทที่ ๖ ประจำทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) คนเกิดวันพุธกลางคืน สวดวันละ ๑๒ จบ ใช้แก้ความผิดต่าง ๆ

บทที่ ๗ ประจำทิศอุดร (เหนือ) คนเกิดวันศุกร์ สวดวันละ ๒๑ จบ ทางเมตตามหานิยม

บทที่ ๘ ประจำทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) คนเกิดวันอาทิตย์ สวดวันละ ๖ จบ ทางเมตตามหานิยม

ถ้าจะใช้เป้นบท ๆ ให้ใช้ดังนี้

บท "กระทู้ ๗ แบก ... อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา ... " เสกข้าวกินอยู่คงทน สารพัดอาวุธทั้งสิ้น ทำอันตรายมิได้ ภาวนาเข้าสู้ช้าง อาจจะง้างจับงาหักกำลังหนัก ๗ ช้างสาร ดับพิษไฟสารพันพิษทุกสิ่ง ให้เอาเถ้าผีตายวันเสาร์ เผาวังอังคารมาผสมกับชะมดพิมเสนทำเป็นรูปคนเอาผ้าขาวคลุมไว้ จึงเอาเหล้าข้าวเสน เสกด้วยคาถาบทนี้ ๑๐๘ คาบ
สารพัดใช้ได้ดังใจปรารถนา อยู่ทิศบูรพาแลท่านเอ๋ย

วาโยรัตนะ
19-02-2009, 07:40
เคยเก็บบทสวดอิติปิโสต่าง ๆไว้ด้วยความสงสัย
ทั้งอิติปิโสเต็ม อิติปิโสธงชัย พระคาถาอิติปิโส ๘ ทิศ อิติปิโสถอยหลัง อิติปิโสแปลงรูป อิติปิโสตรึงไตรภพ
ตลอดจนอิติปิโสรัตนมาลา... โดยไมมึความรู้แต่ประการใด... ขอโมทนาบุญที่ให้ความรู้
และขอถามส่วนของอิติปิโสรัตนมาลาว่า นอกจากห้องพระพุทธคุณ ๕๖ คาถาแล้ว
ห้องพระธรรมคุณ ๓๘ คาถา และห้องพระสังฆคุณ ๑๔ คาถา
มีข้อมูลอย่างไร ความหมาย ที่มาและผลของการสวดแต่ละห้อง หรือจนจบทั้ง ๓ ห้องเป็นอย่างไร
ถามแบบคนไม่รู้เรื่องเอาเสียเลยจริง ๆ:efb50fe2:


ยังไม่จบเพียงเท่านี้นะครับ ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมกันอีกต่อไป กระผมตั่งใจถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แก่พระรัตนตรัยและครูบาอาจารย์ทั้งหลายขอรับ ก็ติดตามกันต่อไปครับ.

วาโยรัตนะ
19-02-2009, 07:52
ถ้าจะใช้เป็นบท ๆ ให้ใช้ดังนี้

บท "กระทู้ ๗ แบก ... อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา ... " เสกข้าวกินอยู่คงทน สารพัดอาวุธทั้งสิ้น ทำอันตรายมิได้ ภาวนาเข้าสู้ช้าง อาจจะง้างจับงาหักกำลังหนัก ๗ ช้างสาร ดับพิษไฟสารพรรณพิษทุกสิ่ง ให้เอาเถ้าผีตายวันเสาร์ เผาวังอังคารมาผสมกับชะมดพิมเสนทำเป็นรูปคนเอาผ้าขาวคลุมไว้ จึงเอาเหล้าข้าวเสน เสกด้วยคาถาบทนี้ ๑๐๘ คาบ
สารพัดใช้ได้ดังใจปรารถนา อยู่ทิศบูรพาแลท่านเอ๋ย


บท"อาคเนย์ฝนแสนห่า... ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง ..." ใช้ภาวนาคราเดินทาง ถึงเดินสิ้นทั้งวัน เรื่องนํ้านั้นอย่าระคาง เสกหมากรับประทานพลาง สิบห้าคําอ้างกินเรื่อยไป แม้นใคร่ให้มีฝน อย่าร้อนรนจงใจเย็น ให้เสกไส้เทียนชัย เสกให้ได้แสนเก้าพัน แล้วให้นึกเทเวศ ผู้เรืองเดชในสวรรค์ อิทร์พรหมสิ้นด้วยกัน ตลอดจนถึงชั้นอะกะนิฏฐ์ ฝนก็จะตกหนัก เพราะอารักษ์อันศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีโรคอันวิปริต จงพินิจพิจารณา เอาทํานํ้ามนต์ แล้วพรํ่าบ่นด้วยคาถา เสกพ่นสัก ๗ ครา มิทันช้าก็จักหาย อาคเนย์นามทิศศา จงหันหน้าไปโดยหมาย เคารพครูบรรยาย แล้วจึงร่ายคาถาเอย


บท "นารายณ์กลืนสมุทร ฤทธิรุททิศทักษิณ... ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท ..." เรื่องฝีเกลื่อนหายสิ้น ไม่ต้องกินเสกพริกไทย เจ็ดเม็ดเสกเจ็ดหน แล้วจงพ่นลงทันใด สามครั้งก็จะหาย สมดังใจจํานง อนึ่งใช้เสกปูน สําหรับสูญฝีหัวลง มิช้าฝีก็คง ยุบย่อลงในบัดใด ภาวนาลงกระดาษ อย่าประมาทจงตั้งใจ ฟั่นเทียนเอาทําไส้ เทียนนั้นไซร้หนึ่งบาทหนา ลงคาถาล้อมให้รอบ ตามระบอบอย่ากังขา เท่ากําลังเทวดา ตามชันษาผู้เป็นไข้ แล้วจุดบูชาพระ อย่าได้ละภาวนาไป มิช้าไข้นั้นไซร้ จะหายดังปลิดทิ้ง



บท "หรดีพึงสําเหนียก มีชื่อเรียกเป็นสองอย่าง คือนารายณ์คลายจักรอ้าง กับ อีกทั้งพลิกแผ่นดิน... โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ ... " มีฤทธิ์และศักดา ทั้งเดชาและโกสินทร์ ภาวนาเป็นอาจิณ ยําเกรงสิ้นเหล่าศัตรู รําลึกแต่ในใจ ข้าศึกไซร้ปืนสู้ หย่อนกําลังพรั่งพรู ไม่คิดสู้เราต่อไป ถึงแม้คนใจกล้า พอเห็นหน้าก็อ่อนไป ครูเฒ่าท่านสอนไว้ แม้สิ่งใดมีประสงค์ สิ่งนั้นพลันต้องได้ สมดังใจจํานง เพราะคาถาเป็นมั่นคง อย่างวยงงจงบูชา คุณครูผู้บรรยาย ท่านเร่ย้ายหรดีทิศา เมื่อจะภาวนา จงหันหน้าทางนั้นเอย



บท"ทิศประจิมนามประหลาด ชื่อตวาดหิมพานต์ ... ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ ... "มีเดชอันห้าวหาญ ดุจช้างสารไม่กลัวตาย พบช้างและปะเสือ ที่ดุเหลือทั้งโคควาย อีกทั้งโจรดุร้าย ก็อย่าได้นึกกลัวมัน จงนิ่งภาวนา พระคาถาไปฉับพลัน เป็นมหาจังงังอัน วิเศษยิ่งอย่ากริ่งใจ สัตว์ร้ายและคนพาล ไม่อาจหาญเข้ามาใกล้ ให้แคล้วให้คลาดไป จงท่องไว้ทั้งเช้าคํ่า อนึ่งเมื่อภาวนา จงหันหน้าอย่าถลํา ทิศประจิมจงจดจํา ดังแนะนําดังนั้นเอย


บท"พายัพนามทิศ มหิทฤทธิ์นั้นมากนัก ชื่อว่านารายณ์กลืนจักร์... คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ ... "มีฤทธิ์ศักดิ์นั้นย้อนยอก ครูเฒ่าท่านกล่าวมา ถ้าแม้นลูกไม่ออก เอานํ้าใส่ขันจอก แล้วเปล่งออกซึ่งวาจา เสกนํ้าทํานํ้ามนต์ ร้อยแปดหนด้วยคาถา ให้กินอย่ารอช้า พรหมกายาตลอดศรีษ์ บุตรน้อยจะค่อยเคลื่อน ขยัยเขยื้อนเคลื่อนอินทรีย์ สะเดาะเสกวารี หากไม่มีนํ้ากระสาย จงเป่าด้วยคาถา ไม่ทันช้าหลุดกระจาย ครูประสิทธิ์บรรยาย ท่านเร่ย้ายอยู่พายัพ เพื่อเป็นการคํานับ ตามตํารับอาจารย์เอย


บท"นารายณ์ขว้างจักร์นี้เลิศลบ อีกนามหนึ่งตรึงไตรภพ ... วา โธ โน อะ มะ มะ วา ... "สองชื่อย่อมลือจบ ทั่วพิภพเรืองเดชา ภาวนาสูดลมไป ว่าให้ได้สักสามครา คอยดูที่ฉายา ถ้าเห็นเงาว่าหายไป ครานั้นจงชื่นชม คนนับหมื่นหาเห็นไม่ บังตาหายตัวได้ ครูกล่าวไว้เร่งบูชา หันพักตร์สู่อุดรทิศ แล้วตั้งจิตภาวนา ตามบทพระคาถา ที่กล่าวมาแต่ต้นเอย


บท"อิสานนามแถลง นารายณ์แปลงรูป... อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ ..."โดย หมาย ภาวนาอย่าระคาย ศัตรูร้ายแปลกเราไป เมื่อจะสะเดาะแล้วไซร้ เสกให้ได้ร้อยแปดคาบ ตั้งใจให้แน่วแน่ ครั้นถ้วนแล้วเป่ากระหนาบ ต้องหลุดอย่างราบคาบ ได้เคยปราบเห็นประจักษ์ ถ้าชอบทางเสน่ห์ ทําเป็นเล่ห์ให้เขารัก นํ้าหอมอย่าหอมนัก จงรู้จักที่อย่างดี แล้วเสกให้บ่อย ๆ อย่างน้อย ๆ ๑๐๘ ที แล้วเก็บไว้ให้ดี ถึงคราวที่จะต้องใช้ เสกอีกสักเจ็ดหน ประกายตนแล้วจึงไป เป็นเสน่ห์แก่ผู้ใช้ ทั้งหญิงชายทุกภาษา ไม่ว่าคนชั้นไหน แต่พอได้เห็นพักตรา ให้รักด้วยเมตตา ประหนึ่งว่าเป็นลูกหลาน แคล้วคลาดเหล่าศัตรู สิ้นทั้งหมู่อันธพาล ครูอยู่ทิศอิสาน จงนมัสการและบูชาเอย
ยังไม่สมบูรณ์นะครับเดี๋ยวมาเพิ่มเติมต่อ

วาโยรัตนะ
19-02-2009, 12:21
พระอิติปิโสถอด

อิ ติ ติ วา ปิ คะ โส ภะ ภะ โธ คะ พุท วา นัง
อะ สา ระ นุส หัง มะ สัม วะ มา เท สัม ถา พุท สัต
โธ ถิ วิช ระ ชา สา จะ มะ ระ ทัม ณะ สะ สัม ริ
ปัน ปุ โน โร สุ ตะ คะ นุต โต อะ โล ทู กะ วิ
บทนี้เรียกว่า "นารายณ์ตรึงไตรภพ"

วิ กะ โล ทู โต อะ คะ นุต สุ ตะ โน โร ปัน ปุ
สัม ริ ณะ สะ ระ ทัม จะ มะ ชา สา วิช ระ โธ ถิ
พุท สัต สัม ถา มา เท สัม วะ หัง มะ ระ นุส อะ สา
วา นัง คะ พุท ภะ โธ โส ภะ ปิ คะ ติ วา อิ ติ
บทนี้เรียกว่า""นารายณ์แปลงรูป"

พระคาถาอิติปิโสถอดสองบทนี้คู่กัน บางตำราท่านเรียกว่าอิติปิโสนารายณ์ตรึงไตรภพ และ อิติปิโสนารายณ์แปลงรูป ถอดโดยกลบทอนุโลมปฏิโลม ผู้ใดได้พบพระอิติปิโสถอดนี้ท่านว่าผู้นั้นมีบุญประเสริฐยิ่งแล เป็นแม่บทใหญ่ของการถอดอิติปิโส ให้เสกน้ำมนต์อาบชำระตัว จะทำการสิ่งใดก็ประสิทธิแล ถ้าจะให้ตัวเล็กเท่าแมลงวันให้ภาวนา ๑๐๘ จบ ปราราถนาเอาเถิด คนเห็นตัวเราเล็กเท่าแมลงวัน และถ้าจะให้ตัวเราสูงใหญ่ให้ไปนั่งพิงต้นไม้ใหญ่บริกรรมพระคาถานี้ เขาเห็นตัวเราสูงใหญ่เท่าต้นไม้แล พระอิติปิโสบทนี่ให้ค้นหาอุปเท่ห์เอาเถิดใช้ได้มากมายนักแล

วาโยรัตนะ
19-02-2009, 12:26
อิติปิโสย้ายรูป

อิ ติ คะ วา โธ วิช กะ วิ
ปิ ภะ อะ พุท ชา โล ทู ระ
โส ระ สัม จะ โต อะ สา ถิ
หัง มา ระ คะ นุต มะ สัต นัง
สัม ณะ สุ ตะ ทัม ถา สา พุท
สัม โน โร สะ เท นุส โธ วา
ปัน ปุ ริ วะ มะ ภะ คะ ติ
(จากจุดเริ่มต้นอ่านเฉียงขึ้นบนลงล่างไปมาทางขวาไปยังจุดสุดท้ายจนจบ)

- อิติปิโสย้ายรูปถอยหลัง

ติ วา พุท นัง ถิ ระ วิ กะ
คะ โธ สา สัต สา ทู โล วิช
ภะ นุส ถา มะ อะ โต ชา โธ
มะ เท ทัม นุต คะ จะ พุท วา
วา สะ ตะ สุ ระ สัม อะ คะ
ริ โร โน ณะ มา ระ ภะ ติ
ปุ ปัน สัม สัม หัง โส ปิ อิ
(จากจุดท้ายสุดอ่านเฉียงขึ้นบนลงล่างไปมาทางซ้ายไปยังจุดเริ่มต้นจนจบ)


- อิติปิโสภุชฌงค์ซ่อนหัว หรือ ส้อนหัว

ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง
อะ ทู วิ กะ โล โต สา
นุต สัม มา สัม หัง คะ นุส
ตะ พุท ปิ ติ ระ สุ มะ
โร โธ โส อิ อะ โน วะ
ปุ วิช ภะ คะ วา ปัน เท
ริ ชา จะ ระ ณะ สัม ถา
สะ ทัม มะ สา ระ ถิ สัต
(เริ่มจากตรงกลางอ่านทวนเข็มนาฬิกาไล่ไปจนถึงขอบจนจบ)


อิติปิโสภุชฌงค์ซ่อนหาง หรือ ส้อนหาง

อิ ติ ปิ โส ภะ คะ วา
โต โล กะ วิ ทู อะ อะ
คะ ถา เท วะ มะ นุต ระ
สุ สัต คะ วา นุส ตะ หัง
โน ถิ ภะ ติ สา โร สัม
ปัน ระ โธ พุท นัง ปุ มา
สัม สา มะ ทัม สะ ริ สัม
ณะ ระ จะ ชา วิช โธ พุท
(เริ่มจากจุดเริ่มต้นอ่านตามทวนเข็มนาฬิกาไล่ไปหาตรงกลางจนจบ)


อิติปิโสนารายณ์บรรทมสินธุ์

ปุ ริ มะ นุส ปิ โส ภะ คะ
โร สะ วะ สา ติ ระ จะ วา
ตะ ทัม เท นัง อิ ณะ ชา อะ
นุต มะ ถา พุท ติ สัม วิช ระ
อะ สา สัต โธ วา ปัน โธ หัง
ทู ระ ถิ ภะ คะ โน พุท สัม
วิ กะ โล โต คะ สุ สัม มา
(เริ่มจากตรงกลางไล่ขึ้นบนอ้อมขวาลงล่างเก็บด้านขวาให้หมด แล้วอ้อมขอบขึ้นซ้ายแล้วเก็บซ้ายให้หมด)

วาโยรัตนะ
19-02-2009, 12:28
อิติปิโสนารายณ์บรรทมสินธุ์ถอยหลัง

มา สัม สุ คะ โต โล กะ วิ
สัม พุท โน คะ ภะ ถิ ระ ทู
หัง โธ ปัน วา โธ สัต สา อะ
ระ วิช สัม ติ พุท ถา มะ นุต
อะ ชา ณะ อิ นัง เท ทัม ตะ
วา จะ ระ ติ สา วะ สะ โร
คะ ภะ โส ปิ นุส มะ ริ ปุ
(เริ่มจากตรงกลางไล่ลงอ้อมซ้ายลงล่างเก็บด้านซ้ายให้หมด แล้วอ้อมขอบขึ้นขวาแล้วเก็บขวาให้หมด)


อิติปิโสถอยหลัง ๓ ห้อง

ติ สา กัส โล ตัง เขต ญัก ปุญ รัง
ตะ นุต อะ โย ณี ระ กะ ลี ชะ
อัญ โย เณย ขิ ทัก โย เนย หุ ปา
โย เนย หุ อา โฆ สัง กะ วะ สา
โต วะ คะ ภะ สะ เอ ลา คะ ปุค
สะ ริ ปุ ฐะ อัฐ นิ คา ยุ สะ
ริ ปุ ริ ตา จัต ทัง ทิ ยะ โฆ
สัง กะ วะ สา โต วะ คะ ภะ โน
ปัณ ฏิ ปะ จิ มี สา โฆ สัง กะ
วะ สา โต วะ คะ ภะ โน ปัน ฏิ
ปะ ยะ ญา โฆ สัง กะ วะ สา โต
วะ คะ ภะ โน ปัน ฏิ ปะ ชุ อุ
โฆ สัง กะ วะ สา โต วะ คะ ภะ
โน ปัน ฏิ ปะ สุ ติ หี ญู วิญ
โฑ ตัพ ทิ เว ตัง จ้ต ป้จ โก ยิ
นะ ปะ โอ โก สิ ปัส หิ เอ โก
ลิ กา อะ โก ฐิ ทิฏ สัน โม ธัม
ตา วะ คะ ภะ โต ขา สวาก ติ วา
คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส มะ วะ
เท คา สัต ถิ ระ สา มะ ทัม สะ
ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ กะ
โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ณะ ระ
จะ ชา วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง
ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ

วาโยรัตนะ
19-02-2009, 12:47
อิติปิโสคุ้มแก้ว เดินหน้า ถอยหลัง

๑.อะระหัง อะระหัง

๒.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ - สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

๓.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน -วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

๔.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต - สุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

๕.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู - โลกะวิทู สุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

๖.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ - อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ โลกะวิทูสุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

๗.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง - สัตถา เทวะมะนุสสานังอะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ โลกะวิทู สุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธอะระหัง

๘.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ - พุทโธ สัตถาเทวะมะนุสสานัง อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ โลกะวิทู สุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโนสัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

๙.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา - ภะคะวาพุทโธ สัตถา เทวะมะนุสสานัง อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ โลกะวิทู สุคะโตวิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

***อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโนสุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธภะคะวา***

วาโยรัตนะ
19-02-2009, 12:51
พระคาถาอิติปิโสสร้อยสน

๑.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
๒.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง วิชชาจะระณะสัมปัณโณ
๓.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง สุคะโต
๔.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง โลกะวิทู
๕.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง อะนุตตะโร
๖.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง ปุริสะทัมมะสาระถิ
๗.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง สัตถาเทวะมะนุสสานัง
๘.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง พุทโธ
๙.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง ภะคะวาติ



จักกล่าวอุปโท พระอิติปิโสสร้อยสนโดยย่อ


บทต้น ชื่อ"กระต่ายแฝงคอ" ไปสงครามพึงพอ บริกรรมพร่ำต่อ ๑๗ คาบ แล้วให้ภาวนาแม้นมาตรว่าปืนยิงมา บ่ถูกกายา ปลายเส้นเกศาโลมานั้นบ่ได้ชดเชย

บทสอง ชื่อ"ฝนแสนห่ารำเพย" แม้นต้องขื่อคาท่านเอ๋ยสะเดาะ ๑๓ คาบโดยหมาย โซ่ตรวนขื่อคากระจาย ทะลักทะลายด้วยเดชะพระพุทธมนต์

บทสาม ชื่อ"กลิ่นไตรภพจบสกล" ยามเมื่อเดินหนประจัญหนามขวากอาดูร ให้ชุบ ๑๕ คาบโดยตรา ถ้าเข็บแมลงป่องหิงสาปลาดุกแสยงกล้า ให้ชุบ ๘ คาบโดยหมาย ถ้าทำเสน่ห์หญิงชาย เอาแป้งน้ำมันหอมโดยหมาย สามเจ้ามาทำโดยมี ๗ คาบทาที่เข้ามาชมเชย ย่อมเป็นเสน่หาท่านเอ๋ย บ่ได้ละเลย ชมเชยเสน่หาอาลัย

บทสี่ ท่านกล่าวไว้ใหม่ ชื่อว่า"การใหญ่จะไปรบศึกโดยตรา" ให้ชุบด้วยพระคาถา ๑๗ คาบมาได้โดยดังใจถวิล ร่ายมนต์พ่นไปไขว้ขวินแล่นแยกแตกไปสิ้นไพรี หนึ่งเล่าชุบตัวให้ใหญ่เรี่ยวแรงแข็งดี เอาขมิ้นอ้อยโดยมี มาเสกตามกำลังวัน ๑๖ คาบใหญ่โตมหันต์ ครั้นแล้วจึงกลั้นใจฝนทา ทั่วตัวตนเหมือนหนึ่งกล่าวไว้โดยตรา รูปร่างใหญ่โตหนักหนา คนเห็นตกประหม่า ข้าศึกสยดสยองขน


บทห้า ชื่อกระทู้ "๗ แบกฤทธิรณ" ทิ้งขว้างกลางหนบ่ต้องกายาหม่นหมอง ท่านให้ชุบ ๓๒ คาบแล้วโดยปอง ลงในน้ำโดยตราให้เอาไม้แทงกายา คลาดเส้นเกศาบ่หวาดไหวกายี มูลนายขึ้งโกรธแสนทวี จะเอาไปทุบตี จำจองเฆี่ยนขับสารพัน เจ้านายให้ฆ่าฟัน เสกแป้งน้ำมัน ๙ คาบแล้วทาอาตมา เห็นหน้าหายความโกรธา ทำเสน่ห์นั้นหนา ให้เอาหมากมาที่บนทะลายโดยจง ทำเป็นแมลงภู่แล้วลงชื่ออันประสงค์ ในปีกแมลงภู่อย่าคลา ท่านให้ชุบด้วยพระคาถา ๑๗ คาบนา ปล่อยแมลงภู่ไปโดยประสงค์ ถ้าแม้นมิมาหาโดยตรง คลั่งคลาบ้าหลง ถึงเจ้าแมลงภู่พิศวาส

บทหกชื่อ"กลืนอากาศ" ฤทธาสามารถ ถ้าจะดำผุดล่องหน สำนึกถึงเพทอากาศไพชยนต์ เอาขมิ้นมาฝนแล้วชุบถ้วน ๓๒ คาบแล้วให้ได้ดังใจปองอย่าได้เศร้าหมองทาตัวให้ทั่วอินทรีย์ ถ้าว่าเล่นมวยปล้ำดี ให้ระงับอินทรีย์ชุบ ๑๔ คาบอย่าครา ท่านให้กำกราบกายา สุขจิตจินดา ให้ตั้งปรารถนานึกกระสัน ถ้าเขาหาความเรานั้นเอาขี้ผึ้งอันหนัก ๖ บาทอย่านาน เอากระดาษลงชื่อคนพาล เป็นใส่เทียนฐาน ตามถวายพระห้ามมารด้วยดี แล้วนั่งภาวนาตามที่ตามอาจารย์จนสิ้น
เทียนอย่าคลายแล้วเอาผงเทียนนี้ไว้ ขย้ำน้ำโดยหมาย ถ้อยความสูญหายบ่มินาน


บทเจ็ด ชื่อ"ปราบจักวาล" ตามคำอาจารย์ จักเล่นพนันขันตี ให้ชุบมนต์นี้ ๓๒ คาบโดยมี แล้วให้เสกซ้ำน้ำมัน ๓๐ ทีแล้วด้วยพลันทาทั่วกายา เล่นปล้ำตีเถิดนา บ่ได้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เป็นสวัสสัตถาไชยา มูลนายขึ้งโกรธโทษทัณฑ์ จะให้หายโกรธนั้นจึงเอาน้ำมันมา ๓๗ คาบเสกด้วยคาถา แล้วใส่เกศาประไปให้ทั่วกายี ครั้งท่านเห็นหน้ายินดี รักดิ้นสิ้นดี คือบุตรอุทรเกิดกาย ถ้าจะทำเสน่ห์หญิงชาย เอาขมิ้นมาหมาย ฝนเสก ๑๒ คาบทาตัวโดยปอง ไปในบ้านช่องหญิงเห็นชอบใจนารี หญิงชายในบ้านทั้งนี้รักดิ้นสิ้นดี งวยงงหลงใหลหายเดือดดาน เอาใบมะขามมาอย่านานกำหนึ่งประมาณ เสก ๒๗ คาบพลันทันใจสำเร็จเป็นหุ่นเหาะระเห็จและคนธรรพ์ทันใด ถ้าจะใช้สิ่งอันใดทำการอะไรก็ได้เสร็จสิ้นทุกอัน ถ้าจะให้สู้รบขยันทำได้ทุกอัน รบพุ่งแข็งขันฟันแทงประเสริฐฤทธิล้ำซ้ำแข็ง เอาไมทำรูปเสือแดง ฤทธิล้ำซ้ำแข็ง ชุบด้วยมนต์ปราบจักวาล ๓๗ คาบประมาณ ตามคำอาจารย์เสร็จแล้วจึงให้ปล่อยไป ฤทธากล้าหาญชาญชัย พ่วงพีโตใหญ่ สีหนาทคำรน>

บทแปด ชื่อ"สูบสมุทรอลวล" ให้ข้าศึกสยองขน เอาปฐพีดลมาเสก ๒๘ คาบด้วยใจ ดินนั้นกลับกลายทันใด เป็นต่อแตนไปไล่ข้าศึกแตกหนี ถ้าจักประดาน้ำวารี ให้แห้งเหือดดี เอาหวายตะค้าขนาดตีคน มาลงคาถาสถาผล สูบสมุทรประจญ ชุบด้วยพระมนต์ ๑๗ คาบงามตามมี เอาหวายนั้นฟาดตี สาครชลธีนั้นก็แห้งเหือดหาย

บทเก้า ชื่อ"สมุทรเกลื่อนกระจาย" อาจารย์ว่าไว้ แม้นว่าถ้าปรารถนาบ้านเมือง อย่าได้แค้นเคือง เอาถั่วเขียวมาประมาณให้ได้กำมือ เสกคาถานี้คือสมุทรเกลื่อนฤๅ ให้ได้ ๑๐๘ คาบโดยหมายเอาถั่วนั้นโปรยปราย ในเมืองทั้งหลาย ก็ยกเมืองให้แก่เรา

วาโยรัตนะ
19-02-2009, 12:53
อิติปิโสหูช้าง
พุทโธ อิติปิโสภะคะวา พุทโธภะคะวาติ อิติปิโสภะคะวา อรหังอิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทธ


อิติปิโสถอด

อิปิภะวาระสัมสัมโธ
ชาระสัมโนคะโลวิอะ
ตะปุสะมะระสัตเทมะ
สาพุทภะวาติคะโธนัง
นุสวะถะถิสาทัมริโร
นุตทูกะโตสุปัน
ณะจะวิพุท
มาหังอะคะโสติ


พระคาถาอิติปิโสถอดนี้ มีคุณอันมาก เมื่อภาวนาเข้านอน ๓ ที สารพัดศัตรูทำร้ายมิได้เลย ถ้าภาวงนาเช้าที ๑ หัวค่ำที ๑ เที่ยงคืนที ๑ บุคคลผู้นั้นอยู่มิรู้อดอาหารเลย เป็นสวัสดีมงคลแก่ผู้นั้นอยู่สุขสำราญแล อายุยืนได้ ๘๔,๐๐๐ปี เมื่อเข้านอน ปลุกหมอนทุกวัน ศัตรูทำร้ายเรามิได้เลย บังเอิญให้รู้สึกตัวก่อน ให้เสกน้ำล้างหน้าทุกวัน กันเสนียดจัญไร คุ้มผีชมบ ๑๒ จำพวก กันได้สารพัด เสกข้าวกินทุกวันถึงสามเดือน คงถึง ๗ ปี คงจนกระดูกเผาไปมิไหม้ ถ้าจะให้คงทั้งเรือนเอาดินสอพองมาทำเป็นผงเสกด้วยตนเอง ๑๐๘ แล้วจึงใส่โอ่งข้าวสารเสกด้วยตนเอง ๑๐๘ คาบ หญิงชายใดได้กินคงจนตายแล ให้ลงใส่แผ่นตะกั่วเสก ๑๐๘ คาบใส่โอ่งน้ำกินคงทั้งเรือน กันคุณคนคุณผีทุกประการแล ถ้าถูกจองจำไว้ในคุกก็ดี ให้ภาวนาคาถานี้ ๑๐๘ คาบลุ่ยหลุดสิ้นแล ประตูก็เผยออก ถ้าแม้นมีช่องแต่เพียงมือก็ลอดไปได้แล



อิติปิโสพระเจ้า ๕ พระองค์

อิติปิโส ภะคะวา นะ ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง วา ปิจังงัง วา โสภะคะปิอิ
อิติปิโส ภะคะวา โม ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง ปิจังงัง วา โสภะคิปิอิ
อิติปิโส ภะคะวา พุทธ์ ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง วา ปิจังงัง วา โสภะคะปิติอิ
อิติปิโส ภะคะวา ธา ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง วา ปิจังงัง วา โสภะคะปิติอิ
อิติปิโส ภะคะวา ยะ ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง วา นะจังงัง วา โสภะคะปิติอิ

เมื่ออยู่กลางดงเสือสิงห์กระทิงแรด
หมั่นภาวนาพระคาถานี้ ศัตรูไม่รบกวนเลย

วาโยรัตนะ
19-02-2009, 13:01
อิติปิโสนพเคราะห์

(อาทิตย์) อิติปิโสภะคะวา พระอาทิตย์เทวา

วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ โมระปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา (อะ วิช สุ นุต สา นุต ติ ๖ จบ)


(จันทร์) อิติปิโสภะคะวา พระจันทร์เทวา

วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ อถัยยะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา (อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา ๑๕ จบ)


(อังคาร) อิติปิโสภะคะวา พระอังคารเทวา

วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ กะระณียะเมตตาสุตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา (ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง ๘ จบ)


(พุธ) อิติปิโสภะคะวา พระพุธเทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ โพชฌังคะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา
(ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท ๑๗ จบ)


(เสาร์) อิติปิโสภะคะวา พระเสาร์เทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ อังคุลิมาละปะริตตังมังรักขันตุ สัพพะทา
(โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ ๑๐ จบ)


(พฤหัสบดี) อิติปิโสภะคะวา พระพฤหัสบดีเทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ รัตตะนะสุตตัง อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ วัฏฏะกะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา
(ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ ๑๙ จบ)


(ราหู) อิติปิโสภะคะวา พระราหูเทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ สุริยะจันทะพุทธะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา (คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ ๑๒ จบ)


(ศุกร์) อิติปิโสภะคะวา พระศุกร์เทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ ธะชัคคะ สุตตัง อะระหัง สุคะโต ภะคะวา อาฏานาฏิยะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา
(วา โธ โน อะ มะ มะ วา ๖ จบ)


(พระเกตุ) อิติปิโสภะคะวา พระเกตุเทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ ชะยะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา
(อะระหัง สุคะโต ภะคภวา ๖ จบ)


อิติปิโสนพเคราะห์ ใครเจริญภาวนาได้ตลอดชีวิตเป็นมหามงคลเพราะรวม กำลังพุทธคุณ บุญญานุภาพ พุทธปริตร บารมีเทพนพเคราะห์ และ วิชาศักดิ์สิทธิ์ เข้าด้วยกันเป็นการสะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา สิริมงคลชีวิตได้ดีมากเคราะห์ร้ายกลายเป็นดี เคราะห์ดีก็ดียิ่งขึ้นไป สวดแล้วภาวนาคาถาในวงเล็บ ตามกำลังวันจนครบทั้ง ๙ องค์ ถ้าให้สมบูรณ์ ควรเจริญ วิชาธาตุศักดิ์สิทธิ์ พระคาถาอื่น และแพร่เมตตา ตามลำดับเป็นที่สุดซึ่งแบบสมบูรณ์นี้ อย่างน้อย สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง นอกจากนั้นสวดทุกวันสวดเฉพาะบทอิติปิโสนพเคราะห์ ๙ องค์ก็ยิ่งดี

วาโยรัตนะ
20-02-2009, 07:54
พระอิติปิโสนารายณ์ ๗ บท

สิทธิการิยะท่านเกจิอาจารย์ผู้ฉลาด ท่านได้ผูกอิติปิโสไว้เป็น ทุติยชก ติยชกเป็นอนุโลม ปฏิโลมไว้ในพระคัมภีร์มหาพิชัยสงครามดังต่อไปนี้

อิ ติ ปิ โส ภะ คะ วา อะ ระ
ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส
หัง สัม มา สัม พุธ โธ วิ ชา จะ
มะ วะ เท ถา สัต ถิ ระ สา มะ
ระ ณะ สัม ปัน โน สุ คะ โต โล กะ
ธัม สะ ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ
วิ ทู อะ นุต ตะ โร ปุ ริ สะ
กะ โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ถะ
ธัม มะ สา ระ ถิ สัต ถา เท วะ
ระจะ ชา วิ โธ พุท สัม มา สัม
มะ นุส สา นัง พุท โธ ภ ค วา ติ
หัง ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ

ท่านตั้งพระอิติปิโส ทั้งอนุโลมปฏิโลมแล้วถอดออกมาเป็นกลบทได้ ๗ บทด้วยกันคือ

พระนารายณ์กลืนจักร์
ติ อิ วา ติ คะ ปิ ภะ โส โธ ภะ พุ คะ นัง วา สา อะ นุ ตระ
มะ หัง วะ สัม เท มา ถา สัม สัต พุท ถิ โธ ระ วิ สา ชา มะ จะ ธัม ระ
สะ ณะ ริ สัม ปุ ปัน โร โน ตะ สุ นุต คะ อะ โต ทู โล วิ กะ

พระนารายณ์คายจักร์
กะ วิ โล ทู โต อะ คะ นุ สุ ตะ โน โร ปัน ปุ สัม ริ นะ สะ ระ
ธัม จะ มะ ชา สา วิ ระ โธ ถิ พุ สะ สัม ถา มา เท สัม วะ หัง มะ ระ นุ
อะ สา วา นัง คะ พุท ภะ โธ โส ภะ ปิ ติ วา อิ ติ

พระนารายณ์ประสมจันทร์
ติ ติ คะ โสโ ธ คะ นัง อะ นุ หัง วะ มา ถา พุ ติ วิ สา จะ ธัม
นะ ริ ปัน โร สุ นุ โต ทู กะ โล วิ คะ อะ โน ตะ สัม ปุ ระ สา ชา มะโ ธ
ระ มัส สะ สัม เท ระ มะ วา สา ภะ พุ ปิ ภะ อิ วา

พระนารายณ์หักจักร์
อิ วา ปิ ภะ ภะ พุ วา สา ระ มะ สัม เท สัม สะ โธ ระ ชา มะ
ระ สะ สัม ปุ โน ตะ คะ อะ โล วิ ทู กะ นุ โต โร สุ ริ ปัน ธัม นะ สา จะ
ถิ วิ ถา พุ วะ นา นุ หัง นัง อะ โธ คะ คะ โส ติ ติ

พระนารยณ์ถอดจันทร์
ปิ โส คะ อะ หัง มา พุ วิ จะ นะ ปัน สุโ ต กะ ทู นุ โร ริ ธัม
สา ถิ ถา วะ นุ นังโ ธ คะ ติ วา ภะ พุ สา มะ เท สะ มะ ระ สะ ปุ ตะ
อะ วิ โล คะ โน สัม ระ ชา โธ สัม สัม ระ วา ภะ อิ

พระนารายณ์ยกจันทร์
ติ คะ โธ นัง นุ วะ ถา ถิ สา ธัม ริโ ร นุ ทู กะ โต สุ ปัน นะ
จะ วิ พุ มา หัง อะ คะ โส ติ อิ ปิ ภะ วา ระ สัม สัม โธ ชา ระ สัมโ น
คะ โล วิ อะ ตะ ปุ สะ มะ ระ สะ เท มะ สา พุ ภะ วา

พระนารายณ์ปิดสมุทร
อิ กะ ติ วิ ติ โล วา ทู ปิ โต ตะ อะ โส คะ ภะ นุ ภะ สุ โธ ตะ
คะ โน พุ โร วา ปัน นัง ปู อะ สัม สา ริ ระ นะ นุ สะ หัง ระ มะ ธัม สัม
จะ วะ มะ มา ชา เท สา สัม วิ ถา ระ พุ โธ สัต ถิ

วาโยรัตนะ
21-02-2009, 00:00
พระอิติปิโสนารายณ์ ๗ บท

สิทธิการิยะท่านเกจิอาจารย์ผู้ฉลาด ท่านได้ผูกอิติปิโสไว้เป็น ทุติยชก ติยชกเป็นอนุโลม ปฏิโลมไว้ในพระคัมภีร์มหาพิชัยสงครามดังต่อไปนี้

อิ ติ ปิ โส ภะ คะ วา อะ ระ
ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส
หัง สัม มา สัม พุธ โธ วิ ชา จะ
มะ วะ เท ถา สัต ถิ ระ สา มะ
ระ ณะ สัม ปัน โน สุ คะ โต โล กะ
ธัม สะ ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ
วิ ทู อะ นุต ตะ โร ปุ ริ สะ
กะ โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ถะ
ธัม มะ สา ระ ถิ สัต ถา เท วะ
ระจะ ชา วิ โธ พุท สัม มา สัม
มะ นุส สา นัง พุท โธ ภ ค วา ติ
หัง ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ

ท่านตั้งพระอิติปิโส ทั้งอนุโลมปฏิโลมแล้วถอดออกมาเป็นกลบทได้ ๗ บทด้วยกันคือ

พระนารายณ์กลืนจักร์
ติ อิ วา ติ คะ ปิ ภะ โส โธ ภะ พุ คะ นัง วา สา อะ นุ ตระ
มะ หัง วะ สัม เท มา ถา สัม สัต พุท ถิ โธ ระ วิ สา ชา มะ จะ ธัม ระ
สะ ณะ ริ สัม ปุ ปัน โร โน ตะ สุ นุต คะ อะ โต ทู โล วิ กะ

พระนารายณ์คายจักร์
กะ วิ โล ทู โต อะ คะ นุ สุ ตะ โน โร ปัน ปุ สัม ริ นะ สะ ระ
ธัม จะ มะ ชา สา วิ ระ โธ ถิ พุ สะ สัม ถา มา เท สัม วะ หัง มะ ระ นุ
อะ สา วา นัง คะ พุท ภะ โธ โส ภะ ปิ ติ วา อิ ติ

พระนารายณ์ประสมจันทร์
ติ ติ คะ โสโ ธ คะ นัง อะ นุ หัง วะ มา ถา พุ ติ วิ สา จะ ธัม
นะ ริ ปัน โร สุ นุ โต ทู กะ โล วิ คะ อะ โน ตะ สัม ปุ ระ สา ชา มะโ ธ
ระ มัส สะ สัม เท ระ มะ วา สา ภะ พุ ปิ ภะ อิ วา

พระนารายณ์หักจักร์
อิ วา ปิ ภะ ภะ พุ วา สา ระ มะ สัม เท สัม สะ โธ ระ ชา มะ
ระ สะ สัม ปุ โน ตะ คะ อะ โล วิ ทู กะ นุ โต โร สุ ริ ปัน ธัม นะ สา จะ
ถิ วิ ถา พุ วะ นา นุ หัง นัง อะ โธ คะ คะ โส ติ ติ

พระนารยณ์ถอดจันทร์
ปิ โส คะ อะ หัง มา พุ วิ จะ นะ ปัน สุโ ต กะ ทู นุ โร ริ ธัม
สา ถิ ถา วะ นุ นังโ ธ คะ ติ วา ภะ พุ สา มะ เท สะ มะ ระ สะ ปุ ตะ
อะ วิ โล คะ โน สัม ระ ชา โธ สัม สัม ระ วา ภะ อิ

พระนารายณ์ยกจันทร์
ติ คะ โธ นัง นุ วะ ถา ถิ สา ธัม ริโ ร นุ ทู กะ โต สุ ปัน นะ
จะ วิ พุ มา หัง อะ คะ โส ติ อิ ปิ ภะ วา ระ สัม สัม โธ ชา ระ สัมโ น
คะ โล วิ อะ ตะ ปุ สะ มะ ระ สะ เท มะ สา พุ ภะ วา

พระนารายณ์ปิดสมุทร
อิ กะ ติ วิ ติ โล วา ทู ปิ โต ตะ อะ โส คะ ภะ นุ ภะ สุ โธ ตะ
คะ โน พุ โร วา ปัน นัง ปู อะ สัม สา ริ ระ นะ นุ สะ หัง ระ มะ ธัม สัม
จะ วะ มะ มา ชา เท สา สัม วิ ถา ระ พุ โธ สัต ถิ

วาโยรัตนะ
21-02-2009, 00:04
พระคาถาเจ็ดบทนี้ ท่านถอดไว้ในคัมภีร์มหาพิชัยสงครามสำหรับลงเครื่องถวายพระมหากษัตริย์ลงธงชัยสำหรับออกศึก จะยาตราออกสู่ณรงค์สงครามให้เล่าพระคาถาทั้ง ๗ บทนี้ ๓ จบจะเคล้ว
คลาดอาวุธทั้งปวงแล เทวดาคอยคุ้มท่านผู้นั้น พระอิติปิโสถอดทั้ง ๗ บทนี้ มีคุณานุภาพมากหลายนัก ให้ใช้ทุกประการตามแต่จะปรารถนา

ท่านให้เอาผ้าเนื้อดี กว้างสองศอก ยาว ๕ แขน เอาไป หุ้มพระพุทธรูปปางห้ามสุมทร แล้วใช้สวดคาถาพระอิติปิโสถอดทั้ง ๗ บท ให้ได้ ๓ วัน กับ สวดมนต์ ธรณีปริตรด้วยแล้วขอลาเอาผ้าขาวนั้นมาทำเป็นธง ทำเป็นธงสามชาย ให้ลงลายลักษณ์พระพุทธบาทพระพุทธเจ้าทั้ง ๒ ข้างลงไปในธงนั้น เอาชื่อผู้ที่เป็นเจ้าของลงล้อมไปด้วย แล้วให้เอาพระครถาทั้ง ๗ บทนี้ ล้อมไปอีกทีหนึ่ง พร้อมด้วยอิติปิโส ๘ ทิศ แล้วให้เสกด้วยพระอิติปิโส ให้ได้ ๑๐๘ จบ ไม้ที่ทำคันธงให้ปิดทองคำเสีย (ควรใช้ไม้ชัยพฤกษ์) ธงอันนี้แม้น ออกสงครามปักไว้กลางไพร่พล อาวุธมาเป็นฝนมิต้องเลย

เมื่อจะยกธงนั้นให้ภาวนาคาถาดังนี้

อะสิสัตติ ธนูเจวะสัพเพเต อาวุทธานิ ภัคคะภัคคาวิจุณณานิโลมะอัมหากัง มาผุสสันตุ
ว่าจบแล้วให้โบกธงไปทีหนึ่ง แล้วให้ว่าพระครถาบทต่อไปนี้

สักเพวุธาธาราคัตตา สัพเพอะสิจะโตมารา ชิโน ชินาวิเน เทนสัมปัตตันติตุตตะรัง
ให้โบกธงชัยไปอีกครั้งหนึ่ง

ธงนี้ไม่มีทางรบศึก ให้เอาไว้บูชาที่เรือนเมือ่จะมีทางไปทางไหน ให้บูชาดังจะกล่าวต่อไป

วันอาทิตย์ ให้บูชาว่า
ตะมัตถังปะกาเสนโต สัตถาอาหะสัเจหิ สังฆะมะวะโร สัตตุยุทเธสัตตาเห อะนุสสะริตวา นะกาละเชยยะสัพพะศัตรูวินาสสันตุ
ว่า ๖ จบ แล้ว ให้เป่าไปที่ธงนั้นยกธงโบกในทางที่จะไป

วันจันทร์ให้บูชาว่า
ยะถานาวา สัมมารุยหังสังฆะ หิตัสสะคะตา สัพเพโลกานุกัมปะกายะ สัพเพศัตรู วินาสสันตุ
ว่า ๑๕ จบแล้ว ให้เป่าไปที่ธงนั้นยกธงโบกในทางที่จะไป

วันอังคารบูชาว่า
ยะยปุริสะอิตถีวา ทุเรหิวา สินติเกวา เถรัสสา อานุภาเวนะ พะหูศัตรู วินาสสันตุ
ว่า ๘ จบ แล้ว ให้เป่าไปที่ธงนั้นยกธงโบกในทางที่จะไป

วันพุธให้บูชาว่า
ยะยะปุริสะอัฏฐมาเรหินะคะเรหิ ภยาตะ ติ ปัตตัมหิ สะหะชาติ เสฏโฐ สัพพะศัตรู ปะราชิตา
ว่า ๑๗ จบแล้ว ให้เป่าไปที่ธงนั้นยกธงโบกในทางที่จะไป

วันพฤหัสบดีให้บูชาว่า
สาหุทัสสะ นะมะริยานังมะหา เถรานังอะหังวัยทามิตังสะทา สัพพะศัตรู วินาสสันตุ
ว่า ๑๙ จบ แล้ว ให้เป่าไปที่ธงนั้นยกธงโบกในทางที่จะไป

วันศุกร์ให้บูชาว่า
อะหังวันเท ภควานาโถ อหังวาทามิ สัพะทา สัพะมาราปะลายิงสุ สัพะศัตรู วิทังสันตุ
ว่า ๒๑ จบ แล้ว ให้เป่าไปที่ธงนั้นยกธงโบกในทางที่จะไป



วันเสาร์ให้บูชาว่า
สิรังมิงเม พุทโธเสฏโฐ สาริปุตโต จะทักขิเณ วามะปัสเส จะโมคคัลลาโน ปุระโตปิฏะกัตยะ จะตุตทิสัง
สะมันตา โลกะปาละ อินทรา เทวาสะพรหมา อัตตนิปิยะเตเจวะปุตโตเจวะสิเนโห ราชมัจจามะ นุสสานัง
สัพะกรธัง วินาสสันตุ
ว่า ๑๐จบ แล้ว ให้เป่าไปที่ธงนั้นยกธงโบกในทางที่จะไป

วาโยรัตนะ
22-02-2009, 23:56
พระคาถาพระธรณีปริตร์นี้ ใช้คู่กันกับพระอิติปิโสถอดทั้ง ๗ บท
ชาโลมหาชาโล ชาลังมหาชาลัง ชาลิเตมหาชาลิเต ชาลิตังมหาชาลิตัง มุตเตมุตเตสัมปัตเต มุตตังมุตตังสัมปัตตัง สุตังคะมิติ สุตังคะมิติ มัคคะยีติ ทฏิฐิลา ทัณฆะละ มัณฑะลา โรคิลา กะระลา ทุพพะลา ริติริต กิตติกิตติ มิตติมิตติ จิตติจิตติ จุตติ จุตติ ธารณี ธารณีติ อิทังธารณปริตรตัง

พระอิติปิโสมงกุฏพระพุทธเจ้า

อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ
อิเมนาพุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ

พระคาถานี้ ท่านเกจิอาจารย์บางท่านเรียกว่า คาถาพระอิติปิโสเรือนเตี้ย ถ้าจะแกโรคภับไข้เจ็บ ให้เอามะกรูดส้มป่อยใส่น้ำมนต์เสก ๓ ที รดหายสิ้นแล
ถ้าบุคคลใดมีเคราะห์ก็หายหมดภาวนาทุกวันมิตกนรก เสกน้ำล้างหน้าทุกวันกันโรคภัยไข้เจ็บคุณไสยทั้ง
มวล ถ้าจะมีให้มีตะบะเดชะให้ภาวนาทุกวัน เกิดสง่าราศีเป็นที่เมตตาแก่คนทั้งหลาย ให้ภวานาแผ่เมตตาแก่คนทั้งปวง ใครคิดร้ายต้องมีอันเป็นไป ถ้าจะปรารถนาสิ่งอันใด ให้ภาวนาคาถาทั้ง ๑๘ คาบ เป็นได้ดังใจนึกแล ถ้าจะให้เป็นจังังให้ภาวนาคาถานี้ ๘ คาบ เป็นมหาจังงังแล ถ้าจะให้เป็นมหาละลวยให้ภาวนาคาถานี้ ๙ คาบ ถ้าช้างม้าวัวควายสัตว์ที่ดุร้ายทั้งหลาย ให้เสกหญ้าเสกของให้มันกินกลับใจอ่อนรักเราแล ถ้าภูติพลายมันเข้าอยู่ในคน เสกข้าวให้มันกินออกแล

ถ้าปรารถนาให้เสียงเพราะให้เสกขี้ผึ้งสีปากเสกหมากกินไปเทศนาสวดร้องเป็นที่พึ่งใจแก่คนทั้งหลาย ให้เสกแป้งผงดินสอผัดหน้า เสกมงกุฎรัดเกล้า เป็นสง่าราศีใครรักทุกคน อนึ่งให้เอาใบลานหรือกระดาษว่าว มาลงพระคาถานี้ทำเป็นมงคลด้วยตนเอง สารพัดกันสาตราอาวุธทั้งหลายเป็นมหาวิเศษนักแล
ถ้าแลเกิดเป็นความกันเราจะช่วย ให้เขียนชื่อโจทย์ลงเท้าขวา เขียนชื่อจำเลยลงเท้าซ้ายเสกเป่าลงไปที่ชื่อนั้นแล้วเดินไปนั้งอยู่เหนือน้ำเอาเท้าจุ่มลงไปในน้ำ ภาวนาไปจนกว่าจะได้ ๑๙ จบ ถ้าจะให้ข้างไหนชนะ ยกเท้าข้างนั้นขึ้นก่อน คาถานี้ถ้าเข้าที่อับจน ให้ยึดต้นไม้ไว้ภาวนามิเห็นตัวเราเลย

อิติปิโสภควา สัมมาสัมพุทโธ
เสกน้ำล้างหน้าทุก ๆ วัน มีปัญญามาก

อิติปิโสภควา วิชาจรณสัมปันโน
ภาวนาทุกวันมิไร้ทรัพย์แล

อิติตปิโสภควา ปุริสทัมมสารถี
ถ้าคนที่ใช้ยาก ให้เสกข้าวให้กิน ถ้าเป็นสัตว์ให้เสกหญ้าให้กิน


อิติปิโสภควา สุคโต
เสกน้ำล้างหน้าดีนัก อยู่เย็นเป็นสุข

อิติปิโสภควา สัตถาเทวมนุสสานัง
เสกน้ำหอมทาตัวเป็นเสน่ห์แก่คนทั้งหลาย

วาโยรัตนะ
23-02-2009, 00:33
หัวใจอิติปิโส

หัวใจอิติปิโสนี้ ท่านเกจิอาจารย์ได้วางแบบการถอดอิติปิโสออกเป็นหัวใจไว้หลายนัยด้วยกันคือ
ถอดออกเป็น

อะ(อรหัง)
สัง(สัมมาสัมพุทโธ)
วิ(วิชาจรณสัมปันโน)
สุ(สุคโต)
โล(โลกวิทูอนุตตโร)
ปุ(ปุริสทัมมสารถิ)
สะ(สัตถาเทวมนุสสานัง)
พุ(พุทโธ)
ภะ(ภควาติ)

และบางแบบก็ถอดออกเป็น

หัง(หังระอะ)
โธ(โธพุธสัมมาสัม)
โน(โนปันนัสมณะระจะชาวิ)
โต(โตคะสุ)
ทู(ทูวิกะโล)
โร(โรตะนุตอะ)
ถิ(ถระสามะทัมสะริปุ)
นัง(นังสานุสมะวะเทถาสัต)
ติ(ติวาคะภะโธพุท)

บางแบบก็ถอดออกเป็น
อิสะวิระมะสาพุทเทวา

บางแบบก็ถอดออกเป็น
อิอะสังวิสุอะสะพุติ

หัวใจอิติปิโสทุกๆบทนี้ มีอุปเทห์วิธิใช้ต่างๆ กัน และ ยังถอดออกเป็นบทต่างๆ อีก เช่น อสังวิสุโลปุสะพุภะ
ท่านถอดเป็นกลบทโดยอนุโลมปฏิโลมดังนี้


ถอดเป็นนารายณ์กรึงจักร์ อะภะสังพุวิสะสุปุโล
ถอดเป็นนารายณ์คลายจักร์ โลปุสุสะวิพุสังภะอะ

บทนารายณ์กรึงจักรนั้น ใช้ภาวนาเป็นมหาอุตปิดทวารทั้ง ๙ กันอาวุธและกันกระทำคุณไสยทั้งปวง ภาวนาผูกภูตผีปีศาจได้ทุกประการ ภาวนากันสะกดคัดถอนก็ได้ เสกด้ายดิบทำเป็นมงคลผูกเด็กตายในท้องก็ได้ แม้จะสะเดาะด้วยอาคมคาถาใด ๆ ก็ดี ถ้าเอาคาถาบทนี้ผูกสะเดาะมิออกเลย

บทนารายณ์คลายจักร ใช้ถอนแก้การกระทำย่ำยีทุกประการเสกน้ำมนต์ ก็ได้ เสกแป้งพอกก็ได้ ตามแต่จะใช้เถิดในทางถอนแก้ได้ทุกอย่าง ภาวนาสะเดาะโซ่ตรวงขื่นขื่อคาหลุดลุ้ยออกสิ้น เสกปูนสูญฝีก็ได้ เสกเป่าพ่นปัดพิษได้ทุกอย่าง

วาโยรัตนะ
23-02-2009, 00:38
บท หังโธโนโต ทูโรถินังติ นั้นท่านถอดเป็นบทโดยอนุโลมปฏิโลมไว้เป็นดังนี้

หังตินังโธโนถิโรโตทู
ทูโตโรถิโนโธนังติหัง

พระคาถาหัวใจอิติปิโสบทนี้ทั่ง ๙ อักขระ อุปเท่ห์ที่ใช้มีมากมายถ้าจะสะเดาะโซ่คาขื่นตรวน ให้ว่า ๑๑ จบ ถ้าถูกขังไว้ในตะรางและกรงเหล็กก็ดี ให้ภาวนา ๑๐๘ คาบ แยกออกได้แล ถ้าจะนอนป่าให้เอาฟืน ๗ ดุ้นมาเสกกองไฟขึ้น ๗ กอง แล้วเสกใบไม้ปูนอน เขาเห็นเป็นคน กันภัยอันตรายต่างๆ ถ้าเดินภาวนาไปเห็นเป็นคนหลายคน

ส่วนบทที่ถอดเป็นอนุโลมปฏิโลมนั้น ท่านให้ใช้ภาวนาเมื่อ ถึงเวลาอับจนเขาล้อมเราไว้เมื่อจะหลบไป ให้ภาวนาบทถอนทั้งสองบทนั้นเดินออกไปเถิดมิเห็นตัวเราเลย ถึงเห็นก็จำมิได้เสกแป้งหอมน้ำมันหอมทาตัว เขาเห็นเราเข้าดังพระนารายณ์แปลงรูป

บท อิสะวิระมะสาพุทเทวา ท่านวางอุปเทห์วิธีใช้ไว้ดังนี้ ให้เสกหมากกิน เสกน้ำมันหอมทาคงแก่หอกดาบอยู่ทั้งปืนและเหล็กแหลม คงทั้งในน้ำคงทั้งบนบก ถ้าจะกะทำตะกรุดให้ลงคาถานี้ลบถมใส่ตะกั่วดำทำเป็นตระกรุดแคล้วคลาดคงทนดีนักแล แม้ผิดท่านจะฆ่าเรามิได้เลย ถึงแม้จะใช้ช้างแทง ช้างก็มิอาจจะแทงได้

บท อิอะสังวิอะสะพุติ พระคาถาบทนี้ใช้เสกน้ำมันดิบ ทาตัวอยู่คงทนจับมิอยู่เลย เสกน้ำมันต์ถอนเถ้าแก้อาถรรพ์ทั้งปวง เสกปัดพิษแมลงก็ได้ ภาวนาไว้จำแลงตัวเป็นช้างเป็นเสือก็ได้แล

อาสังสุ สังสุสุ พระคาถานี้เป็นยอดธงไชยของพระพุทธเจ้าแล เป็นหัวใจที่ถอดออกจากหัวใจพระอิติปิโส อีกที่หนึ่งเป็นที่สุดของพระคาถาอิติปิโส ให้จำเริญภาวนาไว้ไม่ตายด้วยคมหอกคมอาวุธหอกดาบเลย ใช้เสกน้ำมันเดือดทาตัวเป็นคงทนทรหดอยู่คงหอกดาบปืนไฟทำอันตรายมิได้เลย เสกขมิ้นเสกว่านกินได้ ผู้ใดได้บริกรรมไว้ผู้นั้นจะมีปัญญาดังพระพุทธโฆษจาริย์แล

รักอู่
16-04-2009, 12:22
วันที่ ๑๕/๔/๕๒ ไปที่วัดท่าขนุนมา หลวงพี่เล็กให้คาถามาไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ ช่วยตรวจเช็กดูให้หน่อย ขอบคุณครับ
เม สัมมุขขา สัพพาหะระติ เต สัมมุขขา

วัฒนวิกย์กิจ
19-04-2009, 21:41
วันที่15/4/52ไปที่วัดท่าขนุนมา หลวงพี่เล็ก ให้คาถามาไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ช่วยตรวจเช็กดูให้หน่อย ขอบคุณครับ
เม สัมมุขขา สัพพาหะระติ เต สัมมุขขา


พระอาจารย์เคยเขียนให้แบบนี้ครับ

เม สัมมุกขา สัพพา หะระติ เต สัมมุกขา

เอกภูมิ
06-09-2010, 18:03
ขออนุญาตพิมพ์ไปศึกษานะครับ
ขอโมทนาบุญด้วยครับ

โกศล
14-12-2010, 15:58
ขออนุญาตพิมพ์ไปศึกษาและภาวนานะครับ ขอบพระคุณครับ

คมกร
10-09-2011, 18:43
หัวใจอิติปิโส

หัวใจอิติปิโสนี้ ท่านเกจิอาจารย์ได้วางแบบการถอดอิติปิโสออกเป็นหัวใจไว้หลายนัยด้วยกันคือ
ถอดออกเป็น

อะ(อรหัง)
สัง(สัมมาสัมพุทโธ)
วิ(วิชาจรณสัมปันโน)
สุ(สุคโต)
โล(โลกวิทูอนุตตโร)
ปุ(ปุริสทัมมสารถิ)
สะ(สัตถาเทวมนุสสานัง)
พุ(พุทโธ)
ภะ(ภควาติ)

และบางแบบก็ถอดออกเป็น

หัง(หังระอะ)
โธ(โธพุธสัมมาสัม)
โน(โนปันนัสมณะระจะชาวิ)
โต(โตคะสุ)
ทู(ทูวิกะโล)
โร(โรตะนุตอะ)
ถิ(ถระสามะทัมสะริปุ)
นัง(นังสานุสมะวะเทถาสัต)
ติ(ติวาคะภะโธพุท)

บางแบบก็ถอดออกเป็น
อิสะวิระมะสาพุทเทวา

บางแบบก็ถอดออกเป็น
อิอะสังวิสุอะสะพุติ

หัวใจอิติปิโสทุกๆบทนี้ มีอุปเทห์วิธิใช้ต่างๆ กัน และ ยังถอดออกเป็นบทต่างๆ อีก เช่น อสังวิสุโลปุสะพุภะ
ท่านถอดเป็นกลบทโดยอนุโลมปฏิโลมดังนี้


ถอดเป็นนารายณ์กรึงจักร์ อะภะสังพุวิสะสุปุโล
ถอดเป็นนารายณ์คลายจักร์ โลปุสุสะวิพุสังภะอะ

บทนารายณ์กรึงจักรนั้น ใช้ภาวนาเป็นมหาอุตปิดทวารทั้ง ๙ กันอาวุธและกันกระทำคุณไสยทั้งปวง ภาวนาผูกภูตผีปีศาจได้ทุกประการ ภาวนากันสะกดคัดถอนก็ได้ เสกด้ายดิบทำเป็นมงคลผูกเด็กตายในท้องก็ได้ แม้จะสะเดาะด้วยอาคมคาถาใด ๆ ก็ดี ถ้าเอาคาถาบทนี้ผูกสะเดาะมิออกเลย

บทนารายณ์คลายจักร ใช้ถอนแก้การกระทำย่ำยีทุกประการเสกน้ำมนต์ ก็ได้ เสกแป้งพอกก็ได้ ตามแต่จะใช้เถิดในทางถอนแก้ได้ทุกอย่าง ภาวนาสะเดาะโซ่ตรวงขื่นขื่อคาหลุดลุ้ยออกสิ้น เสกปูนสูญฝีก็ได้ เสกเป่าพ่นปัดพิษได้ทุกอย่าง
ขออนุญาตถามคาถาตรง โน(โนปันนัสมณะระจะชาวิ) น่าจะเป็น ( โนปันสัมณะจะชาวิ) และ ถิ(ถระสามะทัมสะริปุ) น่าจะเป็น ( ถิระสามะทัมสะริปุ) ใช่หรือไม่ครับ และบทอิติปิโสนพเคราะห์ ช่วง (พระเกตุ) อิติปิโสภะคะวา พระเกตุเทวา
วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ ชะยะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา
( อะระหัง สุคะโต ภะคภวา ๖ จบ) ภะคภวา ตรงนี้ผิดหรือไม่ครับ จะเป็น ภะคะวา ใช่หรือไม่ครับ ขอขอบคุณครับ